วัฒนธรรมหนุน จิตแพทย์ นักวิชาการร่วมมือผู้กำกับหนังค้นหาทางออกเรื่องบุหรี่ในหนังไทยในยุคใหม่แทนวิธีปล่อยหมอกควันบังตาในงานเสวนา “เรทหนังไทยในควันบุหรี่”


วัตถุประสงค์ของการเสวนาว่า เป็นพื้นที่สร้างความลงตัวเกี่ยวกับความรู้เรื่ององค์ความรู้ด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนต่อการเห็นภาพบุหรี่ในภาพยนตร์ ประการถัดมาแสวงหาเกณฑ์การปรากฏตัวของภาพบุหรี่ได้ในระดับไหน และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และประการสุดท้ายเพื่อการสร้างคู่มือในเกณฑ์การปรากฏตัวของภาพบุหรี่

 

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคมที่ผ่านมา โครงการวิจัยและพัฒนาเกณฑ์การปรากฏตัวภาพบุหรี่ในสื่อภาพยนตร์ ตามระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์  โดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ (ศจย.) บริษัท ไบโอสโคป จำกัด  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม และสมาพันธ์สมาคม ภาพยนตร์แห่งชาติ  จัดเสวนาวิชาการเพื่อขับเคลื่อนสังคม “เรทหนังไทยในควันบุหรี่” เวลา๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น.. ณ ห้องประชุมสำนักภาพยนตร์และวิดิทัศน์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำเสนอผลงานการสำรวจการปรากฏตัวของบุหรี่ในภาพยนตร์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวเกณฑ์ของการปรากฏภาพบุหรี่ในภาพยนตร์แต่ละระดับความเหมาะสมตามกฎหมายภาพยนตร์และวิดิทัศน์            

 

นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ทางสำนักภาพยนตร์และวิดิทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเอง ซึ่งมีหน้าที่ตรวจพิจารณาภาพยนตร์ต่างๆที่จะเข้าฉายในบ้านเราตาม พรบ.ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดทำเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆในการพิจารณาภาพยนตร์ ดังนั้นทาง สวช.เอง จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ภาคนโยบายเอง ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาคประชาชนและเยาวชน  เพื่อเป็นกลไลในการจะพัฒนาแนวทางสร้างภาพยนตร์ไทยของเรา ให้เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น 

 

นายอิทธิพล ปรีติประสงค์ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเสวนาว่า เป็นพื้นที่สร้างความลงตัวเกี่ยวกับความรู้เรื่ององค์ความรู้ด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนต่อการเห็นภาพบุหรี่ในภาพยนตร์  ประการถัดมาแสวงหาเกณฑ์การปรากฏตัวของภาพบุหรี่ได้ในระดับไหน และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง  และประการสุดท้ายเพื่อการสร้างคู่มือในเกณฑ์การปรากฏตัวของภาพบุหรี่

 

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่าในประเทศไทย มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ ปีละสองล้านคน  แม้จะลดลงปีสองแสนคนและมีผู้สูบใหม่เรื่อยๆ ทำให้ปริมาณผู้สูบในประเทศไทยไม่ได้ลดลงนัก เมื่อ ๒๕๔๖ องค์การอนามัยโลก Tobacco Free Fashion Action จากตรงนั้นก็ได้เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับบุหรี่เมื่อยุค 40 -50 บริษัทบุหรี่ยังไม่ตระหนักถึงโทษของบุหรี่ โดยมีการใช้หมอ พยาบาลเป็นพรีเซนเตอร์ ว่าสูบแล้วปลอดภัยอย่างไร และที่สำคัญในขณะนั้นมีการจ้างให้ในฮอลลีวูด บ.บุหรี่มีการจ้างดารา พระเอก นางเอก ๑๐ คนสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ สูบบุหรี่ในภาพยนตร์ อาทิ แกรรี่ ครูเปอร์ , เติร์ด โบคาร์ท และซิลเวสเตอร์ สตอโลนได้ รับเงิน ๕ แสนเหรียญสหรัฐให้มีฉากสูบบุหรี่  หรือ จากบริษัท ซุปเปอร์แมนภาคสอง ก็รับเงินจาก บริษัท มาโบโร่ให้มีโฆษณาแฝงในภาพยนตร์ในฉากยกรถบุหรี่ทุ่ม ใน ปี ๒๕๔๒ คุณกร ทัพพะรังสี พยายามผลักดันกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อปี ๒๕๔๔ กฎออกมาว่าไม่ให้มีฉากบุหรี่ในทีวี ซึ่งหมายความว่าในประเทศไทยมีมีการตระหนักก่อนองค์การอนามัยโลกเสียอีก WTO ร่วมมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกรณรงค์ให้ฮอลลีวูดมีฉากสูบบุหรี่ลดลง โดยมีข้อเสนอ

·       จัดให้มีเรตติ้ง หนังมีการสูบบุหรี่

·       Spot รณรงค์ลดการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังฉายหนังเรื่องที่มีการสูบบุหรี่

·       ผู้สร้าง ดารา ประกาศว่าไม่ได้รับเงินจากบ.บุหรี่

·       การมีฉากสูบบุหรี่ เท่าที่จำเป็น หรือเป็นฉากประวัติศาสตร์

ปี ๒๕๕๑ รัฐบาลอินเดีย มีคดีการห้ามมีฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ เนื่องจาก บ.บุหรี่ฟ้องศาล ตอนนี้คดีอยู่ในชั้นศาล ยังไม่ตัดสิน หลังมีการฟ้อง ดาราบอลลีวูดเริ่มมีการสูบบุหรี่ลดลง การสูบบุหรี่ในหนังมีอิทธิพลทำให้วัยรุ่นมีการสูบบุหรี่

นอกจากยังเปิดเผยว่า เหตุผลอันดับแรกที่ทำให้เด็กอเมริกาเริ่มสูบบุหรี่ คือ เลียนแบบภาพยนตร์ และดารายอดฮิต ๑๐ อันดับแรกสูบบุหรี่ในหนังทุกคน หากเราสามารถลดจุดนี้ลงไปได้สังคมไทยก็จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง โดยของผู้สูบในประเทศไทยผู้ชายอายุเฉลี่ย ๑๘ ปีของคนสูบบุหรี่ สำหรับผู้หญิงนั้น คือ ๑๙ ปี และ ในการที่จะเป็นคนติดบุหรี่ ๖ ต่อ ๑๐ ติดมาก่อนอายุ ๑๘ ปี

ซึ่งโดยส่วนตัว การมีบุหรี่ในหนังนั้น มีได้เท่าที่จำเป็นตามเนื้อเรื่อง เพื่อความสมจริงหากจำเป็น แต่ไม่ใช่ว่ามีพร่ำเพรื่อประเภทคิดอะไรไม่ออกก็ให้สูบบุหรี่ไว้ก่อน อย่างนี้ก็ดูว่าไม่เหมาะสม เพราะการที่เด็กๆได้เห็นการสูบบุหรี่บ่อยๆ ในหนัง ทำให้เกิดความรู้สึกว่าใครๆก็ทำกัน จริงอยู่แม้ว่าในชีวิตจริงเราอาจเห็นคนสูบบุหรี่ทั่วไป แต่การสูบบุหรี่ของนักแสดงโดยเฉพาะนักแสดงนำในหนังมีอิทธิพลมากพอที่จะกระตุ้นให้ผู้ชมที่เป็นเยาวชนเกิดความอยากลองขึ้นได้

 

ข้อมูลการสำรวจโดยบริษัท ไบโอสโคป เกี่ยวแนวโน้มการปรากฏตัวของบุหรี่ในหนังไทยและเทศในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา พบว่า จากหนังไทยที่ทำรายได้สูงสุด ๕ อันดับแรก ปี ๒๕๔๕ – ๒๕๕๑ รวมศึกษาภาพยนตร์ไทยทั้งสิ้น ๔๒ เรื่องพบว่ามีบุหรี่ปรากฏในฉากจำนวน ๒๑ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๕๐รวมพบบุหรี่ทั้งหมด ๘๑ ครั้งเฉลี่ยเรื่องละ ๓.๘๕ ครั้ง

สำหรับหนังต่างประเทศที่เข้าฉายในไทยจำนวน ๓๕ เรื่องมีบุหรี่ ๑๙ เรื่อง คิดเป็นร้อยละคิดเป็นร้อยละ ๕๔.๓  รวมพบบุหรี่ทั้งหมด ๔๑ ครั้งเฉลี่ยเรื่องละ ๒.๑๕ ครั้ง

โดยข้อมูลที่น่าสนใจหนึ่งพบว่าในหนังไทยนั้นผู้ที่เป็นผู้ใช้บุหรี่นั้นเป็นบุหรี่ถูกนำเสนอโดย นักแสดงประกอบ มากที่สุดคือ ๓๖ ครั้ง ซึ่งเป็นตัวละครที่ไม่ได้มีบทบาทต่อเรื่อง ส่วนนักแสดงนำ และ นักแสดงรอง มีปริมาณพอๆ กันคือ ๒๑ ครั้ง และ ๑๗ ครั้ง เป็นหนังอยู่ในระดับความเหมาะสมอายุ ๑๘+ มากที่สุดจำนวน ๘ เรื่อง อายุ ๒๐+ จำนวน ๗ เรื่อง อายุ ๑๕+ จำนวน ๔ เรื่อง สำหรับอายุ ๑๓ ปี จำนวน ๒ เรื่อง ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากหนังเทศภาพการใช้บุหรี่ถูกเสนอโดยนักแสดงนำมากที่สุดคือ ๑๘ ครั้ง โดยส่วน นักแสดงรอง และนักแสดงประกอบ มีปริมาณพอๆ กันคือ ๑๒ ครั้ง นักแสดงประกอบ ๑๑ ครั้ง ทั้งนี้เป็นการแสดงภาพบุหรี่จากนักแสดงที่มีบทบาท มีบริบททางลบ หรือ ตัวโกงของเรื่อง และเป็นหนังเรตระดับ PG13 ทั้งหมด ๑๘ เรื่อง มี ๓๘ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๙๕ ภาพยนตร์ระดับ R เพียงเรื่องเดียว

สาเหตุของการสูบบุหรี่นั้นเป็นเพียงแสดงบุคลิกภาพของตัวละคร  เพื่อคลายเครียด หรือใช้ซึ่งในบางครั้งก็ไม่จำเป็นจะต้องมีก็ได้ ผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการศึกษาเกณฑ์ของการมีภาพบุหรี่ในหนังไทยต่อไป

 

 

 

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกุล กล่าวว่า การศึกษาวิจัยที่พูดเรื่องของ แรงจูงใจหรือปัจจัย สิ่งเร้าเรื่องการสูบบุหรี่ของเด็กและ วัยรุ่นปัจจัย อยู่ ๓ ตัว

๑.      การเห็นบุหรี่ในสิ่งแวดล้อม

๒.      การเห็นและการคุ้นเคย การใช้ในครอบครัว

๓.      การเห็นและการคุ้นเคย คนรอบบ้าน ละแวกที่อาศัยอยู่

ดังนั้นปัจจัยที่ ๑ ค่อนข้างจะมีความสำคัญการเห็นที่เด็กเห็นบ่อยที่สุดในปัจจุบัน คือ ภาพยนตร์  เหตุผลในโทรทัศน์โดนตัดไปแล้วและ วัยรุ่นก็ชอบชม ภาพยนตร์มากกว่าสื่ออื่น การเริ่มสูบบุหรี่ในอายุที่น้อยมีอัตราการติด และ เลิกยาก ทางจิตวิทยา วัยรุ่น ๑๒-๑๔, ตอนกลาง ๑๕-๑๗และวัยรุ่นตอนปลาย๑๘-๒๐วัยรุ่นตอนต้นมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทั้งทางร่างกายและอารมณ์แสวงหาความเป็นตัวตน ดังนั้นทุกอย่างมีอิทธิพลต่อเด็กมาก

ตอนกลาง เด็กเริ่มมีความสามารถในการกลั่นกรอง คัดเลือก เข้าใจสถานการณ์ทางสังคม เข้าใจความแตกต่างในสังคม เข้าใจเรื่องที่เป็นนามธรรมทางสังคมที่แตกต่างกันได้

วัยรุ่นตอนปลายจะเป็นวัยที่จะสามารถใช้วิจารณญาณได้แล้วว่าจะเลือกและใช้ชีวิตเป็นแบบไหน จะเลือกเป็นผู้ใหญ่ประเภทไหน

สำหรับแรงขับดันที่มีอิทธิพลต่อเด็ก คือ

๑.      อยากเป็นผู้ใหญ่ อยากให้ผู้ใหญ่ยอมรับว่าเป็นผู้ใหญ่

๒.      Idol

๓.      สื่อ

                        และตั้งข้อสังเกต ไว้ว่าเราควรจะป้องกันเรื่อง โฆษณาแฝงในสื่อภาพยนตร์ซึ่งในขณะนี้ในประเทศไทยอาจจะยังเดินทางไปไม่ถึงขั้นนั้นแต่ว่าหากได้แลกเปลี่ยน  โดยหลักการควรมีคู่มือในการทำงานเพื่อเป็นเกณฑ์และแนวปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจนมากขึ้น ในฐานะนักจิตวิทยาการปรากฏของภาพและความถี่ของการปรากฏ ลักษณะการปรากฏควรสอดคล้องกับเรตติ้ง ๑๓ ปีไม่ควรปรากฏภาพบุหรี่ชัดเจนสำหรับเรตติ้งอื่นอาจจะต้องใช้เวลามาคุยกัน

 

นายพิชย  จรัสบุญประชา ตัวแทนเยาวชนทำหนังสั้น กล่าวว่า ในฐานะวัยรุ่น กล่าวว่า กิจการที่บ้านเป็นโรงเรียนอนุบาล ก่อนกลับมีการเปิดหนังให้เด็กดู เด็กกลับบ้านทำท่าทางเหมือนสูบบุหรี่ ซึ่งน่าจะมาจากผู้ปกครองที่มารอรับมาสูบ ตนเองคิดว่าไม่น่าจะมาจากการดูภาพยนตร์แต่อย่างไร แต่หากเป็นวัยรุ่นตอนปลายซึ่งไม่ได้สูบบุหรี่หากเห็นฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ก็ไม่ส่งผลต่อการอยากสูบ แต่หากเป็นคนที่สูบอยู่แล้วก็อาจะกระตุ้นให้อยากสูบ โดยแสดงความคิดเห็นว่าหากจะมีภาพบุหรี่ คงต้องดูที่โทนของหนังมีบทสรุปในด้านไม่ดี เช่น เป็นมะเร็งปอด เช่น หมอเจ็บ, Constanstin ถ้าเห็นโทษก็สามารถทำได้ในทุกเรต   ภาพของการสูบไม่ดูเท่ห์เห็นบุหรี่แต่ไม่มีการสูบ ก็ควรดู เรตที่เหมาะสม

               

นายยงยุทธ ทองกองทุน นายกสมาคมผู้กำกับ กล่าวว่า ในวันนี้การรณรงค์ที่ต่อเนื่องเรื่องการสูบบุหรี่นี้มันสร้างค่านิยมใหม่ในสังคมเรื่องบุหรี่ ดังนั้น ในมุมของภาพยนตร์ คิดว่าเหมาะกับเนื้อหาที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคมไทยในปัจจุบัน คือ บางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องมี ก็ไม่ได้ยัดเยียดเข้ามา   แต่บางเนื้อหาที่ความรับรู้ของเราว่ามีโอกาสที่จะสูบบุหรี่ ก็มีไปตามความสมจริง  หนังอย่างข้อมูลในอดีตอย่างมหาวิทยาลัยเหมือนแร่ซึ่งในยุคนั้นคนใช้แรงงานในเหมืองสูบกัน ดังนั้นก็เป็นความสมจริงของเนื้อเรื่อง  และอีกประการหนึ่งคือเรื่องของจิตสำนึกซึ่งคนทำหนังสามารถช่วยกันสร้างจิตสำนึกได้ หรือ กำหนดเป็นไปในเชิงจริยธรรมหรือในทางกลับกันการเปิดเผยตัวของดารานักแสดงที่ไม่สูบบุหรี่ก็น่าจะเป็นผลดีมากยิ่งขึ้น คิดว่าควรการนำประเด็นเรื่องบุหรี่มาเป็นประเด็นพิจารณาเรตติ้ง เพราะการจำกัดพื้นที่ไว้ ทำให้โอกาสน้อยลง แต่จริงๆแล้วคิดว่ารัฐบาลควรกำหนดให้ บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดให้โทษไปเลย จะตัดปัญหามากกว่า จะได้ต้องมารณรงค์ตามหลัง ซึ่งบางเรื่อง บางวิธีการไม่ค่อยได้เรื่อง  ถ้าเงื่อนไขทางกฎหมายและสังคมเป็นแบบปัจจุบัน เสนอให้อิงไปกับการจัดเรตติ้ง คือให้มีภาพของบุหรี่ได้ใน เรท ๑๓ ขึ้นไป เพราะเด็กเล็กๆพร้อมที่จะเลียนแบบในเชิงพฤติกรรม ดังนั้น อาจเห็นได้ภายใต้เงื่อนไขว่าให้เห็นผล หรือภายใต้คำตักเตือน

 

ด้านนายปรัชญา  ปิ่นแก้ว กล่าวว่า ข้อสังเกตหนึ่งในการทำงานของภาพยนตร์นั้นไม่มีผั้สร้างผู้กำกับมานั่งคิดถึงพิษภัยของบุหรี่เป็นหลัก และธรรมชาติก็พร้อมจะปฏิเสธหากมีการมีสั่งหรือห้าม ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว  คือจะให้หนังแสดงเห็นภัยบุหรี่ จะทำได้จริง ๆ หรือไม่ คนทำหนังเป็นการทำตามบริบททางสังคม ไม่ได้ชี้นำสังคม เช่น อดีตสูบเท่ห์ อยากให้ตัวละครเท่ห์ต้องสูบบุหรี่ แต่ปัจจุบันบริบททางสังคมเปลี่ยนไป คงไม่ใช่เสนอให้ทำ Spot รณรงค์การงดสูบบุหรี่ อายุเท่าไหร่ก็ได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น กรุงเทพบังคับสวมหมวกกันน๊อค ฉากขี่จักรยานยนต์ในกรุงเทพต้องสวมหมวกกันน๊อคไม่เช่นนั้นไม่สมจริง หากเปลี่ยนเป็นขี่รถในต่างจังหวัดอาจจะไม่สวมหมวกบ้าง ก็ดูจริงเพราะชีวิตจริงเป็นแบบนั้น ดังนั้นเรื่องบุหรี่ก็เช่นเดียวกันหากมาเพื่อสนับสนุนความสมจริงและจำเป็นต้องมีก็อาจจะต้องให้มี แต่ในฐานะผู้กำกับหากจะกำหนดว่าเป็นเรตติ้งไหนอายุเท่าไร่นั้นไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน

 

นายชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง  สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เพิ่มเติมว่า  หากมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างให้เกณฑ์เรื่องบุหรี่เข้าไปเป็นกฎหมายก็จะช่วยให้เราสกรีนภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีบุหรี่มากได้  เพราะเมื่อมีภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะเข้ามาฉายในบ้านเราก็จะต้องบังคับตามกฎหมายไทย รวมถึงเรื่องการปรากฏตัวของบุหรี่ด้วย  เพราะหากมีการณรงค์กันในภาพยนตร์ไทยกันเองเป็นเพียงจรรยาบรรณของคนในวงการ แต่ภาพยนตร์ต่างประเทศเขาไม่ได้ทำตามด้วยเพราะไม่ใช่กฎหมายที่เขาต้องทำตาม เป็นการปิดโอกาสภาพยนตร์ทั้งเรื่องความสร้างสรรค์

หมายเลขบันทึก: 265003เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2009 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท