ข้อมูลครั้งที่ 2 :ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย


แรงงานอพยพเอเชียส่วนมากเดินทางข้ามพรมแดนมาหางานทำในต่างประเทศ ด้วยความหวังว่าจะมีโอกาสที่ดีกว่าในประเทศของตน แต่เมื่อความหวัง ความฝันนั้นมลายหายไป และต้องกลับภูมิลำเนาเดิม พวกเขาจะผิดหวังมาก แรงงานอพยพที่ถูกเลิกจ้างและส่งตัวกลับประเทศ จึงเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และการปลดแรงงานอพยพออกจากงานจะนำมาซึ่งปัญหาอีกมากมายในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในประเทศอย่างฟิลิปปินส์ เนปาล และทาจิกิสถาน ซึ่งเงินที่แรงงานส่งกลับประเทศมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ มาเป็นเวลายาวนานแล้ว

ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย

 

จัดทำโดย ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

 

จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจนเกิดผลกระทบไปทั่วโลก และประเทศไทยเองก็ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวอย่างยากจะหลีกเลี่ยง วิกฤติครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการส่งออก ภาคการท่องเที่ยว และภาคการเกษตร และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาแล้วในปี 2540 จนนำมาสู่ปัญหาการเลิกจ้างแรงงานอย่างมโหฬาร โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานเหมาค่าแรง แรงงานรับเหมาช่วง แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ

 

 

วิกฤตเศรษฐกิจที่มีต้นตอมาจากต่างประเทศนี้กำลังลุกลามและส่งผลกระทบต่อการเลิกจ้างในประเทศไทยมากขึ้น กระทรวงแรงงานรายงานว่า นับจากเดือนมกราคม 2551 ถึงต้นเดือนมีนาคม 2552 มีแรงงานถูกเลิกจ้างไปแล้ว จำนวน 163,726 คน ทั้งหญิงและชาย และโรงงานปิดกิจการไปแล้วอย่างน้อย 1,000 แห่ง หลายฝ่ายทั้งภาครัฐและองค์กรผู้ใช้แรงงานต่างให้ความห่วงใยต่อการเลิกจ้างครั้งนี้มาก ในส่วนของรัฐบาลมีการออกมาตรการความช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้วจำนวนหนึ่ง ในขณะที่องค์กรแรงงานก็มีทั้งการจัดบริการให้คำแนะนำและความช่วยเหลือ รวมทั้งรวบรวมปัญหาเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

 

 

เอกสารเรื่องนี้จึงนำเสนอเรื่องผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยใน 4 ประเด็น คือ

 

(1)   ภาพรวมสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจโลก

(1.1)         สหภาพแรงงานในฝรั่งเศส : ประท้วงใหญ่ในรอบปี

(1.2)         สหภาพแรงงานกัมพูชา : ระบุตัวเลขพนักงานถูกเลิกจ้างกว่าหมื่นคน

 

(2)   สถานการณ์ผู้ถูกเลิกจ้างในประเทศไทย : มีนาคม 2552

 

(3)   ทางออกจากสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน : บทบาทสหภาพแรงงานไทย

 

 

(4)   กรณีศึกษา : สหภาพแรงงานในประเทศจีนต่อการช่วยเหลือแรงงานอพยพจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

 

อ่านรายละเอียดทั้งหมด click :


ดาวน์โหลด

 

หมายเลขบันทึก: 265840เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท