pitfall ที่พบในหมอใหม่ สรุปล่าสุด


ไม่ต้องเรียนรู้โดยการทำผิดพลาดเอง

update ข้อมูล ที่เคยบันทึกไว้ ปรับปรุงใหม่ เอาไว้ชี้แจงให้ หมอใหม่ตอนปฐมนิเทศ

แล้วติดประกาศ ไว้ให้หมอใหม่ทุกคนอ่านซ้ำ เอง ที่ประตูห้องพักเวรทุกห้อง ของตึก กุมารเวชกรรม รพเชียงรายฯ

หวังว่าน้องจะเรียนรู้จากบทเรียนความผิดพลาด ที่เคยมีปรากฏ และบันทึกไว้นี้

จะได้ไม่ต้องเรียนรู้โดยการทำผิดพลาดเอง

Pitfalls ที่พบ ในแพทย์ฝึกหัดและ นศพ ปี 6 แผนกกุมารเวชกรรม 

·        Intern wardไม่เปลี่ยนการวินิจฉัย และการรักษา จะคงให้ต่อคำสั่งเดิม ถึงแม้นจะ ซักประวัติและ ตรวจร่างกายแรกรับผู้ป่วยที่ตึกพบว่าเป็นคนละโรคคนละเรื่องกับที่แพทย์ intern ER ตรวจ 

·        Off order แพทย์ staff หรือ  Off order แพทย์ด้วยกันโดยไม่เหมาะสม (แนะนำว่ากรณีจำเป็นต้อง off  หรือจะเป็นอันตรายกับผู้ป่วย ควรปรึกษา แพทย์ staffอีกคน เพื่อขอ second opinion ก่อน off)   

·        ตรวจซักประวัติได้ไม่ตรงกับแพทย์ staff ที่ส่งมาจากคลินิกมา Admit  และเปลี่ยนการรักษาเป็น OPD Rx   

·        ลืมพิจารณาการเจริญเติบโต(ไม่ดูความเหมาะสมของ BW เทียบกับอายุ)

·        เด็กมาด้วยไอ ไม่ประเมิน Respiratory rate

·        Dx Pneumonia ในเด็ก แล้วสรุปว่าเป็น Viral pneumonia และไม่ให้ Antibiotic

 

·        ตรวจและซักประวัติไม่ครบ ทำให้วินิจฉัยไม่ได้ (ตย เด็กมาด้วยไข้ ไม่ได้ซักประวัติยา  Dx Parecet toxicity)

 

·        แก้ไขหรือสงบทุกข์ให้พ่อแม่ไม่ได้  มักแก้ความทุกข์พ่อแม่ด้วยยา ไม่ได้แก้ด้วยการให้ข้อมูลความรู้ ให้เข้าใจอาการของโรคและระยะการดำเนินของโรค , ทางเลือกในการรักษา และวิธีการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น:

 

·        เด็ก เป็นหวัด ไอ พ่อแม่กังวลเรื่องไอมาก  หรือ เด็กท้องเสีย พ่อแม่กังวลว่าถ่ายไม่ยอมหยุด      ให้ยารักษาอาการ  ตามทุกอาการที่เด็กมี ตามที่ผู้ปกครอง กังวล

 

·        เด็กไข้สูงให้ยาแก้ไข้แรงและต่อเนื่องโดยไม่หาสาเหตุ ให้ sulpyrin  paracet สลับกันทุก 4 ชั่วโมง( ภายหลังไข้ก็ลงและพบเด็ก มี Shockและเป็นไข้เลือดออก)

 

·        ทำงานหนักโดยไม่ได้เรียนรู้ ขาดการติดตามเรียนจากผู้ป่วย ว่า การวินิจฉัยและรักษาของตนเองถูกต้องหรือไม่   ไม่ประเมินผู้ป่วยซ้ำ, ไม่ศึกษาเพิ่มเติม  ตัวอย่าง       

o       Dx  Congenital heart disease กลายเป็น severe anemia

o       Dx  Hematologic malignancy(เพราะ WBC เกือบ 3 หมื่น) กลายเป็นExudative tonsillitis

o       Dx Fx femur ไม่ได้   

o       Detect ภาวะ Shockในเด็ก ไม่ได้

o       Dx Intussusception  ไม่ได้

 

·        อยากทำหัตถการ แต่ไม่เตรียมตัว ไม่ทราบทฤษฎี  ไม่ทราบความเสี่ยง และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในหัตถการนั้น

 

·        ที่ ER ลืมเช็ค A Airway B Breathing C Circulation เช่นลืมดู ตำแหน่งและความลึกของท่อหายใจโดยเฉพาะ Newborn  และไม่ได้ให้ การ symptomatic supportive treatment ที่เหมาะสม (Oxygen , Keep warm, แก้ไขภาวะ shock)

 

·        มองโรคของเด็กในแง่ดี  รับรองกับผู้ปกครองว่าไม่เป็นไรไม่อันตรายและให้ให้กลับบ้าน(ขณะที่ผู้ปกครองยังกังวลไม่สบายใจ)  เด็ก กลับมาชัก และเสียชีวิต (ควรคิดถึง  worst scenario ของผู้ป่วยทุกคน อาจแนะนำว่า เท่าที่ตรวจได้ขณะนี้  หมอ ยังไม่เจอ อะไร ที่ผิดปกติหรืออันตราย อาการควรจะดีขึ้นภายใน..วัน และให้มาซ้ำถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงหรือไม่สบายใจ:หากผู้ปกครอง ยังกังวลใจมาก อาจ admitไว้ก่อนได้)

 

·        ขาดการทักทาย และสนทนา สื่อสารสร้างมิตรภาพกับพ่อแม่ ลืมสร้างบรรยากาศที่น่าไว้ใจ (ควรทักทายถามไถ่ และ ทำให้ผู้ปกครอง รู้สึกสบายใจ รู้สึกโชคดีและดีใจที่เจอหมอคนนี้)

 

 สรุปจาก ความเห็น อาจารย์แพทย์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม เมย 2552

 

หมายเลขบันทึก: 265321เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2009 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

เรียนรู้จากความผิดพลาด ได้เยี่ยมเลยค่ะ

พบแล้วทำไงต่อคะอาจารย์ อยากอ่านต่อจังเลยค่ะ

ได้ข้อมูลแล้ว เดือน กค จะมาเยี่ยมยามครับ

ขอบคุณ น้องพอลล่า และ อาจารย์ JJ ค่ะ กรุณามาเยี่ยม

พบแล้ว เอามาทำ Proactive management แบบนี้ แหละค่า

และก็เฝ้า และ feedback ให้ทันทีที่พบพลาดซ้ำ

ต้องมีซ้ำแน่ เพราะยังเป็นแค่มนุษย์

แต่หวังเพียงแค่ คงไม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ขออนุญาตเพิ่มเติมนิดหนึ่ง ค่ะ

ไม่ซักประวัติให้ละเอียด เป็นpitfall แน่ ๆ

(แม้จะเป็นหมอpathologist แต่อยู่เวรตรวจ OPD, ER ตามหน้าที่ค่ะ พบเห็นและพยายามแนะนำเด็ก ๆ น้องใหม่ค่ะ)

ส่งตรวจ investigation ที่ดูจะ over เกินไป..ส่วนตัวจะให้เด็กอธิบายเราว่า Test ชื่อนี้ ๆ คืออะไร มีมาใหม่เรื่อย ๆ test หรู ๆ แพง ๆ

ในทางpathology ก็พบค่ะ พาให้นึกถึงคำพูดอาจารย์อาวุโสเรื่อย ๆ ว่า อย่างไรก็ต้องยึด morpholgical findings บนสไลด์ที่ย้อมสีroutein sections

สั่งย้อมพิเศษเยอะเท่าไร แปรผกผันกับความรู้(จัก)หน้าตาของเซลล์ น้อยค่ะ

 

คงต้องช่วย ๆ กันรวบรวม;P

เราเองก็ต้อง update ;P

จริงๆ อย่าง คุณหมอเพิ่มเติม เรื่องประวัติ เรื่อง Over investigate

และต้องช่วยกัน ถ้าไม่ช่วยกัน ก็ไม่ได้ทำด้านป้องกันเหตุ ก่อนเกิด

ผิดซ้ำๆ ผิดซ้ำซาก น่าเสียดาย นะคะ

อาจารย์ค่ะ

ถ้าเราอยากทราบ เรื่องของหมอที่ควรปฏบัติอะค่ะ

ควรทำอย่าไงดี เพราะหนูจะทำรายงาน

ช่วยหน่อยนะค่ะูููุ^^^

ของแพทย์กุมารเวชกรรมนะค่ะ

ช่วยตอบกลับหน่อยนะค่ะ

มีเพียบเลยค่ะ   แต่ดีที่สุด เอาหลักจากคำพูด ของ ท่านอาจารย์ คนดีที่ เมืองน่าน

 อ นพ บุญยงค์ วงศ์ รักมิตร ท่านบอกว่า

ดูแลผู้ป่วย เต็มความสามารถ ด้วยความระมัดระวัง และเอื้ออาทร ด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และบนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย

เคยเขียน เรื่องทำนองนี้ ที่บล็อกนี้ ลองอ่านดูนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท