อาชีวอนามัยในโรงงานอีเลคโทรนิกส์


อาชีวอนามัย โรงงานอีเลคโทรนิกส์ ห้องสะอาด

World at work: The electronic industry

บทความนี้ดัดแปลงจากวารสาร occupational and environmental medicine ในกลุ่มของ British Medical Journal Group ในคอลัมภ์ World at Work  โดย D Koh, G Chan, E Yap

อุตสาหกรรมอีเลคโทรนิกมีลูกจ้างนับล้านคนทั่วโลก และจัดเป็นอุตสาหกรรมหลักในยุคใหม่  เป็นอุตสาหกรรมที่ตั้งในประเทศกำลังพัฒนาเนื่องจากมีค่าแรงต่ำ อุตสาหกรรมนี้มีกระบวนการหลายชนิดตั้งแต่การทำ semiconductor wafer fabrication, การผลิต printed circuit boards การประกอบเครื่องมืsemiconductor และการพิมพ์แผงวงจร การประกอบผลิตภัณฑ์อีเลคโทรนิก นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมสนับสนุนอีกหลายอย่างได้แก่การทำชิ้นส่วนโลหะ และพลาสติก การทำ hard disks การทำมอเตอร์ที่เที่ยงตรงเพื่อขับเคลื่อน การทำ liquid crystal displays และชิ้นส่วนอีเลคโทรนิกส์อื่นๆ

โดยปกติกระบวนการอุตสาหกรรมอีเลคโทรนิกส์เป็นขั้นตอนของกระบวนการทำงาน ได้แก่

  • 1. Semiconductor wafer fabrication: เป็นการวางเส้นลงบน wafers ซึ่งทำจากซิลิคอน เป็นกระบวนการเริ่มต้น ได้แก่
  • Crystal purification and growth
  • Wafer preparation
  • Epitaxy and oxidation
  • Photolithography
  • Doping and type conversion
  • Metallisation, interconnections and packaging
  • 2. Integrated circuit assembly: เป็นการเตรียมและทดสอบ encapsulated integrated chip ได้แก่
  • Die separation
  • Die attach bonding
  • Wire bonding
  • Encapsulation
  • Housing and marking
  • Testing
  • 3. Printed circuit board (PrCB) fabrication: เป็นการพิมพ์บอร์ดคล้ายการวางลายผ้า ตัวบอร์ดทำด้วยสารประกอบเรซิ่นพลาสติกซึ่งถูกทำให้ร้อน และผสมกับสารซึ่งประกอบเป็นชั้นเคลือบด้วยโลหะ ทำความสะอาดและแต่งรูป ได้แก่
  • Resin bonding
  • Impregnation
  • Laminating
  • Photomasking and etching
  • Cutting and drilling
  • Marking and testing
  • 4. Printed circuit board assembly: เป็นการประกอบส่วนต่างๆของอีเลคโทรนิกลงบน PrCB ติดชิ้นส่วนเหล่านี้ลงบนบอร์ด ทำความสะอาด บัดกรี เชื่อม ตัด และทดสอบ ได้แก่
  • Parts preparation
  • PrCB "stuffing"
  • Soldering, touch - up
  • Marking and testing
  • 5. Final Product assembly: เป็นการประกอบ PrCB เข้ากับส่วนอื่นๆ เพื่อเป็นผลผลิตอีเลคโทรนิกส์สุดท้าย ได้แก่
  • Parts preparation
  • Parts assembly
  • Testing
  • Housing assembly
  • Marking and packaging

ในแต่ละขั้นตอนมีการใช้เครื่องจักรและสารเคมีเฉพาะดังนั้นอันตรายต่อสุขภาพและการจัดการทางอาชี

วอนามัยก็แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นการกระจายตัวของพนักงานก็แตกต่างกัน มีพนักงานหลายคนในแผนกประกอบ แต่น้อยคนในแผนกพิมพ์ลายวงจร และส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงในแผนกประกอบ แต่แผนกทำ wafer จะเป็นผู้ชาย  และยังมีการทำงานกะด้วย

                พิษของสารเคมีจะมีผลต่อสุขภาพหรือไม่นั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกัน บางรายงานบอกว่าทำให้เป็นมะเร็ง หรือมีผลต่อระบบสืบพันธ์ แต่ก็มีงานวิจัยออกมาค้าน อย่างไรก็ดีโรงงานอีเลคโทรนิกส์จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมมากทั้งเรื่องขยะมีพิษ และน้ำเสีย ดังนั้นไม่ควรมองข้ามเรื่องผลต่อสิ่งแวดล้อมนี้

สิ่งคุกคามในงานอีเลคโทรนิกส์

                มีสิ่งคุกคามทางเคมีหลายตัวในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งมีฤทธิ์ทั้งทางกายภาพเช่นติดไฟง่าย ระเบิด กัดกร่อน จนถึงพิษของมันต่อร่างกาย สารเคมีได้แก่ อาร์ซีน ฟอสฟีน ไดโบเรน แอมโมเนีย คลอรีน สารกระตุ้นที่มีอาร์เซนิก กรดเข้มข้นเช่นกรดไฮโดรฟลูออริก และกรดไฮโดรคลอริก  รวมทั้งตัวทำละลายอีกหลายชนิด  แต่ส่วนใหญ่สารเคมีเหล่านี้อยู่ในเครื่องจักรที่เป็นระบบปิด การสัมผัสจะเกิดขณะทำการซ่อมบำรุง ตรวจเช็ค หรือเกิดการรั่วไหลของเครื่อง

                สารเคมีที่ใช้ในการประกอบอุปกรณ์อีเลคโทรนิกส์จะมีความเป็นพิษน้อยกว่า แต่ในการทำงานนั้น บางวันสารเคมีอาจมีการรั่วไหลหรือฟุ้งกระจายออกมาก สารเคมีเหล่านี้ได้ก่ ตัวทำละลาย ตัวทำความสะอาดพวกกรดหรือด่าง เรซิน ตัวเชื่อมหรือบัดกรี เช่นตะกั่วหรือดีบุก และฟลักซ์เช่น โคโลโฟนี หรือสารเคมีอื่นเช่นอามีน เป็นต้น

                มีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ค่อนข้างมาก โดยใช้ล้างคราบไขมัน เจือจาง เป็นตัวทำความสะอาด และเป็นตัวทำปฏิกิริยา พบในเกือบทุกขั้นตอนในอุตสาหกรรมนี้ ตัวอย่างเช่น ไอโซโพรพานอล เอ็นอาเซติล อาโมเตต  ฟรีออน  ซัยลีน อซีโตน เมธานอล เมธอกซี่เอธานอล สารปีโตรเคมี ไตรคลอโรอีเธน เมธีลีนคลอไรด์ เตตราคลอโลอีเธน เอทธิลีนไกลคอล และเมธิลเอธิลคีโตน

                ผลต่อสุขภาพจะมีได้ตั้งแต่

  • ผิวหนัง เช่นมีการระคายเคือง ผิวหนังอักเสบชนิดต่างๆ
  • ระบบหายใจ (หอบหืด การระคายเคือง)
  • ระบบประสาทส่วนกลาง (ความผิดปกติของจิตประสาท)
  • นอกจากนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าจะมีผลต่อระบบสืบพันธ์ หรือการเป็นโรคมะเร็งหรือไม่หรือไม่

สิ่งคุกคามทางกายภาพ

                สิ่งงคุกคามทางกายภาพได้แก่ เสียง และรังสี มีการใช้ทั้งรังสีแตกตัวและไม่แตกตัวในการทดสอบ ควบคุมคุณภาพ และการซ่อม แต่ส่วนใหญ่จะทำในที่ปิด เสียงจะมีจากเครื่องจักร เช่นมอเตอร์ เครื่องตัด และเครื่องบรรจุ ความชื้นต่ำเป็นปัญหาสำคัญของห้องสะอาด (clean room) ทำให้เกิดปัญหาทางผิวหนัง

                การทำงานซ้ำๆ ใน line การประกอบหรือการเคลื่อนย้ายของทำให้เกิดการบาดเจ็บสะสม (cumulative trauma disorders)  ปวดหลัง และการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและกระดูก การตรวจสอบชิ้นงานโดยสายตาเป็นเวลานานโดยเฉพาะการใช้กล้องจุลทรรศน์จะทำให้เกิดการล้าและปวดตา แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนเป็นเครื่องอัตโนมัติเกือบหมดแล้ว  ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทำงานได้ง่ายขึ้น มีการปรับกระบวนการทำงานเช่น job rotation หรือการหยุดทำเป็นช่วง

การทำงานในห้องสะอาด

                ส่วนใหญ่พนักงานจะทำงานในห้องสะอาดซึ่งไม่มีฝุ่น โดยใช้เครื่องกรองอนุภาคขนาดต่างๆ ตามสเปคของสินค้าที่กำหนด เครื่องกรองอนุภาคประสิทธิภาพสูงเหล่านี้จะดึงฝุ่นและหมุนวนอากาศให้เพียงพอเท่าที่จะลดฝุ่นให้มากที่สุด พนักงานยังต้องใส่ชุดทำงานได้แก่หมวก เน็ตคลุมผม เสื้อกาวน์ หน้ากาก และรองเท้าบูธ เพื่อป้องกันฝุ่นจากตัวเองด้วย ในการหมุนเวียนอากาศไปใช้พนักงานมีโอกาสสัมผัสกับตัวทำละลาย และฟูมหรือไอของสารเคมี นอกจากนี้ความชื้นต่ำยังทำให้คันและผิวหนังอักเสบ

สิ่งคุกคามอื่นๆ

                ไม่มีสิ่งคุกคามทางชีววิทยาในขั้นตอนปกติ แต่ต้องระวังโรคติดต่อเนื่องจากสามารถแพร่กระจายได้ง่าย เนื่องจากการทำงานใกล้ชิดกันในแผนกประกอบ การกินอาหารร่วมกัน และภาวะสุขอนามัย การอยู่หอร่วมกันหลายคน และความสมบูรณ์ของร่างกาย

                ปัจจัยสำคัญทางจิตวิทยาในอุตสาหกรรมอีเลคโทรนิกส์ได้แก่จังหวะงานที่ไว และเร็วในการประกอบ งานซ้ำซาก และการทำงานเป็นกะ

                มีรายงานอุปทานหมู่ในพนักงานอีเคลโทรนิกส์ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุน้อย มีการศึกษาต่ง มาจากชนบท ซึ่งจะมีปัญหาในการปรับตัว พักในหอพัก แยกตัวจากครอบครัว ซึ่งทำให้มีความเครียดมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติด กินเหล้า และการสำส่อนทางเพศด้วย

การจัดการทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

                ได้แก่การรวมโปรแกรมเฉพาะต่างๆ เช่นการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย การยศาสตร์ การเฝ้าระวังทางสุขภาพ และอื่นๆ เข้าไปในระบบบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย นอกจากนี้การให้ความรู้แก่พนักงานยังช่วยให้พวกเขาระวังตนเองอีกด้วย

                ปกติ โปรแกรมจะประกอบด้วยหลักการดังนี้

  • การบ่งชี้สิ่งคุกคาม
  • การวางมาตรการควบคุม ซึ่งสิ่งแรกคือพิจารณาไม่ใช้สารหรือกระบวนการที่เป็นอันตรายได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้ใช้สารที่เป็นอันตรายน้อยกว่าแทน ถ้าไม่ได้อีกก็อาจต้องแยกสิ่งคุกคามออกจากการสัมผัสโดยใช้การปิด ระบบระบายอากาศที่ดี และการใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • การให้การศึกษาแก่พนักงาน
  • การควบคุมระดับสิ่งแวดล้อม
  • การควบคุมในระดับบุคคล โดยการวัดการสัมผัสจากเลือดหรือปัสสาวะ หรือการเฝ้าระวังโรคและการบาดเจ็บ

ความปลอดภัยทางเคมี

                ควรใช้สารเคมีที่อันตรายน้อยที่สุดถ้าเป็นไปได้ เช่นเมื่อมีการศึกษาว่าการใช้กลัยคอลอีเธอร์ทำให้มีการแท้งในห้องผลิตเวเฟอร์ซิลิคอน ก็มีการยกเลิกใช้สารตัวนี้และมีการใช้สารตัวอื่นที่มีพิษน้อยกว่าแทน ในอุตสหากรรมเกิดใหม่เช่นอุตสาหกรรมอีเลคโทรนิกส์นี้ ยังไม่ทราบผลของสารเคมีในระยะยาวดังนั้นควรมีการทำเครื่องจักรให้เป็นระบบปิดและควบคุมให้มีการสัมผัสให้น้อยที่สุด

การควบคุมทางวิศวกรรม การให้ความรู้ และการเฝ้าระวัง

                มาตรการที่จะป้องกันพนักงานคีอการควบคุมการสัมผัสให้อยู่ต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งไม่มีผลต่อสุขภาพ มาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการใช้การระบายอากาศและการใช้ระบบปิด โดยเฉพาะในห้องสะอาดซึ่งมีการหมุนเวียนอากาศมาใช้ทำให้การเคลื่อนย้ายสารเคมีออกจากบรรยากาศการทำงานไม่เต็มที่  ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวัดสิ่งแวดล้อมบ่อยครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมทางวิศวกรรมได้ผลดีด้วย

                ในการป้องกันกล้ามเนื้อและกระดูกรวมทั้งผลจากการทำงานซ้ำๆกันนั้น การออกแบบเครื่องมือเพื่อเคลื่อนย้ายจุดเครียดในกล้ามเนี้อและข้อ เป็นเรื่องสำคัญ การปรับปรุงความสูงในการทำงาน การปรับวิธีการทำงานเป็นหลักในเรื่องการยศาสตร์ การให้ความรู้เรื่องการเคลื่อนใหว จะช่วยได้มาก

                ในด้านความปลอดภัยอื่นๆ ได้แก่ การปูพื้นด้วยวัสดุกันกรดและกันลื่น การชี้ที่ดูดอากาศเฉพาะที่ การป้องกันเครื่องมือไฟฟ้าจากความชื้น การห้ามดื่ม กิน และสูบบุหรี่ในที่ทำงาน เครื่องมือล้างตาและปฐมพยาบาลเบื้องตน เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเช่นถุงมือ แว่นตา หน้ากาก เสื้อผ้าที่เหมาะสม มาตรการและกระบวนการขั้นตอนในการทำงานต่างๆ

                พนักงานจะต้องฝึกงานและมีความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานของตนเอง รู้ว่ามีสิ่งคุกคามอะไร สิ่งคุกคามมีผลต่อสุขภาพของตนเองอย่างไร และเทคนิกการทำงานที่ปลอดภัย  มีการตรวจร่างกายที่เหมาะสมเพื่อดูว่าเหมาะกับงาน และคัดกรองโรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทำงาน

 

 

หมายเลขบันทึก: 266580เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท