คำประกาศเจตนารมณ์ในการปฏิบัติงาน – งานเภสัชสาธารณสุข กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค


ทำหน้าที่เป็น Project Manager

            ตามที่ได้รับมอบหมายเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน  2552 ในการรับภาระงานเภสัชสาธารณสุข ซึ่งภารกิจในการพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ มีภารกิจย่อย 4 ภารกิจได้แก่

1.การพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานระบบบริหารยาและเวชภัณฑ์

2.การพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานระบบบริการยาและเวชภัณฑ์

3.การควบคุมกำกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

4.การส่งเสริมพัฒนาความปลอดภัยการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

 

โดยมีคณะทำงานทำหน้าที่เป็น Project Manager   เพื่อส่งเสริมสนับสนุน กำหนดทิศทางและแนวทาง (ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรม แผนงานโครงการ)  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานดังกล่าว

คณะทำงานและหน้าที่

คณะทำงานชุดปัจจุบันประกอบด้วย

1.นายสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ

ทำหน้าที่

ควบคุมกำกับ วางแผนยุทธศาสตร์ ประเมินผล การดำเนินงาน

กลวิธีการทำงาน

            วิเคราะห์ ประมวล และกำหนดประเด็นในการพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ประสานและดำเนินการจัดทำแนวทางมาตรฐานการดำเนินงานด้านยาและเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพทุกระดับให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป , เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการใช้มาตรฐานของเครือข่ายบริการสุขภาพ  ,  ให้การสอนและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้มาตรฐานแก่นักศึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

 

2.นางลักขณา บุญศักดิ์

ทำหน้าที่

ร่วมวางแผนยุทธศาสตร์ ร่วมประเมินผล การดำเนินงาน  และวางแผนกลยุทธ์  กลวิธีในการดำเนินงาน  , จัดทำเอกสารสรุปผลงานอย่างเป็นรูปธรรม

กลวิธีการทำงาน

            วิเคราะห์ประมวลผลและจัดทำรายงานสรุปข้อมูลข่าวสารด้านยาและเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ นำเสนอให้แก่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้แก่ทีมงานและเครือข่ายบริการสุขภาพเกี่ยวกับคุณภาพของผลการดำเนินงานด้านยาและเวชภัณฑ์

 

3.นางพัษสรา  กงเพชร

ทำหน้าที่ 

ติดตาม รวบรวมข้อมูล  ที่เกี่ยวข้อง และการจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน , วางแผนการประชุมย่อยเพื่อเป็นเวทีติดตามผลงาน สรุปรายงานความก้าวหน้า ทุก 3 เดือน

กลวิธีการทำงาน

วางแผนและประสานงานในการจัดเก็บ รวบรวมความรู้ทางวิชาการ ข้อมูลด้านยาและเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์  ให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอน เทคนิคและคุณภาพของการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ร่วมงานและเครือข่ายบริการสุขภาพ , เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลวิชาการด้านยาให้แก่เครือข่ายบริการสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

และมีผู้ช่วยดำเนินงานตามที่ร้องขอเป็นคราว  ๆ ไป  ทั้งนี้มีผู้ช่วยดำเนินงาน 2 คน ดังนี้

4.นางวิริยา  เมษสุวรรณ

ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยติดตาม รวบรวมข้อมูล  ที่เกี่ยวข้อง

5.นางวารุณี  แสงเรืองเอก

ทำหน้าที่ เป็นผู้ช่วยจัดทำเอกสาร เอกสารการเงิน

 

ทั้งนี้ คณะทำงานดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามงานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

ค่านิยมร่วมในการดำเนินงาน

1.CHANGE AGENT  เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

2.RISK MANAGER เป็นผู้ที่คอยตรวจตราโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการปฏิบัติงานต่าง ๆ โดยใช้หลักการ BAR (BEFORE ACTION REVIEW)   การวางแผนก่อนการดำเนินงานเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด และ  AAR (AFTER ACTION REVIEW) การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในคราวต่อไป

3.ADVOCATOR การปฏิบัติต่อทุกคน ทุกชนชั้นโดยเท่าเทียมกัน และการใช้โอกาสจากการเป็นราชการในการอำนวยช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มความสามารถ

 

การปฏิบัติงานในคณะทำงานนี้ จะดำเนินการภายใต้ข้อตกลง

1.กำหนดให้มีการกำหนด คำพรรณนาการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และใช้เป็นข้อตกลงการทำงานรายบุคคล  รวมทั้งให้มีการทบทวนภาวะความเป็นทีม โดยใช้  แบบตรวจสอบความเป็นทีม  ทุก 3 เดือน

2.การมอบหมายงาน การประสานงาน การรายงานผลการปฏิบัติงาน จะแจ้งทางวาจาก่อน และจะได้ส่งคำมอบหมายให้ทางอีเมล์ต่อไป (PAPER LESS)

3.ให้มีการ Morning Talk โดยซักถามพูดคุยปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานทุกเช้า  และให้มีการจัดเวทีสรุปรายงานความก้าวหน้า ทุก 3 เดือน

4.ให้มีการสรุปผลงานในภาพรวม รวมทั้งวิเคราะห์และสังเคราะห์การปฏิบัติงานภายใน 1 เดือนหลังจากสิ้นปีงบประมาณ

 

คำอธิบายภาระงาน

การพัฒนาระบบยาและเวชภัณฑ์

            หมายถึง กระบวนการวางแผน ควบคุมกำกับ และประเมินผลด้านยาและเวชภัณฑ์ในเชิงระบบตั้งแต่การคัดเลือก การจัดซื้อจัดหา การสำรวจและการกระจาย  การให้บริการรวมทั้งการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมทุกระดับ   โดยการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน มาตรฐานการดำเนินงาน และติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายบริการสุขภาพทุกระดับที่สอดคล้องต่อเนื่องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม ก่อให้เกิดคุณภาพ ความปลอดภัยในการบริการยาและเวชภัณฑ์ที่เป็นลักษณะองค์รวม บูรณาการ  ตอบสนองต่อนโยบายแห่งชาติด้านยา สามารถคลอบคลุมต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ และสภาพการณ์ของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยแบ่งภารกิจออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

1.การพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานระบบบริหารยาและเวชภัณฑ์

2.การพัฒนาและกำกับดูแลมาตรฐานระบบบริการยาและเวชภัณฑ์

3.การควบคุมกำกับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

4.การส่งเสริมพัฒนาความปลอดภัยการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

 

ผลลัพธ์ของงาน

1.มาตรฐานระบบยาและเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพทุกระดับที่สอดคล้อง ต่อเนื่อง เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม

2.ความปลอดภัย คุณภาพและความเพียงพอของยาและเวชภัณฑ์ที่สอดคล้องกับนโยบายและตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

3.ความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรและงบประมาณที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด ตามแนวทางการบริหารแบบธรรมาภิบาล

4.การจัดการความรู้ด้านยาและเวชภัณฑ์ในระดับจังหวัด รวมทั้งมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม มีประสิทธิภาพตามแนวทางแห่งการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

คำสำคัญที่ควรมีความรู้

·       กระบวนการวางแผน ควบคุมกำกับ และประเมินผล

·       มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม

·       การบริการยาและเวชภัณฑ์ที่เป็นลักษณะองค์รวม

·       นโยบายแห่งชาติด้านยา

·       การจัดการความรู้

·       องค์กรแห่งการเรียนรู้

 

วิสัยทัศน์ของงาน

            งานเภสัชสาธารณสุขเป็นต้นแบบระดับเขต 10 อย่างยั่งยืน

พันธกิจของงาน

            ส่งเสริมให้มีการยกระดับการปฏิบัติงานเภสัชกรรมทุกระดับให้มีมาตรฐานวิธีปฏิบัติที่ดี ได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

หมายเลขบันทึก: 266209เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2009 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท