ข้อมูลครั้งที่ 9 : รูปแบบการประกันสังคมของกลุ่มแรงงานนอกระบบในต่างประเทศ: กรณีศึกษาประเทศโปรตุเกส ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐเกาหลี และฟิลิปปินส์


ระเทศอังกฤษจะให้ความคุ้มครองกับประชากรทุกคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน เป็นการจ่ายเงินรายได้ที่ขาดหายไปในกรณีที่ไม่อาจทำงานหาเลี้ยงครอบครัวได้ รวมถึงช่วงที่ว่างงานหรือเมื่อต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจ็บป่วยและทุพพลภาพ รวมถึงการให้ความคุ้มครองในเรื่องบำนาญชราภาพ เจ็บป่วย พิการ ว่างงาน เป็นหม้าย สงเคราะห์บุตร หรือมีรายได้ต่ำมาก

ข้อมูลส่งให้ทีม ครั้งที่ 9: วันที่ 4 มิถุนายน 2552

ประเด็น : รูปแบบการประกันสังคมของกลุ่มแรงงานนอกระบบในต่างประเทศ:
กรณีศึกษาประเทศโปรตุเกส ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐเกาหลี และฟิลิปปินส์[1]

การประกันสังคมในต่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ ได้ถูกกล่าวถึงใน ประเทศโปรตุเกส ประเทศอังกฤษ สาธารณรัฐเกาหลี และฟิลิปปินส์

 

มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

(1)   การประกันสังคมของประเทศโปรตุเกส

 

ระบบประกันสังคมของประเทศโปรตุเกส มีลักษณะเป็นโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม(Social Safety Net) ซึ่งจะรองรับและให้ความคุ้มครองแก่

 

·       พลเมืองของประเทศ

·       ผู้ที่พำนักในประเทศและผู้ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากโครงการใด ๆ เลย

·       พลเมืองของประเทศยุโรปที่เข้ามาทำงานในประเทศโปรตุเกส

 

โดยมีทั้งระบบที่เป็นการเรียกเก็บเงินสมทบ และแบบไม่เรียกเก็บเงินสมทบ

 

ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานและมีงานทำส่วนมากจะได้รับความคุ้มครองจากโครงการประกันสังคมหลัก (General Social Security Schemes) เป็นระบบบังคับลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ส่วนกลุ่มคนในภาคเกษตร คนงานในเหมืองแร่ จะมีโครงการเฉพาะสำหรับดูแลกลุ่มคนกลุ่มนี้แยกต่างหาก (สำนักงานประกันสังคม 2548: 9)

 

ระบบที่มีลักษณะสมัครใจ(Voluntary Schemes) ใช้กับพลเมืองของประเทศที่มีงานทำ แต่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากโครงการที่มีลักษณะเป็นการบังคับ รวมถึงพลเมืองของประเทศโปรตุเกสซึ่งทำงานในต่างประเทศและไม่ได้รับการคุ้มครองจากข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งแรงงานอพยพที่พำนักในประเทศโปรตุเกศไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต้องมีหนังสืออนุญาตการทำงาน (Work Permit)

 

ผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถเลือกความคุ้มครองได้จาก 2 แผน ซึ่งเป็นประโยชน์ทดแทนที่แตกต่างกัน คือ แผนความคุ้มครองแบบบังคับให้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ ทุพพลภาพ ชราภาพ และตาย ในขณะที่แผนความคุ้มครองแบบสมัครใจ ให้ประโยชน์ทดแทนเฉพาะตัวเงิน (Cash Benefit ) สำหรับกรณีเจ็บป่วยเท่านั้น แต่มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการแบบสมัครใจมากกว่าแบบบังคับ ทั้งนี้ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องแสดงรายได้ ณ สรรพากรเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการคำนวณเงินสมทบโดยกำหนดเป็นกลุ่มรายได้ ยังมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อการคำนวณเงินสมทบและประโยชน์ทดแทนต่าง ๆ แต่เมื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระมีรายได้ลดลงสามารถแจ้งเปลี่ยนระดับรายได้ได้ทีละขั้น ทั้งนี้ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ยื่นขอปรับเปลี่ยนรายได้ต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี ณ วันที่เปลี่ยนระดับรายได้มีผลบังคับใช้

 

การจะควบคุมผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระให้ปฎิบัติตามข้อบังคับเป็นเรื่องยาก ดังนั้นต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพทางกฎหมายในการประสานงานระหว่างกรมสรรพากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาษี และด้านการจัดการของโครงการประกันสังคม

 

อ่านต่อทั้งหมด Click: ดาวน์โหลด



[1] นำข้อมูลทั้งหมดมาจากวิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาแนวทางการจ่ายเงินประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ : กลุ่มหาบเร่แผงลอยในกรุงเทพ มหานคร  ของนางสาวสุภามาศ โกมลสิงห์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ,  2550 (บทที่ 2)

 

หมายเลขบันทึก: 265902เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท