ผู้ให้ย่อมเป็นผู้ได้รับ – เพลงเก่า ตอนที่ 2


 

                ต่อจากตอนที่แล้ว ผมทิ้งท้ายด้วยคำถามที่ว่า “ศิลปินต้องการให้โลกจดจำเขาตลอดกาลในผลงานของเขา หรือแค่แสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวในช่วงที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น?  วันนี้ผมไม่ได้กลับมาตอบคำถามนั้นหรอก แต่แค่มีเรื่องเล่าให้ฟัง

                เพลงอมตะที่ไม่มีใครได้ฟัง ฟังดูแปลก ๆ จะเป็นอมตะอย่างไรถ้าไม่มีใครได้ฟัง หรืออาจจะเพราะไม่มีใครฟังนั้นแหละถึงเป็นอมตะ แล้วถ้าไม่มีใครได้ฟังจะมีค่าอะไรกัน

                ลิขสิทธิ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ปิดกั้นการส่งต่อคุณค่าของผลงาน จากรุ่น สู่ รุ่น ความรู้สึกผมมันเหมือนการส่งต่อรายได้จากรู่นสู่เพียงไม่กี่รุ่น แล้วสูญสลายไปเหลือเพียงจารึกในกระดาษ ซึ่งนั่นไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย หลายเพลงที่เราได้ยินได้ฟังมานานแล้วตั้งแต่สมัยที่ยังฟังแผ่นเสียง เทปคลาสเซ็ต ปัจจุบันเป็นอีเล็กทรอนิกส์ไฟล์ไปซะแล้ว

                การเคลื่อนไปของยุคสมัยทำให้บางสิ่งบางอย่างหายไป สิ่งนั้นได้แก่ เพลง หลายเพลงเคลื่อนย้ายจากคนสู่คน จากรุ่นสู่รุ่น หลายเพลงเปลี่ยนแปลงแต่เนื้อหาเดิมยังคงอยู่ หลายเพลงสูญหายไปตามคน แต่เพลงนั้นจะหายไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ามีใครได้ฟัง และความไพเราะยังคงอยู่หรือเปล่า

                ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ได้ฟังเพลงที่ไม่ได้อยู่ในยุคในสมัยเดียวกัน หลายบทเพลงมีความไพเราะแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแล้วก็ตาม(ไม่เชื่อถามคนยุคเดียวกับเพลงดูสิ อิอิ)

                ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ – ศิลปินที่บันทึกเสียงในช่วง ปี 2521 ชุดที่โด่งดังน่าจะเป็นชุด “กุหลาบเวียงพิงค์” ในชุดนี้หลายเพลงอาจจะไม่ได้เป็นเพลงบันทึกเสียงใหม่ แต่เป็นการหยิบหลายเพลงที่ “วงจันทร์ ไพโรจน์” เคยบันทึกเสียงไว้ เมื่อราว ปี 2500 อย่างเช่น เพลง กุหลาบเวียงพิงค์ สายน้ำไม่ไหลกลับ คนรักจาก สาวบ้านแพน อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็น วงจันทร์ ไพโรจน์ หรือแม้แต่ ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ ไม่เป็นที่กล่าวถึงเท่าไหร่นักเมื่อกล่าวถึงเพลงในยุคแรก อาจจะเป็นเพราะมีศิลปินที่มีชื่อเสียงมากกว่า อย่างเช่น ไพบูลย์ บุตรขัน ชะลอ ไตรตรองสอน พยงค์ มุกดา มงคล อมาตยกุล เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) สุรพล สมบัติเจริญ และอีกหลาย ๆ ท่าน นักร้องหญิงก็เป็น ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร 

รูปจาก http://www.maemaiplengthai.com

           สำหรับผมเองได้ฟังเพลงของลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ ราว ๆ ปี 2542 ด้วยเทปคลาสเซ็ตที่ปัจจุบันนี้เสียหายจนไม่สามารถเยียวยาได้ และผมคงไม่ได้ฟังอีก ถ้าไม่ใช่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ที่ทำให้รู้ว่า ยังคงมีเหลืออยู่ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ฟังกัน

                ไม่ได้โชคร้ายเท่าไหร่นัก ปัจจุบันเรายังคงมีร้าน “แม่ไม้เพลงไทย” ที่ยังอนุรักษ์เพลงเก่าไว้ให้เราฟัง ถึง 4 ชุดด้วยกัน (เว็บไซต์) จะสังเกตสักหน่อยจะพบว่า ก็เป็นคนรุ่นเก่า ๆ ที่แวะเวียนเข้าร้าน

                ถ้าเราเผยแพร่โดยไม่สนใจธุรกิจ คงทำให้ธุรกิจอยู่ไม่ได้ ถ้าเราไม่ได้สนใจล่ะ??

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.maemaiplengthai.com/webboard/viewthread.php?tid=773&extra=page%3D1

 

หมายเลขบันทึก: 265108เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2009 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มาร่วมยืนยันค่ะ
  • เพลงแม่ไม้มวยไทยไพเราะเกือบทุกเพลงค่ะ
  • นอกจากจะชอบร้องแล้ว
  • ยังมีความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้นทุกครั้งที่ได้ฟังและขับขานค่ะ
  • โดยเฉพาะ
  • "กุหลาบเวียงพิงค์ สายน้ำไม่ไหลกลับ "

สวัสดีครับ

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ 
  • แม้ว่าจะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเดียวกัน แต่ทั้ง วงจันทร์ ไพโรจน์และ ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ กลับมีมนต์เสน่ห์ที่ต่างกันครับ(ต้องลองฟังดู)
ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท