มาดูพระประจำเดือนเกิดกันบ้างนะ


พระประจำเดือนเกิด

 

 

 

ตามปฏิทินจันทรคติไทย


เดือน 1 หรือ เดือนอ้าย   มักเริ่มในเดือนพฤศจิกายน  หรือธันวาคม มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 1

พระประจำเดือนอ้าย
ปางปลงกัมมัฏฐานหรือปางชักผ้าบังสุกุล
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ซ้ายทรงธารมะกร (ไม้เท้า) ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไปข้างหน้า ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบที่พระเพลา (ตัก)

 ********************

เดือน 2 หรือ  เดือนยี่  มักเริ่มใน เดือนธันวาคม  หรือมกราคม  มี 30 วัน คือ   ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2   ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 2


พระประจำเดือนยี่
ปางชี้มาร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระพักตร์  ชี้นิ้วพระหัตถ์ไปข้างหน้า


********************

เดือน 3 มักเริ่มใน  เดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์  มี 29 วัน   คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 3
วันสำคัญในเดือนนี้คือ วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาจะเลื่อนไปยังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

พระประจำเดือนสาม
ปางประทานโอวาท หรือ
ปางแสดงโอวาทปาติโมกข์
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทพระทับ (นั่ง)    ขัดสมาธิ    พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ไว้เสมอพระอุระ (อก)

********************

เดือน 4 มักเริ่มในเดือน กุมภาพันธ์หรือมีนาคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงแรม 15 ค่ำ   เดือน 4
หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชา   ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

พระประจำเดือนสี่
ปางนาคาวโลก
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืน พระหัตถ์ขวาห้อยเยื้องมาข้างหน้า พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงตามปกติ บางแบบพระหัตถ์ซ้ายห้อยลงมาข้างหน้า พระหัตถ์ขวาห้อยลง เอี้ยวพระวรกายผินพระพักตร์ เหลียวไปข้างหลัง บางแบบยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ

********************

เดือน 5 มักเริ่มในเดือน มีนาคมหรือเมษายน มี 29 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 5

พระประจำเดือนห้า
ปางคันธารราฏ หรือ ปางขอฝน (นั่ง)
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทพระทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ทรงผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำฝน) พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยาขอฝน พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระเพลา (ตัก)บางแบบหงายพระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนพระชานุ (เข่า)

********************

เดือน 6 มักเริ่มในเดือน  เมษายนหรือพฤษภาคม  มี 30 วัน  คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 6


พระประจำเดือนหก
ปางมารวิชัย
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี พระปางนี้นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

*******************

เดือน 7 มักเริ่มในเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน  ปกติมี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 7 ยกเว้นปีที่มีอธิกวารซึ่งเดือนนี้จะมี 30 วัน   (เพิ่มวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 อีกวันหนึ่ง)
หากปีใดมีอธิกมาส  (เดือน 8 สองหน)
วันวิสาขบูชา   ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7

พระประจำเดือนเจ็ด
ปางเรือนแก้ว
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทพระทับ (นั่ง) ขัดสมาธิในเรือนแก้ว พระหัตถ์ซ้ายวางหงานบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) บางแบบพระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) บางแบบอยู่ในอิริยาบถขัดสมาธิเพชรในเรือนแก้ว


********************

เดือน 8 มักเริ่มในเดือน  มิถุนายนหรือกรกฎาคม มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 8หากปีใดมีอธิกมาส จะมีเดือน 8 สองหน เดือน 8 หลัง นิยมเขียนว่า "8-8"
             วันสำคัญในเดือนนี้คือวันอาสาฬหบูชา ปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส   วันอาสาฬหบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8-8 ถัดจากวันอาสาฬหบูชาตรงกับ  วันเข้าพรรษา

พระประจำเดือนแปด
ปางปฐมเทศนา หรือ ปางแสดงธรรมจักร
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ บางแบบประทับ (นั่ง) ห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบพระหัตถ์ซ้ายประคองพระหัตถ์ขวา หรือพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือชายจีวร

********************

เดือน 9 มักเริ่มใน  เดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม มี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 9

พระประจำเดือนเก้า
ปางภัตกิจ
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาหย่อนลงในบาตร เป็นกิริยาเสวย

********************

เดือน 10 มักเริ่มใน เดือนสิงหาคมหรือกันยายน มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 10

พระประจำเดือนสิบ
ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยายืน พระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบประสานพระหัตถ์ด้วย พระบาทซ้ายทรงเหยียบหลังพระบาทขวา เป็นกิริยากดพระบาท

********************

เดือน 11 มักเริ่มใน  เดือนกันยายนหรือตุลาคม มี 29 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงแรม 14 ค่ำ เดือน 11

วันสำคัญในเดือนนี้คือวันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

พระประจำเดือนสิบเอ็ด
ปางลีลา
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทยืนยกส้นพระบาทขวา พระหัตถ์ขวาห้อยในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย (บางตำนานว่าพระหัตถ์ขวา) ยกเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า บางแบบจีบนิ้วพระหัตถ์ บางตำราใช้ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์เป็นพระประจำเดือนนี้ 
 

********************

เดือน 12 มักเริ่มในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน มี 30 วัน คือตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 12
วันสำคัญในเดือนนี้  คือ  วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

พระประจำเดือนสิบสอง
ปางประทานอภัย (นั่ง)
พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบทประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองเบน ไปข้างหน้าเล็กน้อย บางแบบเป็นพระอิริยาบถยืน

***************************************

ที่มา -::-ธรรมะไทย

 

หมายเลขบันทึก: 262525เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท