สาเหตุและกระบวนการการปฏิรูประบบราชการ


หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance)
ระบบราชการเกิดขึ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบต่างๆ และระบบราชการก็เจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาวะสังคม เศรษฐกิจของชุมชน ประเทศ และเริ่มมีอุปสรรค ปัญหาขึ้น รัชกาลที่5 จึงได้ปฏิรูประบบราชการขึ้นและระบบราชการก็พัฒนา ปรับปรุง ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2540  กลไกของระบบราชการไม่สามารถเตือนภัยวิกฤตเศรษฐกิจได้ ประเทศได้รับความเสียหายอย่างมาก จึงเริ่มมีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้ง นักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาปัญหาของระบบราชการและเสนอไว้ ดังนี้ ระบบราชการมีขั้นตอนมาก การปฏิบัติงานล่าช้า มีกฎ ระเบียบมากและล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมมัย มีความย่อหย่อนในโครงสร้าง กระบวนการทำงาน และกรอบความคิดของการปฏิบัติงาน และข้าราชการขาดความกระตือรือร้น ขาดสำนึกและความรับผิดชอบต่อประเทศและประชาชน ทำงานโดยยึดกฎหมาย มีทัศนคติเชิงลบกับการทำงาน การเล่นพรรคเล่นพวก ถืออาวุโสเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงความสามารถเท่าที่ควร มีการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกของตน รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2540-2544 และแปลงเป็น “แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ”โดยเริ่มจากการการใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ข้อ กำหนดเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย “การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542”  ต่อมารัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายการปฏิรูประบบราชการไทยต่อรัฐสภาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 โดยสานการปฏิรูประบบราชการต่อ เพื่อให้เกิดผลบังคับใช้ทางกฎหมาย จึงตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่5) พ.ศ.2545 โดยมีเป้าหมาย คือ การจัดส่วนราชการใหม่ การบูรณาการภารกิจเข้าด้วยกัน การปฏิบัติราชการไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานที่วัดได้ ในมาตรา3/1 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่5) พ.ศ.2545 ได้กำหนดแบบแผนการปฏิบัติราชการที่จะทำให้เกิดการบริหารราชการที่ดี พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศ โดยยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance)และประโยชน์สุขของประชาชน ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546-2550 เป็นแผนแม่บทในการปฏิรูประบบราชการ และในการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรมก็ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่พ.ศ.2544 เป็นต้นมา หน่วยงานราชการทุกแห่งได้ปฏิบัติงานตามวิธีการบริหารจัดการภาครัฐใหม่ แต่ยังไม่บรรลุผลเท่าที่ควร การเร่งสร้างความเข้าใจ การพัฒนาระบบงานเพื่อให้ปฏิบัติได้จริง จึงเป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้การบริหารจัดการภาครัฐใหม่ประสบความสำเร็จมากขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26124เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2006 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เขียนได้ดีครับ

ขอบคุณมากค่ะ จะพยายามเขียนต่อไป เพื่อช่วยเผยแพร่และพัฒนาองค์กร แต่ก็ต้องการคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์มากค่ะ

เชิญประชุมครับ พิชัย http://gotoknow.org/pichai3
เป็นบทความที่ดีมากครับ ผมได้ความรู้เยอะเลย

ฝากไว้ให้ช่วยกันกระตุ้นสื่อเพื่อสังคมหน่อยนะครับ โปรดอ่านที่ ขอความเห็นจากทุกๆท่าน เรื่องการตีแผ่วงจรธุรกิจน้ำเมา แล้วไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อที่บอร์ดของทีวีบูรพา ตามหัวข้อที่แนะนำนะครับ ขอขอบคุณ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท