พัฒนาการการก่อตั้ง พรพ.


การดำเนินการให้เกิดเป็นสถาบันที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยนั้น ต้องคำนึงคุณค่าของงานที่ทำ ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

เมื่อวานได้มีโอกาสร่วมรับฟังการบรรยายจากคุณหมออนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และพี่ต้อย(ดวงสมร) ในหัวข้อ พัฒนาการการก่อตั้งสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) จัดโดย โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ(HITAP) ซึ่งเป็นองค์กรภาคีของสวรส. ภารกิจหลักของHITAP คือการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพที่ครอบคลุมถึงยา เครื่องมือแพทย์ หัตถการ รวมถึงนโยบายสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (การส่งเสริม ป้องกันโรค ทั้งส่วนบุคคลและสังคม โดยมีการทำงานอย่างเป็นระบบ) ซึ่ง HITAP ดำเนินการมาเกือบ 3 ปี และได้จัดประชุมภายในองค์กรเพื่อกำหนดทิศทางของโครงการ และได้เชิญ ผอ.พรพ. มาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับพัฒนาการก่อเกิด พรพ. ว่ามีประสบการณ์อย่างไร เพื่อที่ทาง HITAP จะได้เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ความเป็นสถาบันเพื่อบริหารจัดการอย่างเป็นอิสระทางวิชาการและได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล

คุณหมออนุวัฒน์ให้ข้อคิดที่ดีว่า การดำเนินการให้เกิดเป็นสถาบันที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยนั้น ต้องคำนึงคุณค่าของงานที่ทำ  ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและตรวจสอบว่างานที่เราทำอยู่ไม่ได้ไปซ้ำกับใคร คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (identify users ให้ชัดเจน) ต้องหา position ตัวเองให้เจอ จะทำอย่างไรให้เป็นสถาบันที่มีการยอมรับจากทุกโรงพยาบาล พี่ต้อยเสริมว่าในช่วงแรกๆของพรพ. ทำงานหนักและเหนื่อยมาก ท้อแต่ไม่ถอย; ช่วงแรก พรพ.ไปที่โรงพยาบาลบางแห่ง ไม่ต้อนรับ ต้องกลับมาก่อน แต่ก็พยายามกลับไปอีกครั้ง จนปัจจุบันได้รับการยอมรับจากทุกโรงพยาบาล หากจะมีการนำเสนอหน่วยงานต่อสาธารณะ ต้องออกไปพบเจอผู้คน ส่วนของสื่อสารมวลชนจะช่วยได้มาก นอกจากนั้นการจัด HA forum ช่วยได้มากที่ทำให้ผู้คนรู้จัก พรพ. นอกจากนั้นยังต้องดูว่ามี connection อะไรบ้างที่คอยช่วยให้คำปรึกษาในการดำเนินการ เพราะขั้นตอนการออกเป็นองค์การมหาชนไม่ได้ดำเนินการง่ายนัก......

ข้อเสนอที่มีต่อ HITAP : ควรทำ future scenario ว่าเมื่อดำเนินการครบสามปีจะเตรียมความพร้อมและวางแผนการดำเนินงานต่างๆ ให้บรรลุสู่ความเป็นสถาบันที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปอย่างไร (ในรูปแบบของการออก พรก. พรบ. มูลนิธิ บริษัทเอกชน หรือเป็นโครงการที่มีการร่วมลงทุนระหว่าง Funding agency เช่น สวรส. สสส. กระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งต้องมีการถอดบทเรียนการดำเนินการของตัวอย่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ เช่น สปสช. สสส. สช. โรงพยาบาบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พรพ. แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทตัวเอง (R2R : วิจัยแล้วนำไปใช้ประโยชน์)

จรวยพร ศรีศศลักษณ์

26 พค. 52

หมายเลขบันทึก: 263413เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2009 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท