การทำโครงงาน


จัดทำโครงงาน

โครงงาน

จุดประสงค์การเรียนรู้  โครงงาน

1.       มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ  หลักการ  ประเภทของโครงงาน  และวิธีทำโครงงาน

2.       รู้จักคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับตนเอง  สภาพแวดล้อม  หาทางเลือกอย่างรอบคอบว่าควรเลือกทำโครงงานอะไร

3.       มีความรู้ความเข้าใจ  ความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานที่เลือก

4.       มีความรู้ความเข้าใจหลักวิชาหรือวิธีการที่จะสนับสนุนช่วยให้สามารถทำงานตามโครงงานที่เลือก

5.       วิเคราะหืและวางแผนปฏิบัติงานได้ถุกต้องเหมาะสมตามขั้นตอนกระบวนการทำงาน  ประหยัด  และปลอดภัย

6.       ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้และรู้จักแก้ปัญหาปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสม

7.       ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

8.       ทำงานด้วยความตั้งใจ  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  และมีคุณธรรมในการทำงาน

9.       รู้จักนำผลการประเมินผลงานไปใช้ในการปรับปรุงตนเอง  และการทำงานอื่น ๆ ต่อไป

10.    ค้นพบความสามารถ  ความถนัด  และความสนใจของตนเอง

11.    ได้ชิ้นงานที่นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและภูมิใจในความสำเร็จของงาน

……………………………………………………………..

 

ความหมาย  ความสำคัญ  หลักการ  และประเภทของโครงงาน

ความหมายของโครงงาน

                โครงงาน  หมายถึง  กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา  ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ  ความถนัด  และความสนใจ  โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด

ประเภทของโครงงาน

                โครงงานแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมได้    ประเภท  ดังนี้

                ๑.  โครงงานประเภทสำรวจ หมายถึง โครงงานที่มีเป้าหมายเพื่อสืบค้นหาความรู้  ข้อเท็จจริงต่าง ๆจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้หรือข้อสรุปที่เชื่อถือได้จริง 

                ๒.  โครงงานสิ่งประดิษฐ์  หมายถึง  โครงงานที่มีเป้าหมายเพื่อนำสู่ความรู้  ประสบการณ์  และความสามารถต่าง ๆไปผลิตผลงานหรือสร้างชิ้นงานที่มีคุณค่า  ทั้งด้านความงามและประโยชน์ใช้สอย  เช่นการนำความรู้เรื่องการเขียนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง  และความสามารถด้านศิลปะไปประดิษฐ์บัตรอวยพรพร้อมคำอวยพรที่ประพันธ์ด้วยร้อยกรองที่ไพเราะ

                ๓.  โครงงานแก้ปัญหา  หมายถึง  โครงงานที่มีเป้าหมายเพื่อฝึกการนำความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆที่ได้เรียนรู้ในหลักสูตรไปแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริงของนักเรียน  เช่น  โครงงานศึกษาค้นคว้าหาวิธีการป้องกันอุบัติภัยในโรงเรียน

                ๔.  โครงงานอาชีพ  หมายถึง  โครงงานที่มีเป้าหมายเพื่อมุ่งฝึกให้นักเรียนได้รู้จักกิจกรรมทางด้าน

ธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ  เช่น  โครงงานหารายได้ระหว่างเรียน

ขั้นตอนการทำโครงงาน

                การทำโครงงาน   มีขั้นตอนสำคัญ    ขั้นตอน  ดังนี้

                ขั้นตอนที่    การเขียนโครงงาน

                การเขียนโครงงาน  คือ  การวางแผนก่อนที่จะลงมือทำโครงงานจริง ๆ ดังนั้น  จึงถือว่าการเขียนโครงงานมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการทำโครงงานอย่างยิ่ง  ดังคำโบราณที่กล่าวไว้ว่า  การวางแผนที่ดีเท่ากับทำให้งานประสบผลสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

                ขั้นตอนที่    การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

                การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้  คือ  การนำโครงงานที่เขียนไว้ไปปฏิบัติจริงตามขั้นตอนและแนวทางต่าง ๆ

ที่ได้กำหนดไว้แล้วในขั้นตอนนี้จะมีการทำโครงงานจริง ๆ ตามช่วงเวลาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในแผน  โดยจะต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงเป็นระยะ  จนสิ้นสุดตามที่ได้เขียนไว้ในแผน

                ขั้นตอนที่    การนำเสนอโครงงาน

                                ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำโครงงาน  คือ  เมื่อได้ปฏิบัติงานตามแผนจนเสร็จสิ้น  และมีผลงานปรากฏตามเป้าหมายของการทำโครงงานแล้ว  เจ้าของโครงงานต้องรวบรวมผลงานต่าง ๆ ที่สำคัญมานำเสนอเพื่อรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

 

                                แนวทางการเขียนโครงงาน 

                การเขียนโครงงานเป็นจุดเริ่มต้นของการทำโครงงานที่สำคัญยิ่ง  เป็นบันไดสำคัญที่จะทำให้นักเรียนก้าวไปสู่ความสำเร็จในการทำโครงงาน  ซางมีส่วนประกอบสำคัญที่ต้องเขียน  ดังนี้

                                ๑.  ชื่อโครงงาน

                ชื่อโครงงานควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นโครงงานประเภทใด  ชื่อโครงงานที่ดีควรสั้นกะทัดรัดและได้ใจความชัดเจน  เช่น  โครงงานสำรวจเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น

                                ๒.  ความเป็นมาในการจัดทำโครงงาน

                ความเป็นมาในการจัดทำโครงงาน  หรือบางครั้งเรียกว่า  หลักการและเหตุผล  การเขียนความเป็นมาควรชี้ให้เห็นที่มา  หรือเหตุผลความจำเป็นในการทำโครงงานครั้งนี้อย่างชัดเจน  มีน้ำหนัก  น่าเชื่อถือ  โดยต้องเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะของโครงงาน  ดังนี้

                ๑)  โครงงานสำรวจ  ควรชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของความรู้หรือข้อเท็จจริงที่จะได้รับจากการทำโครงงาน

                ๒)  โครงงานสิ่งประดิษฐ์  ควรชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้

                ๓)  โครงงาแก้ปัญหา  ควรชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที

                ๔)  โครงงานอาชีพ  ควรชี้ให้เห็นถึงคุณค่า  ความสำคัญของอาชีพนั้น ๆ

ตัวอย่าง  ความเป็นมาของโครงงานสำรวจเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น

                ในยุคปัจจุบันนี้  กระแสวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศไทยอย่างมากมาย  จนเป็นผลทำให้เยาวชนไทยมิได้ใส่ใจและเห็นคุณค่าในวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของท้องถิ่นสิ่งดีงามต่าง ๆ ของไทยและของท้องถิ่นถูกละเลยและทอดทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย  เช่น  เพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มุคุณค่ายิ่ง  เพราะได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละท้องถิ่นผ่านภาษาที่เรียบเรียงอย่างไพเราะ  และท่วงทำนองของบทเพลงที่สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นนั้น

                ดังนั้น  จึงเห็นควรได้มีการสืบค้นและรวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เยาวชนไทยรุ่นหลัง ๆ ได้ศึกษา  อันจะก่อให้เกิดความรักและภาคภูมิในในท้องถิ่นของตนเอง

                                ๓.  วัตถุประสงค์ของโครงงาน

                                การเขียนวัตถุประสงค์ของโครงงาน  ควรเขียนใน    ประเด็น  คือ  การระบุถึงการงานที่ต้องปฏิบัติในการทำโครงงาน  และผลสำเร็จอันเป็นเป้าหมายหลักของการทำโครงงาน

ตัวอย่าง  วัตถุประสงค์ของโครงงานสำรวจเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น

                ๑.  เพื่อสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น

                ๒.  เพื่อรวบรวมเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่นมาจัดเป็นหมวดหมู่ให้น่าสนใจ

                ๓.  เพื่อเผยแพร่เพลงพื้นบ้านในท้องถิ่นไปยังผู้สนใจอย่างแพร่หลาย

                ๔.  เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนไทยรักและหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม

                   ของไทย

 

 

                                ๔.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงาน

                การเขียนโครงงานควรเขียนให้ชัดเจนว่าเมื่อทำโครงงานนี้สำเร็จแล้วใครบ้างที่จะได้รับผลประโยชน์

ตัวอย่าง  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำโครงงานสำรวจเพลงพื้นบ้านท้องถิ่น

                ๑)  ทำให้นักเรียนได้ทราบว่าในท้องถิ่นของเรามีศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้านอะไรบ้าง

                ๒)  ทำให้ท้องถิ่นได้รับชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นแหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่า

                                ๕.  วิธีดำเนินงาน

                การเขียนดำเนินงานของโครงงาน  ควรเขียนให้ชัดเจน  เป็นขั้นเป็นตอนละเอียดว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง  ทำเมื่อไร  ทำที่ไหน  มีใครเกี่ยวข้องบ้าง  โดยจัดเรียงกิจกรรมที่จะทำตามลำดับก่อนหลัง  ซึ่งอาจจัดทำเป็นตารางปฏิบัติงาน  เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการใช้งานจริง

 

ตัวอย่าง  ตารางการปฏิบัติงานโครงงานสำรวจเพลงพื้นบ้านท้องถิ่น

ที่

งานที่ต้องปฏิบัติ

วัน เวลา

สถานที่

ผู้รับผิดชอบ

๑.

 

 

๒.

 

 

๓.

 

 

 

 

๔.

๕.

๖.

กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ  ได้แก่

  -  สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเพลงในท้องถิ่น

  -  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเพลงในท้องถิ่น

สร้างเครื่องมือเก็บข้อมูล  ได้แก่

  -  แบบสอบถาม

  -  แบบสัมภาษณ์

เก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มเป้าหมาย

นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล

เขียนรายงานการสำรวจ

ส่งรายงานการสำรวจให้ครู

 

 

 

  มิ.ย.  ๒๕๔๘

 

 

๖-๑๐ มิ.ย. ๒๕๔๘

 

 

๑๕-๒๐ มิ.ย. ๔๘

 

 

 

๒๒  มิ.ย. ๔๘

๒๔-๒๙  มิ.ย. ๔๘

๓๐  มิ.ย. ๔๘

 

โรงเรียน

 

 

โรงเรียน

 

 

หมู่บ้าน/ตำบลที่เกี่ยวข้อง

 

 

โรงเรียน

โรงเรียน

โรงเรียน

นาย. สันติ

 

 

น.ส.สาลินี

 

 

น.ส.อารีและคณะ

 

 

 

น.ส.อรุณศรี

นาย สุพล

น.ส.นารี

 

                ๖.  งบประมาณ

                ในการทำโครงงานบางครั้งหากมีค่าใช้จ่ายในการทำงาน  ควรต้องมีการกะประมาณค่าใช้จ่ายไว้ด้วย  เพื่อที่จะได้เตรียมการจัดหางบประมาณในการทำงานครั้งนี้  และเมื่อไปทำงานจริงก็สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้

 

ตัวอย่าง  ประมาณการค่าใช้จ่ายในการทำโครงงานสำรวจเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น  งบประมาณในการดำเนินงาน  มีดังนี้

                ๑.  ค่ากระดาษสำหรับจัดทำแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม    ๑๐๐   บาท

                ๒.  ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเก็บข้อมูล                                   ๒๐๐  บาท

                ๓.  ค่าใช้จ่ายในการจัดทำรายงาน                                                ๑๐๐   บาท

                                                                                               

                                                                                                รวมทั้งสิ้น    ๔๐๐  บาท       

หมายเลขบันทึก: 265769เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมมากเลยครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆค่ะ ทำให้มีความรู้ได้ในระดับหนึ่ง

เยี่ยมหน้าสนใจดีอิอิอิ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท