ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
นาย ทรงวุฒิ พัฒแก้ว ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน พัฒแก้ว

เสนอแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของคนใต้


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นประธานคณะกรรมการ และนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังมอบนโยบายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่า เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เศรษฐกิจพิจารณาโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board) วงเงินลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ในพื้นที่ อ. ท่าศาลา อ.สิชล และ อ. นาบอน จ.นครศรีธรรมราช แบ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่และท่าเรือ 20,000-30,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการสร้างถนน ไฟฟ้า รถไฟ ประปา และสาธารณูปโภคอื่น เนื่องจากมีความสำคัญต่อภาคการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โครงการพัฒนาต่างๆตามแผนพัฒนาภาคใต้อยู่ในระหว่างการศึกษา และการเตรียมขอออกใบอนุญาตก่อสร้าง

เสนอแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของคนใต้

เรื่องโดย : คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)

สำนักข่าว ประชาธรรม 16 มีนาคม 2552

ที่มา http://www.newspnn.com/V2008/detail.php?dataid=6132&code=r1_16032009_01&mode=th

 

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (สิงหาคม 2551) และกำลังรอการพิจารณาอนุมัติโดยรัฐบาลสศช.ได้กำหนดแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ของแผนพัฒนาภาคใต้ไว้ 4 ประการดังนี้

1) การเชื่อมโยงฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทยด้วยระบบคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางระนอง ชุมพร ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เส้นทางกระบี่ ขนอม ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง และเส้นทางสตูล สงขลา ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างเพื่อกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

2) การพัฒนาแบบผสมผสานในพื้นที่ฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกับศิลปวัฒนธรรมระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย และเตรียมความพร้อมของพื้นที่สำหรับรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคต

3) พัฒนาแนวพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันเป็นพื้นที่เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว และการพักผ่อนที่มีมาตรฐานระดับโลก

4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ชายแดน สถานการณ์ของการผลักดันแผนพัฒนาภาคใต้ล่าสุด คือการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2552 รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบแผนโดยมีนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นประธานคณะกรรมการ และนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังมอบนโยบายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่า เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เศรษฐกิจพิจารณาโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Sea Board) วงเงินลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ในพื้นที่ อ. ท่าศาลา อ.สิชล และ อ. นาบอน จ.นครศรีธรรมราช แบ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่และท่าเรือ 20,000-30,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการสร้างถนน ไฟฟ้า รถไฟ ประปา และสาธารณูปโภคอื่น เนื่องจากมีความสำคัญต่อภาคการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โครงการพัฒนาต่างๆตามแผนพัฒนาภาคใต้อยู่ในระหว่างการศึกษา และการเตรียมขอออกใบอนุญาตก่อสร้าง

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) มีความเห็นต่อร่างแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน และแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ดังนี้

1. การใช้ตัวเลขรายได้ประชาชาติในการชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ว่ามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปีต่ำกว่าระดับประเทศ ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี (ปี พ.ศ. 2550) ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญของการขยายการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้โดยใช้ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมฝั่งอ่าวไทย และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน กำหนดทิศทางการพัฒนาภาคใต้ การใช้ตัวชี้วัดดังกล่าวไม่ได้พิจารณาว่ามีการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงหรือไม่ รายได้ของแต่ละครอบครัวเมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพแสดงถึงการมีชีวิตที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมีสุขภาวะที่ดีหรือไม่

2. การกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ได้กำหนดจากบนลงล่างถึงแนวทางการแข่งขันการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่มีโครงสร้างการผลิตของประเทศสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมีและพลาสติก อุตสาหกรรมยางยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่ได้พิจารณาจากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของภาคใต้และพัฒนาต่อยอดของอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับผลผลิต โดยอยู่บนพื้นฐานของการกระจายได้รายได้ให้กับท้องถิ่น

3. ภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่สำคัญที่สุดของภาคใต้ โดยมีสัดส่วนสูงประมาณร้อยละ 36 สาขาเกษตรหลักที่สำคัญคือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล และประมง และภาคใต้มีการขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆของประเทศ (ปี พ.ศ. 2550) ในขณะที่การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของภาคใต้ทั้งฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย ดังปรากฏในวิสัยทัศน์ของทุกจังหวัดในภาคใต้ ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ที่จะสร้างการกระจายรายได้ และแก้ไขปัญหาความยากจนจึงอยู่ที่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ และพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมดังที่ สศช.ได้มีแผนไว้ แต่ปัญหายังไม่มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างครบวงจร และมีที่ตั้งของอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

4. สศช. ได้รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าภาคใต้มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศที่หลากหลาย แต่มีปัญหาสภาพดินเสื่อมโทรมจากการปลูกพืชชนิดเดียว มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรง ชายฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงมาถึงนราธิวาสมีความยาวกัดเซาะสูงถึง 157 กม. หรือร้อยละ 24 ของความยาวชายฝั่งทั้งหมด ดังนั้นการมีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก และมีการสร้างระบบการคมนาคมขนส่ง ท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยไม่ศึกษาความจำเป็นและความเหมาะสมอย่างแท้จริง จะส่งผลกระทบให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างรุนแรง กล่าวคือทำลายป่าชายเลน หญ้าทะเล ปะการัง บริเวณชายฝั่งอันดามัน และมีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณฝั่งอ่าวไทย ตลอดจนทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าบกที่อุดมสมบูรณ์บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช เพื่อสร้างเขื่อนเป็นแหล่งเก็บน้ำ ฐานทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นทุนทางสังคมที่สร้างเศรษฐกิจของท้องถิ่นและประเทศจะถูกทำลายในที่สุด

5. การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของภาคใต้ของ สศช. ปรากฏชัดว่า ภาคเกษตรกรรม และภาคท่องเที่ยว ฐานความรู้ ภูมิปัญญาของชุมชนภาคใต้ซึ่งอยู่บนฐานของระบบนิเวศป่าฝนเขตร้อนเป็นจุดแข็งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ ผนวกกับจุดแข็งทางวัฒนธรรม ศาสนา และประเพณี ที่ทำให้ชุมชนภาคใต้เข้มแข็งพึ่งตนเอง และสร้างเศรษฐกิจชุมชนและเงินออมของชุมชนกระจายทั่วไปภาคใต้ ซึ่งพึ่งพิงกับทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ หากมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่ป่าต้นน้ำถึงทะเล โดยที่ชุมชนไม่ได้ร่วมตัดสินใจจะเป็นการทำลายชุมชนและฐานทรัพยากรกลายเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นในภาคใต้ ในขณะที่ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน เป็นจุดอ่อนที่สำคัญของภาคใต้

6. แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (Eastern Sea Board) ได้เป็นบทเรียนที่สำคัญต่อคนไทยทั้งประเทศทั้งด้านการแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ไม่มีการดำเนินการวางผังเมืองที่สร้างหลักประกันความปลอดภัยแก่ประชาชน แผนที่วางไว้ ดังเช่น ที่ตั้งของชุมชน 25 ชุมชนอยู่ใกล้บริเวณพื้นที่ภาคอุตสาหกรรม ผลกระทบเกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางอากาศจากการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาพร้อมกัน จากจำนวนโรงงานรวม 1,720 โรงงาน มลพิษของเสียอันตรายปรมาณ 1,046 ตัน/วัน (มกราคม 2550) มลพิษทางน้ำพบว่ามีค่าแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม มีค่าสูงกว่า 240,000 หน่วย ส่วนคลองที่รับน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม มีปริมาณของแข็งละลายในน้ำสูงมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปริมาณน้ำเสียลงทะเลพบว่ามีมีโลหะหนักในสิ่งมีชีวิตเกินค่ามาตรฐาน เป็นต้น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทางกาย ซึ่งพบว่ามีอัตราการป่วยของผู้เป็นมะเร็งในอัตราที่สูงมาใน อ.เมือง จ.ระยอง

ผลกระทบดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีมาตรป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ทันสถานการณ์และมีประสิทธิภาพ และมีการป้องกันไว้ล่วงหน้าอย่างดีพอ จนเป็นเหตุให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ทั้งๆที่ควรมีการดำเนินก่อนหน้านั้นนานแล้ว เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้คนใต้ไม่มีความมั่นใจใดๆเลยที่ภาครัฐจะบริหารจัดการได้ดี เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้แบบเดียวกับภาคตะวันออก และก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อรากฐานทางวัฒนธรรมและฐานทรัพยากรของภาคใต้เช่นเดียวกับภาคตะวันออก

จากการสอบถามของ สศช. พบว่าความต้องการของประชาชนและชุมชนในภาคใต้ที่

ต้องการมากที่สุดคือการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในขณะที่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมหนักประชาชนมีความต้องการปานกลาง และต้องการน้อยสำหรับการท่องเที่ยวสถานบันเทิง ดังนั้นกำหนดแผนพัฒนาที่ยั่งยืนจึงต้องมาจากความต้องการของชุมชนภาคใต้ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 57 ได้รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลของแผนพัฒนาและโครงการพัฒนาของรัฐ และมาตรา 87 กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการพัฒนาระดับท้องถิ่น และระดับชาติ.

 

 

หมายเลขบันทึก: 261244เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท