Admin. Journal Club 28: จุดเริ่มต้นสู่ผลลัพธ์


Admin. Journal Club : จุดเริ่มต้นสู่ผลลัพธ์

 

จุดเริ่มต้นของเวที Admin. Journal Club

          สืบเนื่องจากตั้งแต่ 16 มีนาคม 2550 หลังจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของคณะแพทยศาสตร์ ท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มีแนวคิดในการสร้างองค์กรที่มีคุณภาพ    มิใช่เพียงองค์กรแพทย์ และองค์กรพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงองค์กรสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่   เภสัชกร, นักเทคนิคการแพทย์, นักกายภาพบำบัด, นักรังสีวิทยา, นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ และองค์กรนักบริหาร ซึ่งเป็นที่รวมของบุคลากรที่มีส่วนในการบริหารจัดการ ขับเคลื่อนคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

          ประกอบกับงานใหม่ที่ได้รับมอบหมาย คือ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล จึงนำแนวคิด “Book Brief” ที่ได้รับประสบการณ์จากการศึกษาดูงานจาก บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)   ที่สร้างความภาคภูมิใจให้คนในองค์การที่นำองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาแบ่งปันให้เพื่อนร่วมงานจากแนวคิด “Book Brief” สู่การต่อยอด ณ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยท่านคณบดีเปิดโอกาสให้จัดเวที (Administration Journal Club) เนื้อหาตั้งแต่องค์ความรู้ในการบริหารงาน   องค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านวิชาชีพ รวมทั้งธรรมะเพื่อการบริหาร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อยอดทางความคิดซึ่งกันและกัน ยังผลสู่การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ   ก่อเกิดความภาคภูมิใจของผู้นำเสนอ และผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการเรียนทางลัด ประหยัดเวลาเรียนรู้

          เพื่อสอดรับกับนโยบาย 4 องค์กรคุณภาพ องค์กรนักบริหารจึงเริ่มต้น ณ เวที Admin. Journal Club ทุกวันศุกร์ 08.00 – 09.00 น. ณ ห้องประชุมทองจันทร์ฯ อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

 

ผลลัพธ์ของเวที Admin. Journal Club

          จากศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2550 จนถึงวันที่ 21 มกราคม 2552 รวม 74 ครั้ง

          หลายบทความเกิดประโยชน์ในการนำสู่การปฏิบัติงาน ส่วนบทความที่ผู้เขียนอ่านเรื่อง “องค์การในศตวรรษที่ 21 จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร” ประเด็นแลกเปลี่ยนที่สำคัญ คือ “ผู้บริหารระดับสูงทำงานเป็นทีม” (Team work at the Top) คำถามคือ การประชุมไม่พร้อมเพรียงจะนำไปสู่ “ผู้บริหารระดับสูงทำงานเป็นทีม” ได้อย่างไร ผลลัพธ์ของบทความนี้ นำไปสู่การวิจัยในงาน (Routine to Research) เรื่อง รูปแบบและช่องทางการสื่อสารของผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2550” ส่งผลในการเรียนรู้ คือ ท่านคณบดีใช้กลยุทธ์ในการกระตุ้นให้ทำงานวิจัย เพื่อประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร โดยการประชุมใหม่ เข้าได้กับคุณค่าหลักหรือค่านิยมหลัก (Core Value) ของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ที่ว่าตัดสินใจโดยหลัก Management by Fact (การนำข้อมูลจริงมาตัดสิน)    หรือ Evidence Base Approach (การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลวิชาการ หรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

          งานวิจัยนั้นมีเสน่ห์ให้ค้นหาคำตอบ ขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่าน พัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

          การนำเสนอเรื่องยิ้ม ของน้องจุฑาทิพย์ แตงตรง ในเวที Admin. Journal Club ได้ขยายผลสู่โครงการโรงพยาบาลยิ้ม โดยการนำรูปบุตรของบุคลากรมาทำโปสเตอร์ และติดในโรงพยาบาลเป็นการสร้างบรรยากาศในองค์กรอีกแบบ เพราะคุณพ่อคุณแม่เดินผ่านรูปลูกตนเองก็อดยิ้มไม่ได้ รวมทั้งยังนำรูปบุคลากรและลูกมาทำเป็นวีดีทัศน์ในโครงการโรงพยาบาลยิ้ม มาเปิดตอนประชุมบุคลากร และเปิดในโครงการพัฒนาองค์การ (OD)

          ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่ปิดเวที Admin. Journal Club ลงชั่วคราว จากเดิมทุกวันศุกร์ 08.00-09.00 น. เพื่อหาเวลาใหม่ที่เหมาะสม คาดว่าจะเปิดเวทีอีกครั้งประมาณเดือนมิถุนายน 2552

 

หมายเลขบันทึก: 263266เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท