นานาสาระ เรื่อง การประเมินผลปฏิบัติราชการ และการปฏิรูปการศึกษา (1)


การประเมินผลปฏิบัติราชการ และการปฏิรูปการศึกษา

เรื่องราวพอปะติดปะต่อได้ ดังต่อไปนี้...

  1. การปฏิรูปการศึกษารอบต่อไป  น่าจะเป็นงานที่ยาก  เพราะปัญหาด้านการศึกษาเกิดทับถมทวีคูณ  แต่โดยหลักการแล้วน่าจะแก้ที่ตัวผู้เรียน  คณาจารย์  และระบบสนับสนุนต่างๆ ที่ต้องให้ครูอาจารย์ อยู่กับผู้เรียน ห้องเรียน และพื้นที่  และต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาในหลายภาคส่วน  ในระดับอุดมศึกษา  มีอาการน่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน  มหาวิทยาลัยทุกแห่งพยายามจะทำให้เหมือนกัน  ด้วยกลยุทธ์ขยายภารกิจ  ขยายพื้นที่  และเรียนง่าย  จ่ายครบ  จบแน่  บางหลักสูตรบอกปีครึ่ง จบ  อีกแห่งหนึ่งบอก ปี สามเดือน จบ  บางจังหวัดมีหลายมหาวิทยาลัยเหลือเกิน จนจำไม่ได้  มหาวิทยาลัยกำลังทำไร่เลื่อนลอยหรือเปล่า  ภาคส่วนที่สำคัญมาก ในยุคนี้ ได้แก่  ภาคประชาสังคม  หากให้เฉพาะภาคราชการแล้ว  คงหนีไม่พ้น  จัดตั้งหน่วยงาน  ขออัตรา  จำนวนผู้บริหาร  และงบประมาณเพิ่ม 
  2. สกอ. สมศ.  และก.พ.ร.  มีแนวโน้มจะปรึกษาหารือกันมากขึ้น เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน  แล้วบูรณาการตัวชี้วัด  ตั้งแต่นิยาม  ความหมาย วิธีการ  สูตร  เป็นไปในทางเดียวกันเสีย  ท่านประธานบอร์ด สมศ. ดร.ชิงชัย  หาญเจนลักษณ์  จะเป็นผู้มีบทบาทร่วมกับ ผู้บริหารถึง 2 หน่วยงาน  จริงๆ แล้ว อาจจะมีหน่วยงานอื่นได้อีก  เช่น  สงป.  กรมบัญชีกลาง  สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
  3. วิธีการบริหารจัดการ  ของต่างประเทศที่ใช้ได้ดี  เราก็นำมาใช้หมดทุกวิธีแล้ว  แต่ทำไมชีวิตยังตกระกำลำบากอยู่  เรากำลังหลงทางอยู่หรือเปล่า?  ที่บังคับหรือเกือบบังคับให้ทุกหน่วยงาน ใช้วิธีการเดียวกันทั้งหมด  แม้ว่าจะเปิดโอกาสให้มีความแตกต่างบ้าง แต่ก็มีน้อยเต็มที 
  4. จากเอกสารของสมศ.  สรุปว่า

         ปัจจัยเชิงบวกมี  5  ประการ  ได้แก่

         1) นโยบายบางประการของภาครัฐ

         2) การที่สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารสูงสุด

         3) ศักยภาพ  จิตสำนึก  และความร่วมมือกัน

         4) ความพร้อมด้านทรัพยากร

         5) สถาบันอุดมศึกษากำหนดผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดอย่างเหมาะสม

         ปัจจัยเชิงลบมี  6  ประการ  ได้แก่

         1)  การจัดทำแผนปฏิบัติราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ

         2)  การที่ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ

         3)  ขาดบุคลากรที่มีความรู้  ความสามารถ/ความเข้าใจ

         4)  นโยบายบางประการของภาครัฐ

         5)  ขาดระบบการจัดการฐานข้อมูล

         6)  การเตรียมการประเมินที่ใช้เวลาสั้น

         ปัญหาอุปสรรคเฉพาะที่สำคัญ  มีดังนี้

         1)  สภาวะแวดล้อมของการประเมินไม่เอื้ออำนวย

         2)  ระบบการวางแผนและมาตรฐานของแผนปฏิบัติราชการยังไม่ได้มาตรฐาน

         3)  ผู้บริหารมีการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจและไว้วางใจ

         4)  ผู้บริหารและคณาจารย์  รวมทั้งเจ้าหน้าที่มีเจตนคติที่ไม่ดี

         5)  มีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง

         6)  สถาบันอุดมศึกษาใหม่ที่เพิ่มเข้าระบบการประเมิน

หมายเลขบันทึก: 266710เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท