การทำงานกับคนหูหนวก


การทำงานกับคนหูหนวก

ประสบการณ์การทำงานกับครูหูหนวก

                    

จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับครูหูหนวก  ตามโครงการทดลองการสอนแบบสองภาษา:  สำหรับเด็กหูหนวกนั้นพบว่า   ตัวเราเองต้องเรียนรู้วิถีชีวิตและศึกษาวัฒนธรรมของคนหูหนวก   เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเพราะว่าคนหูหนวกนั้นใช้ภาษามือในการสื่อสารกันเป็นภาษาที่    1  ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่  2   ครูปกติที่สอนร่วมกันจะต้องสามารถใช้ภาษามือไทยได้ดีเนื่องจากต้องใช้ภาษามือในการสื่อสารที่ถูกต้องตรงประเด็นเพื่อทำความเข้าในเนื้อหาวิชาที่สอน   ที่สำคัญก็คือครูหนวกอ่านงานเขียนภาษาไทย ให้เข้าใจอย่างชัดเจนนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา     ดังนั้นครูปกติที่สอนร่วมกันต้องตีความเนื้อหาการสอน  หรือขั้นตอนการสอนต่างๆออกมาเป็น  storyboard    และอธิบายให้ครูหนวกทำความเข้าใจแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด  และทดลองการสอนก่อนที่จะนำไปสอนนักเรียนทำให้นักเรียนได้รับความรู้อย่างมากที่สุด    เพื่อนำพากันไปสู่ครูมืออาชีพทั้งครูหูปกติและครูหูหนวก    การทำงานร่วมกันนั้นเราควรให้ความจริงใจ   ทำงานอย่างจริงจัง  ให้การยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน     ให้โอกาสในการเรียนรู้ซึ่งกันก่อเกิดให้การทำงานแบบทีมที่ดีซึ่งต้องมีความอดทน  อดกลั้น   เสียสละ  ให้อภัย  และทุ่มเทกำลังกายกำลังใจเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายดำเนินไปอย่างราบลื่น   บรรลุเป้าหมายและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง.......

  เป็นพ่อแม่ของลูกๆหลายสิบคน

  นายวิโรจน์    แก้วไกร  ครูหูหนวกโรงเรียนโสตฯนครศรีฯ     เป็นคนหูหนวกตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในชีวิตชีวิต   

     ประชุมวางแผน  กำหนดบทบาทของครู/นักเรียนในการปฏิบัติงานต่างๆ

   ถ่ายทอดสู่นักเรียน  เพื่อฝึกให้เขาเป็นผู้นำคนหูหนวกภายในองค์กรของตนเองก่อน    

                     

หมายเลขบันทึก: 263037เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2009 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท