ปล่อยเรา เราไม่อยากเป็นเจ้าเมือง


เมื่อถนนในเมืองเท่ากันแล้วเราจะเท่าเทียม

หลายคนชอบถามทำไมเราไม่เท่ากัน?

ที่จอดรถของ...  ของ....  แล้วของเราละ?

ที่นั่งสำหรับ...(ให้ฟรีด้วย)  สำหรับ....  แล้วเรานั่งตรงนี้(หลังสุด  ซื้อเข้ามาด้วย)?

       เราเคยแต่เรียนรู้ว่าระบบชนชั้นมีปรากฏแต่ในสังคมอินเดีย  ซึ่งในสังคมเราเองก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น  มีความเป็นจริงปรากฏอยู่  แต่มิได้หมายความเราเท่าเทียมกันหมด  เราต่างก็มีหลายอย่างที่ไม่เท่าเทียมกัน  โดยพยายามที่จะยกเหตุทางสังนานานับประการมากล่าวอ้าง  ทำให้ระบบที่ว่านั้นลดลงไปกลายเป็นว่าไม่มีมีแต่ความเท่าเทียมเท่านั้น

       เห็นง่าย ๆ  ถนนของคนมีเงินและไม่มีเงิน  มีทางด่วน  ทางเต่า  ทางปลอดภัย  ทางอันตราย  คนจนเดินทางแต่ละครั้งยังกะตากฝน  รถติดเป็นต้น  หรือในหลักการที่เรียกว่า  "ทางด่วน"  "ทางเอก"  "ทางโท"  สามคำนี้เท่าเทียมกันหรือป่าว  ไม่ครับ  ทางด่วนดีที่สุด  ทางเอกใหญ่กว่าทางโท  ทางโทต้องให้ทางเอกไปก่อน  หรือแม้แต่ช่องการจราจร  มี 2 4 8 ช่องการจราจร  ซึ่งสิ่งต่างๆ  เหล่านี้มันแฝงอะไรบางอย่าง  หากมองให้ลึกว่าทุกอย่างมันเกิดจากการคิดก่อนถึงปฏิบัติ  ความคิดต้องตอบสนองต่อใครเป็นเบื้องต้น?  แม้แต่ถนนยังไม่เท่ากันแล้วเราจะเท่ากันคงเป็นเรื่องยาก

        แต่ความสำคัญมันอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้ความไม่เท่าเทียมกันของเราอยู่ด้วยกันอย่างสมมุติว่าเท่าเทียม?

หมายเลขบันทึก: 267179เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท