หนอนบำบัด (Maggot Therapy)
หนอนบำบัด คือ การใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อ เริ่มมีในยุโรปและอเมริกา และนิยมไปทั่วโลกกว่า 1000 ปี สมัยก่อนใช้รักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม
ปัจจุบันมีคำถามพื้นฐานเกิดขึ้นว่า ในการบำบัดด้วยหนอนจะรู้สึกขยะแขยงหรือไม่ บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยและญาติ จะมีความหวาดกลัวหรือไม่
แนวคิดหลัก : คือ การให้ความรู้ การทำความเข้าใจ โดยนำหลักการมาอธิบายดังนี้
การใช้ "หนอน" ทำลายเนื้อตาย (Necrosis) คือ หนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosisให้เป็นของเหลว หลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย เพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่า เอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Bacteria ในบาดแผลและทำให้แผลสะอาด ลดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ กระตุ้นให้เกิดการสร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)
ข้อบ่งชี้ให้กับแผลต่างๆ ดังนี้
ประโยชน์ในการใช้ "หนอนบำบัด"
Maggot Therapy เข้ามาในสถาบันบำราศนราดูรโดยนายแพทย์บัญชร ศิริพงศ์ปรีดา เริ่มใช้ที่ตึก 7/3 กับ Case HIV+ĉ Bed-sore ต่อมานำมาใช้ที่ตึกศัลยกรรม ICU (ผู้ป่วยที่ on ET tube นานๆ มี Bed-sore) แรกๆ พยาบาลรู้สึกขยะแขยงและหวาดกลัว ไม่กล้าเข้า Case Debridement และ Dressing ต่อมามีการ Conference กันมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน นำมาใช้อย่างกว้างขวาง
โดย ณัฐนันท์ หาญณรงค์