ราชวงศ์หมิง จากเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของปักกิ่ง ตอนที่ 2


ราชวงศ์หมิงผู้สรางปักกิ่ง

(ต่อจากตอนที่ 1)

 

11. เหตุการณ์ที่  tumupu – The Tumupu Incident

                ฤดูใบไม้ร่วง ปี 1449 อีเซิน (Esen) ผู้นำมองโกลเผ่าออยีแรต (Oirat) เข้าตีเมืองต้าถ่ง(Datong) มณฑลซานซี  สมัยจักรพรรดิหยิงจง(Yingzong) (หรือ จู ซีเจิ้น Zhu Qizhen, 1427-1464) อำนาจการสั่งการเป็นของขันทีหวางเจิน (Wang Zhen) ตัดสินใจจัดทัพเข้าต่อสู้ 5 แสนคน  ท่ามกลางการคัดค้านของขุนนาง  เมื่อยกทัพไปถึงเมืองต้าถ่ง  หวางเจิ้นได้ชวนฮ่องเต้ไปเที่ยวชมเมืองเว่ยจู(Weizhou)บ้านเกิดของหวางเจิ้น  เพื่ออวดอำนาจและศักดา  ให้กองทัพของออยีแรตก็สามารถเข้าทำลายกองทัพได้ที่ Tumupu  ขุนนางก่วงเย้ จางปู และจิงหยวนถูกฆ่าตาย  และจักรพรรดิถูกจับเป็นเชลย หวางเจินถูกค้อนตีจนตายโดยแม่ทัพฟานจง(Fan Zhong) เหตุการณ์นี้แสดงถึงความเสื่อมถอยของราชวงศ์หมิง

12. ปกป้องปักกิ่ง (Defending Beijing)

                หลังจากอีเซินจับตัวจักรพรรดิหยิงจงแล้วได้เคลื่อนทัพประชิดปักกิ่งในปี 1449  ได้รับการต้อต้านจาก หยูเชียน(Yu Qian) เจ้ากรมกลาโหม  เขาได้แจ้งจักรพรรดิหยิงจงถึงการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ  องค์ชายจูชีหยู (Zhu Qiyu) อนุชาพระองค์เป็นจักรพรรดิไท่จง (Daizong, 1428 -1457)  และโจมตีศัตรูด้วยปืนใหญ่  กองทัพมองโกลเสียขวัญถอยร่นไปเหนือกำแพง                

ในฉากเป็นการบัญชารบของจักรพรรดิไท่จงและหยูเชียนที่กำแพงพระนคร 

 

13. ตำหนักใต้กลับคืนสู่อำนาจ (Return from the Southern Palace)

เดือนตุลาคม 1941 พวกมองโกลออยีแรตได้ส่งจักรพรรดิหยิงจงกลับสู่ปักกิ่ง ฮ่องเต้จัดพระราชวังด้านใต้เป็นที่ประทับอยู่ภายใต้จักรพรรดิไท่จง แต่แทนที่จะเสียลสะอำนาจ  กลับรอโอกาสด้วยการสมคบกับชีเฮง(Shi Heng) และฉูยูเจิ้น(Xu Youzhen)  จักรพรรดิไท่จงเกิดล้มป่วยหนักในเดือนกุมภาพันธ์ 1457 ฉีเหิง(Shi Heng)และฉางยี้ (Zhang Yue) ได้เปิดประตูเมืองด้วยการกระแทกของท่อนซุงขนาดใหญ่ เรียกว่า เหตุการณ์พายุทะลายประตู จักรพรรดิหยิงจงเสด็จพระราชสมภพอีกครั้ง ได้ฆ่าหยูเชียน(Yu Qian) ปลดจักรพรรดิเป็นตำแหน่งองค์ชาย สั่งรื้อสุสานที่ไท่จงสร้างไว้เพื่อตนเองเสีย เมื่อไท่จงตายได้นำไปฝังไว้ที่เขาด้านตะวันตกได้รับเกียรติในฐานะองค์ชาย  ทรงครองราชย์ต่อมาอีก 8 ปีก็สวรรคตในปี 1464 พระศพถูกฝังไว้ที่สุสานหยุงหลิงของราชวงศ์หมิง

14. สนมจีกับโอรสจูยุ่ถัง (ตั้งชื่อเอง)

จูเจียนเซิน (Zhu Jianshen) โอรสจูยู่ถังได้เสด็จพระราชสมภพเป็นจักรพรรดิเสี้ยนจง(Xianzong, 1446-1487) ใช้นามรัชศกว่า เฉิงฮั่ว (Chenghua) เป็นเรื่องสนมจี(Ji)ที่ถูกนำมาจากมณฑลกวางสี เกิดตั้งครรภ์กับฮ่องเต้และต้องปิดบังซ่อนบุตรไม่ให้สนมวัน(Wan)เห็นเพราะมีกฎว่าสนมจะต้องถูกนำไปทำแท้ง  ได้มอบลูกชายให้นายประตูจางหมิน(Zhang Min)ดูแล เมื่ออายุครบ 6 ขวบจางหมินจึงได้ข้ไปกราบทูลให้ทราบ 

                เป็นฉากที่จักรพรรดิวิ่งไปที่สวนตะวันตกเพื่อพบโอรสจูยู่ถัง(Zhu Youtang)ที่พรากไปถึง 6 ปี ต่อมาสนมจีและจางหมินถูกฆาตรกรรม  หลังจากที่โอรสจูยู่ถังขึ้นครองราชย์ก็ได้ยกฐานะสนมจี ขึ้นอยู่ในฐานะพระจักรพรรดินีและนำศพมาฝังข้างกับจักรพรรดิเสี้ยนจงที่สุสานเมาหลิงกับบูรพกษัตริย์ราชวงศ์หมิง

15. หงจื้อผู้รื้อระบบใหม่ (The Hong Zhi Resurgence)

                จูยู่ถัง เสด็จพระราชสมภพหลักการสิ้นพระชนม์จักรพรรดิเสี้ยนจงในปี 1487 นามว่าเสี้ยวจง (Xiaozong, 1469-1505) มีชื่อรัชศกว่า หงจื้อ(Hongzhi)  เนื่องจากชีวิตส่วนพระองค์ในวัยเด็กไม่ได้รับความสุขและถูกทารุณกรรมจากแม่ พระองค์เป็นจักรพรรดิผู้ที่มีความเอาใจใส่ในความทุกข์สุขราษฎร จะยกเว้นภาษีผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ภัยเกิดภิบัติเสมอ  ทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดขุนนางที่ทุจริต ลดอำนาจของขันทีที่เป็นภัยใหญ่และปฏิรูปการปกครอง ทรงมัธยัสถ์ใช้จ่ายอย่างประหยัด  เป็นที่รู้จักในนามหงจื้อผู้รื้อระบบใหม่ 

 

                ในฉากแสดงการจัดทำทะเบียนที่ดินส่วนบุคคลในปี 1488  ขุนนางในวังหลวงมีการนำนักร้องนักแสดงมาขับร้องตามข้อเสนอของ หม่าเวินเชง(Ma Wencheng)องคมนตรีฝ่ายซ้าย  แต่ถูกจักรพรรดิขับไล่ออกไป  เสด็จสวรรคตปี ค.ศ. 1505 พระศพเชิญไปบรรจุที่สุสานไท่หลิง (tailing)

16. ฮ่องเต้เจ้าสำราญ (A Preposterous Emperor)

จูโฮ่วเจา (Zhu Houzhao,1490-1521) เสด็จพระราชสมภพเมื่อมีอายุเพียง 16 ชันษา  เป็นจักรพรรดิหวูจง(Wuzong ) ใช้นามรัชศกว่า เจิ้งเต๋อ(Zhengde) ได้รับการพะเน้าพะนอมาแต่เด็ก  รักความสำราญไม่ค่อยออกว่าราชการ มักจะออกไปปลอมพระองค์เสด็จเที่ยวนอกวังอยู่เสมอ บางครั้งไม่กลับปักกิ่งนานเป็นเดือนเป็นปีทีเดียว กอปรกับทรงมีขันทีหลิวจิ่น (Liu Jin )ที่คอยยุยงสนับสนุนคอยหาผู้หญิงมาบำเรอมอมเมาฮ่องเต้แล้วรวบอำนาจไว้  หลิวจิ่น เหิมเกริมถึงกับวางแผนจะก่อกบฏเพื่อจะเป็นฮ่องเต้เสียเอง สุดท้ายหลิวจิ่นถูกจับได้โดนแล่เนื้อเป็นชิ้นๆ   แต่หลังจากหลิวจิ่นตายพระองค์ก็หันมาโปรดปรานนายทหารชื่อเจียงปินแทนและมักจะเสด็จประพาสไปนอกวังเหมือนเดิม  กลับเข้าวังก็เก็บตัวไม่ออกว่าความ  เอาแต่หาความสำราญ หลังจากเสด็จสวรรคตบรรจุที่สุสานคังหลิน

(ในฉากเป็นการแสดงภาพ การหาความสำราญกับหญิงสามัญชน)

17. ไห่หยุ่ยผู้สูญไปจากราชสำนัก (Hai Rai Dismissed from Office)

องค์ชายจูโฮ่วชง (Zhu Houcong ) ขึ้นครองราชย์ ค.ศ.1521 นาน 45  ปี เฉลิมพระนามว่าจักรพรรดิซื่อจง (Shizong,1508-1567) ใช้ศักราชว่าเจียจิ้ง (Jiajing)  ช่วงหลังของหารครองราชย์ได้ให้ความเชื่อถือในขุนนางสอพลอชื่อ หยานซง (Yan Song) และมีความเลื่อมใสในลัทธิเต๋า  ตลอกเวลา 20 ปี ไม่เคยติดต่อกับราชสำนัก  มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการรุกรานจากภายนอกมีความรุนแรง

ไห่ หยุ่ย (Hai Rui) ผู้ตรวจราชการการคลังยูนนาน ถวายฎีกากล่าวโทษเหยียนซง ทูลให้พระองค์เลิกงมงายและฟุ่มเฟือย  การฝักใฝ่ในเต๋านั้นใช้งบประมาณจากท้องพระคลังเป็นจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้าง ทำให้เกิดการฉ้อฉล สร้างความยากจนอย่างกว้างขวาง และปลุกระดมชาวบ้านด้วยคำว่า เจี่ยจิง แปลว่า ทุกครอบครัวมีแต่ความว่างเปล่าและไม่มีเงิน ทำให้จักรพรรดิโกรธมากสั่งจำคุกไห่หยุ่ย

  จักรพรรดิซื่อจงถูกฝังที่สุสานย่งหลิง  ฉากที่แสดงเป็นจักรพรรดิซื่อจงแสดงความฉุนเฉียวที่อ่านบันทึกของไห่หยุ่ย

18. บรรณาการจากมองโกลเผ่าอันดา (Anda Pays Tribute)

ในช่วงที่จูไซ่โห้ว (Zhu Zaihou)  สมภพเป็นจักรพรรดิมู่จง (Muzong,1569-1572)  พวกมองโกลเผ่าอันดา (Anda) ได้เกิดความขัดแย้งภายใน  เมื่อข่านอันดาได้ยกคู่หมั้นหลานชายไปให้คนอื่น  ปาฮันนาชี (Pahannachi) หลานของข่านอันดาโกรธจัดและหนีไปอยู่กับจักรวรรดิหมิง  จักรพรรดิมู่จงได้ให้การต้อนรับด้วยการจัดงานเลี้ยงและมอบตำแหน่งแม่ทัพ(Commander)  ข่านอันดาขอให้จักรพรรดิมู่จงสังหารหลายชายของเขาเพื่อแก้แค้นให้กับชาวมองโกล  พร้อมกันข่านอันดาได้วางกำลังก่อกวนตามแนวชายแดน และฟื้นฟูการซื้อขายผ้าไหมและม้า  ด้วยเหตุนี้  จักรพรรดิมู่จง จึงต้องสร้างความเข้มแข็งตามแนวชายแดน  และเป็นความสำเร็จในการครองราชย์ 6  ปี

ในฉากเป็นการต้องรับด้วยงานเลี้ยงของจักรพรรดิมู่จงสำหรับ ปาฮันนาชี (Pahannachi)

19. จางจิ้วเจิ้งปฎิรูป (The Reform of Zhang Juzheng)

จูอี้จุน (Zhu Yijun) ขึ้นครองราชย์ในปี 1572 เป็นจักรพรรดิเสินจ้ง (Shenzong, 1563-1620) ใช้นามรัชศกว่าวั่นลี่ (Wanli) เนื่องจากมีอายุเพียง 9 ขวบผู้สำเร็จราชการ  จึงมีองคมนตรีจางจิ้วเจิ้ง (Zhang Juzheng) ที่ต้องสู้กับความขัดแย้งของสังคมที่รุนแรง  จางจิ้วเจิ้งได้เสนอแนวทางปฏิรูปหลายแนวทาง  เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของบรรดาขุนนาง  การตรวจตราที่ทำกิน  การเชื่อสัมพันธ์กับมองโกลเผ่าอันดา และทั้งการต่อต้านการรบกวนของโจรสลัดญี่ปุ่น  เขาให้กำลังใจสนับสนุนแก่ผู้ทำงานที่เกิดมรรคผล  ได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง สามารถแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีได้สำเร็จทำให้มีเงินเข้าพระคลังเป็นจำนวนมากจากการปฏิรูป  แต่หลังจากที่จางจิ้วเจิ้งตายแล้ว  กลุ่มต่อต้านได้กลับมามีอำนาจเหนือสิ่งที่ปฎิรูปมาเวลา 10 ปีก็ไม่เหลืออะไรอีก

                20. เสินจ้งผู้สร้างสุสานจนเงินหมด (twenty years of non-government)

                จูอี้จุน (Zhu Yijun) หรือจักรพรรดิเสินจ้ง  เอาแต่เที่ยวเตร่สนุกสนานไม่เอาใจใส่ดูแลการเมือง  ไม่เคยเห็นว่าตลอดเวลา 20 ปีขุนนางได้ก้าวหน้าในการฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัชสมัยพระองค์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  พระองค์ก็มัวแต่สร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต  สร้างสุสานดิงหลิงที่ต้องใช้แรงงานทหารกว่า 3 หมื่นคนต่อวัน  ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปี  ใช้เงิน 8 ล้านตำลึงเงิน  เมื่อเงินในกำปั่นหมดก็ให้ขันทีเก็บภาษีที่ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง

ตอนที่ 1 ฉากที่ 1-10

ตอนที่ 2 ฉากที่ 11-20

ตอนที่ 3 ฉากที่ 21-26

หมายเลขบันทึก: 262289เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2009 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท