องค์กรแห่งการเรียนรู้ คืออะไร ?


เป็นคำนิยามที่เข้าใจง่าย เห็นภาพพจน์ และสามารถนำมาแปรเป็นปฏิบัติได้ดังนี้

         เป็นคำนิยามที่เข้าใจง่าย เห็นภาพพจน์ และสามารถนำมาแปรเป็นปฏิบัติได้ดังนี้

         ผมได้จากหน้า 24 ของหนังสือ “องค์กรแห่งการตื่นรู้ : Awakening Organization” เขียนโดย ดร.เกศรา รักชาติ (กุมภาพันธ์ 2549) กรุงเทพธุรกิจบิซบุ๊ค เจ้าของผู้พิมพ์โฆษณา ราคา 245 บาทครับ

         เนื้อหาของหนังสือเป็นประสบการณ์จริงจากบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

คำสำคัญ (Tags): #lo
หมายเลขบันทึก: 26079เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ชัดเจนครับท่าน รอง.วิบูลย์ วันหน้าจะหามา "ศึกษา" บ้างครับ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณครับ....                                                     
ดรีม "คนเขียนข่าว"
ดีจังเลยคะ  ดิฉันจะไปหามาศึกษาบ้าง

อ่านแล้วครับ ทำให้เห็นว่าสิ่งที่ควรทำในองค์กรเป็น Living company ต้องควรทำอะไรบ้าง

ลองอ่านฉบับย่อดูนะครับ

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  ดูจะเป็น  Common  Sense  แต่หากไม่ใช่  Common  Practice

ว่ากันว่า  “องค์กรเป็นสิ่งมีชีวิต”  มีการเกิด  มีการเจริญเติบโต  มีการจากไป  ถือเป็นเรื่องปกติของวัฎจักรการมีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิต องค์กรแห่งการเรียนรู้”  หรือน่าจะเรียกอีกอย่างว่า

 องค์กรที่มีการเรียนรู้”  ทั้งนี้  เป็นเพราะหากเราต้องการให้ชีวิตขององค์กรเรามีการเติบโตและประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนแล้ว  สมาชิกในองค์กรต้องมีการเรียนรู้ทุกอย่างจากซึ่งกันและกัน

การเรียนรู้จากซึ่งกันและกัน  ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา  (Common  Sense) แต่ถามหน่อยเถอะว่าทำกันได้หรือเปล่า  เพราะมันเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา  หรือ  ไม่ใช่สิ่งที่เป็น  Common  Practice

ของหลาย ๆ คน  และหลาย  ๆ องค์กรเอาเสียเลย  หากเราไม่มีความตั้งใจจริง (Commitment)  ที่จะทำ  เรามาเรียนรู้  ลงมือทำ  เพื่อต่อยอดให้กันและกัน  กันเถอะ

            อันดับแรก  ในบ้านหลังหนึ่งหรือในองค์กร ๆ หนึ่ง  หากการพูดคุยกัน  การติดต่อสื่อสารการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในบ้าน  ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  พูดคุยกันไม่กี่คำ  นับคำได้  คนในบ้าน

ไม่อยากพูดไม่อยากเสวนากัน  อยู่กันแบบห่างเหิน  แบบตัวใครตัวมัน  ต่างคนต่างคิด  มีความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Trust)  ของผู้คนในบ้านอยู่ในระดับต่ำ  สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของ

องค์กร  เพราะฉะนั้น  ควรทำอย่างไรดี ??

            คำตอบง่าย ๆ คือ  การเรียนรู้วิธีการพูดจากัน  ฟังกันให้มากขึ้น  สะท้อนความรู้สึกนึกคิดซึ่งกันและกัน  และขณะที่สนทนากัน  ต้องไม่รีบด่วนสรุปในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง  ถ้าคนในองค์กรหมั่น

ฝึกฝนอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาที่มีการพูดคุยกัน  ไม่ว่าจะคุยกันในกลุ่มเล็ก ๆ หรือกลุ่มใหญ่ ๆ หรือคุยกันในที่ประชุม  ก็จะทำให้สมาชิกในองค์กรมีความเข้าใจซึ่งกันและกันในระดับลึก  และการพูดคุยกัน

จะมีความหมายต่อกันมากยิ่งขึ้นเท่านี้ก็จะส่งผลให้บรรยากาศในที่ทำงานน่าอยู่  น่าทำงานมากขึ้น ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ  ทุ่มเทในการทำงาน  เพื่อให้ได้  Results  อย่างที่เราต้องการร่วมกัน

            อันดับสอง  ในบ้านหลังเดียวกัน  ถ้าสมาชิกมีการเรียนรู้และเข้าใจถึงกรอบความคิด(Mental  Models)  ของตัวเอง  ของเพื่อนร่วมงาน  ของเจ้านาย  หรือ  ของลูกน้อง  ตลอดจน

เข้าใจกรอบความคิดของลูกค้า  คู่ค้า  และผู้เกี่ยวข้องในทุกส่วน  ว่าเพราะอะไร  เพราะเหตุใด  และทำไมแต่ละคนถึงมีความคิดเช่นนั้น  โดยการถามไถ่  ก็จะทำให้เราได้เข้าใจความคิดของตนเองและของผู้อื่น

ได้ดีขึ้น  ทำให้เกิดความเข้าใจกันได้มากขึ้น  ส่งผลให้เราสามารถปรับเปลี่ยนความคิดของเราให้สามารถคิดนอกกรอบได้  (Paradigm  Shift)  และที่สำคัญคือ  เราจะรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าการที่เราต้องการ

ได้ผลลัพธ์  (Results)  อย่างที่เราต้องการร่วมกันนั้น  จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยน  เรียนรู้  สิ่งที่เป็นกรอบความคิดของซึ่งกันและกัน  ไม่ใช่ยึดถือความคิดของใครของมันเป็นหลัก

            อันดับสาม  หากสมาชิกในบ้านมีการเรียนรู้ถึงการสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตัว  (Personal  Vision)การสร้างเป้าหมายส่วนตัว  ในการทำงานในแต่ละวัน  แต่ละอาทิตย์  ไปจนถึงมีการสร้าง  Personal

Vision  เกี่ยวกับงานอาชีพที่กำลังทำอยู่  ให้สอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์ขององค์กร(Corporate  Vision)  ก็จะทำให้เราทำงานได้บรรลุผลอย่างที่เราต้องการจริง ๆ

แต่ต้องไม่ลืมที่จะยึดถือเอาค่านิยมหลักขององค์กร  (Corporate  Values)  มาถือปฏิบัติด้วย  การมีPersonal  Vision  จะทำให้เราใฝ่เรียน  ใฝ่รู้  ทุ่มเท  ฝึกฝน  พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ๆ เพื่อที่จะได้เป็น

ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพของตนเอง  เมื่อเราเก่งและเป็นคนดีไปพร้อม ๆ กันจะส่งผลให้เราประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน  แน่นอนว่าองค์กรหรือบ้านเราก็จะเติบโตอย่างสวยงามไปในตัว

            อันดับสี่  สมาชิกทุกคนในบ้าน  ต้องมีการเรียนรู้ถึงการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  (Shared  Vision)  ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ของทีม  ของหน่วยงาน  หรือ  ขององค์กร  เพราะวิสัยทัศน์เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะกำหนดว่าอนาคตจะเดินไปในทิศทางใดด้วยกัน  ซึ่ง  Personal  Vision  ของสมาชิกในทีมจะต้องมีส่วนคล้ายคลึงกัน  มีความต้องการเหมือน ๆ กัน  และที่สำคัญ  ต้องสอดคล้องกับ  Corporate  Vision  ด้วย

ในจุดนี้จะทำให้เราเรียนรู้ว่า  ถ้าเราไม่เริ่มต้นจากการเข้าใจกรอบความคิด  (Mental  Models)  ของตนเองและผู้อื่น  หรือถ้าเรายังไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน  ไม่พูด  ไม่ฟังกัน  ยึดติดกับตัวเองเป็นหลัก  จะทำให้

ไม่เกิดการ  Shared  Vision  ได้

            อันดับห้า  เราต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันในทีม  (Team  Learning)  สมาชิกทุกคนในทีมเรียนรู้ร่วมกัน  เพื่อที่จะทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริงได้  และสมาชิกในทีมจะต้องมีความรู้สึกว่าทุกคนในทีมเป็นคนที่สำคัญหมด  เราจะช่วยเหลือ  เรียนรู้จากซึ่งกันและกัน  เราจะขาดใครคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้  มีการแลกเปลี่ยน  (Share)  สิ่งที่ทำสำเร็จ  สิ่งที่ผิดพลาด  โดยไม่มีการแทงกั๊ก  มีแต่ความบริสุทธิ์ใจ  โดยในใจยึดมั่นว่าเรา

กำลังทำเพื่อสิ่งที่เราต้องการร่วมกัน  ไม่เห็นแก่ตัว  ไม่ปิดบังซ่อนเร้น  และยึดกรอบความคิดแบบชนะ -  ชนะ(Think  win – win)  ว่า  ถ้าเพื่อนได้  เราก็ได้  ถ้าองค์กรได้  เราก็ได้  ทำได้อย่างนี้การเรียนรู้

ก็จะเกิดขึ้นในทีม

            อันดับสุดท้าย   ยุคนี้  สมาชิกในทีมต้องมีการเรียนรู้ในการมองภาพใหญ่ให้เป็น  ต้องมองให้ออกอย่ามองแต่หน้าตักตัวเอง  และมองให้เห็นความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง  ๆ ว่าเมื่อเกิดสิ่งหนึ่ง

สิ่งใดขึ้น  หรือเมื่อมีการกระทำใด ๆ เกิดขึ้น  ย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ เสมอ  เราเรียกว่า  Systems  Thinking  การเรียนรู้ที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ  ในองค์กรมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

เช่น  มีการพูดจากันแบบเปิดเผย  มีบรรยากาศที่เปิดกว้าง  (Openness)  พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  มีความเคารพต่อซึ่งกันและกัน   (Mutual  Respect)  มีความยึดมั่น  มุ่งมั่น  ต่อสิ่งที่

ได้ตกลงร่วมกัน  (Commitment)  มีความรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องการพูดหรือนำเสนอ  (Safe  to  take  risk)  ในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย  (OK  to  disagree)  ไม่มีเจ้านายหรือผู้มีอำนาจแบบเผด็จการ

(No  Dictators)  และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Trust)  ซึ่งกันและกัน เหล่านี้เป็นต้น  แนวความคิดดังกล่าวข้างต้นเป็นของ  Dr.  Peter  M.  Senge  ผู้เขียนหนังสือ

The  Fifth  Discipline  ซึ่งหากเราได้ใช้ความพยายามในการนำแนวคิดนี้มาปฏิบัติ  และหล่อหลอมทำให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร  ก็จะทำให้องค์กรมีสุขภาพกายและใจที่ดี  มีการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง  และยั่งยืนได้

ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ไม่สามารถเกิดได้ชั่วข้ามคืน  ไม่ใช่เป็น  Quick  Fix  Solution 

แต่สมาชิกขององค์กรจะต้องมีการคิด  มีการปฏิสัมพันธ์กัน  และทำงานร่วมกันในรูปแบบใหม่  (New  way  of  thinking , interacting , and  working  together)  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายหากทำได้ 

เชื่อว่าสมาชิกในองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้มีคุณภาพ  (Quality  of  Thinking)  ได้  และส่งผลให้การกระทำหรือการทำงานมีคุณภาพตามมา  (Quality  of  Actions)  เมื่อการทำงาน

มีคุณภาพย่อมทำให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพด้วย  (Quality  of  Results)  และแน่นอนที่สุด  ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในที่ทำงานย่อมมีคุณภาพตามมาด้วยเห็นไหมล่ะ  ฟัง ๆ ดูแล้วเหมือนจะเป็น  Common  Sense  หากแต่ไม่ใช่  Common  Practice  เอาซะเลย

อ่านแล้วครับ ทำให้เห็นว่าสิ่งที่ควรทำในองค์กรเป็น Living company ต้องควรทำอะไรบ้าง

ลองอ่านฉบับย่อดูนะครับ

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  ดูจะเป็น  Common  Sense  แต่หากไม่ใช่  Common  Practice

ว่ากันว่า  “องค์กรเป็นสิ่งมีชีวิต”  มีการเกิด  มีการเจริญเติบโต  มีการจากไป  ถือเป็นเรื่องปกติของวัฎจักรการมีชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิต องค์กรแห่งการเรียนรู้”  หรือน่าจะเรียกอีกอย่างว่า

 องค์กรที่มีการเรียนรู้”  ทั้งนี้  เป็นเพราะหากเราต้องการให้ชีวิตขององค์กรเรามีการเติบโตและประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนแล้ว  สมาชิกในองค์กรต้องมีการเรียนรู้ทุกอย่างจากซึ่งกันและกัน

การเรียนรู้จากซึ่งกันและกัน  ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา  (Common  Sense) แต่ถามหน่อยเถอะว่าทำกันได้หรือเปล่า  เพราะมันเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา  หรือ  ไม่ใช่สิ่งที่เป็น  Common  Practice

ของหลาย ๆ คน  และหลาย  ๆ องค์กรเอาเสียเลย  หากเราไม่มีความตั้งใจจริง (Commitment)  ที่จะทำ  เรามาเรียนรู้  ลงมือทำ  เพื่อต่อยอดให้กันและกัน  กันเถอะ

            อันดับแรก  ในบ้านหลังหนึ่งหรือในองค์กร ๆ หนึ่ง  หากการพูดคุยกัน  การติดต่อสื่อสารการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในบ้าน  ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  พูดคุยกันไม่กี่คำ  นับคำได้  คนในบ้าน

ไม่อยากพูดไม่อยากเสวนากัน  อยู่กันแบบห่างเหิน  แบบตัวใครตัวมัน  ต่างคนต่างคิด  มีความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Trust)  ของผู้คนในบ้านอยู่ในระดับต่ำ  สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของ

องค์กร  เพราะฉะนั้น  ควรทำอย่างไรดี ??

            คำตอบง่าย ๆ คือ  การเรียนรู้วิธีการพูดจากัน  ฟังกันให้มากขึ้น  สะท้อนความรู้สึกนึกคิดซึ่งกันและกัน  และขณะที่สนทนากัน  ต้องไม่รีบด่วนสรุปในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง  ถ้าคนในองค์กรหมั่น

ฝึกฝนอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาที่มีการพูดคุยกัน  ไม่ว่าจะคุยกันในกลุ่มเล็ก ๆ หรือกลุ่มใหญ่ ๆ หรือคุยกันในที่ประชุม  ก็จะทำให้สมาชิกในองค์กรมีความเข้าใจซึ่งกันและกันในระดับลึก  และการพูดคุยกัน

จะมีความหมายต่อกันมากยิ่งขึ้นเท่านี้ก็จะส่งผลให้บรรยากาศในที่ทำงานน่าอยู่  น่าทำงานมากขึ้น ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ  ทุ่มเทในการทำงาน  เพื่อให้ได้  Results  อย่างที่เราต้องการร่วมกัน

            อันดับสอง  ในบ้านหลังเดียวกัน  ถ้าสมาชิกมีการเรียนรู้และเข้าใจถึงกรอบความคิด(Mental  Models)  ของตัวเอง  ของเพื่อนร่วมงาน  ของเจ้านาย  หรือ  ของลูกน้อง  ตลอดจน

เข้าใจกรอบความคิดของลูกค้า  คู่ค้า  และผู้เกี่ยวข้องในทุกส่วน  ว่าเพราะอะไร  เพราะเหตุใด  และทำไมแต่ละคนถึงมีความคิดเช่นนั้น  โดยการถามไถ่  ก็จะทำให้เราได้เข้าใจความคิดของตนเองและของผู้อื่น

ได้ดีขึ้น  ทำให้เกิดความเข้าใจกันได้มากขึ้น  ส่งผลให้เราสามารถปรับเปลี่ยนความคิดของเราให้สามารถคิดนอกกรอบได้  (Paradigm  Shift)  และที่สำคัญคือ  เราจะรู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าการที่เราต้องการ

ได้ผลลัพธ์  (Results)  อย่างที่เราต้องการร่วมกันนั้น  จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยน  เรียนรู้  สิ่งที่เป็นกรอบความคิดของซึ่งกันและกัน  ไม่ใช่ยึดถือความคิดของใครของมันเป็นหลัก

            อันดับสาม  หากสมาชิกในบ้านมีการเรียนรู้ถึงการสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตัว  (Personal  Vision)การสร้างเป้าหมายส่วนตัว  ในการทำงานในแต่ละวัน  แต่ละอาทิตย์  ไปจนถึงมีการสร้าง  Personal

Vision  เกี่ยวกับงานอาชีพที่กำลังทำอยู่  ให้สอดคล้องหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์ขององค์กร(Corporate  Vision)  ก็จะทำให้เราทำงานได้บรรลุผลอย่างที่เราต้องการจริง ๆ

แต่ต้องไม่ลืมที่จะยึดถือเอาค่านิยมหลักขององค์กร  (Corporate  Values)  มาถือปฏิบัติด้วย  การมีPersonal  Vision  จะทำให้เราใฝ่เรียน  ใฝ่รู้  ทุ่มเท  ฝึกฝน  พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ๆ เพื่อที่จะได้เป็น

ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพของตนเอง  เมื่อเราเก่งและเป็นคนดีไปพร้อม ๆ กันจะส่งผลให้เราประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน  แน่นอนว่าองค์กรหรือบ้านเราก็จะเติบโตอย่างสวยงามไปในตัว

            อันดับสี่  สมาชิกทุกคนในบ้าน  ต้องมีการเรียนรู้ถึงการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน  (Shared  Vision)  ไม่ว่าจะเป็นวิสัยทัศน์ของทีม  ของหน่วยงาน  หรือ  ขององค์กร  เพราะวิสัยทัศน์เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะกำหนดว่าอนาคตจะเดินไปในทิศทางใดด้วยกัน  ซึ่ง  Personal  Vision  ของสมาชิกในทีมจะต้องมีส่วนคล้ายคลึงกัน  มีความต้องการเหมือน ๆ กัน  และที่สำคัญ  ต้องสอดคล้องกับ  Corporate  Vision  ด้วย

ในจุดนี้จะทำให้เราเรียนรู้ว่า  ถ้าเราไม่เริ่มต้นจากการเข้าใจกรอบความคิด  (Mental  Models)  ของตนเองและผู้อื่น  หรือถ้าเรายังไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน  ไม่พูด  ไม่ฟังกัน  ยึดติดกับตัวเองเป็นหลัก  จะทำให้

ไม่เกิดการ  Shared  Vision  ได้

            อันดับห้า  เราต้องมีการเรียนรู้ร่วมกันในทีม  (Team  Learning)  สมาชิกทุกคนในทีมเรียนรู้ร่วมกัน  เพื่อที่จะทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริงได้  และสมาชิกในทีมจะต้องมีความรู้สึกว่าทุกคนในทีมเป็นคนที่สำคัญหมด  เราจะช่วยเหลือ  เรียนรู้จากซึ่งกันและกัน  เราจะขาดใครคนใดคนหนึ่งไปไม่ได้  มีการแลกเปลี่ยน  (Share)  สิ่งที่ทำสำเร็จ  สิ่งที่ผิดพลาด  โดยไม่มีการแทงกั๊ก  มีแต่ความบริสุทธิ์ใจ  โดยในใจยึดมั่นว่าเรา

กำลังทำเพื่อสิ่งที่เราต้องการร่วมกัน  ไม่เห็นแก่ตัว  ไม่ปิดบังซ่อนเร้น  และยึดกรอบความคิดแบบชนะ -  ชนะ(Think  win – win)  ว่า  ถ้าเพื่อนได้  เราก็ได้  ถ้าองค์กรได้  เราก็ได้  ทำได้อย่างนี้การเรียนรู้

ก็จะเกิดขึ้นในทีม

            อันดับสุดท้าย   ยุคนี้  สมาชิกในทีมต้องมีการเรียนรู้ในการมองภาพใหญ่ให้เป็น  ต้องมองให้ออกอย่ามองแต่หน้าตักตัวเอง  และมองให้เห็นความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง  ๆ ว่าเมื่อเกิดสิ่งหนึ่ง

สิ่งใดขึ้น  หรือเมื่อมีการกระทำใด ๆ เกิดขึ้น  ย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ เสมอ  เราเรียกว่า  Systems  Thinking  การเรียนรู้ที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ  ในองค์กรมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

เช่น  มีการพูดจากันแบบเปิดเผย  มีบรรยากาศที่เปิดกว้าง  (Openness)  พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  มีความเคารพต่อซึ่งกันและกัน   (Mutual  Respect)  มีความยึดมั่น  มุ่งมั่น  ต่อสิ่งที่

ได้ตกลงร่วมกัน  (Commitment)  มีความรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องการพูดหรือนำเสนอ  (Safe  to  take  risk)  ในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย  (OK  to  disagree)  ไม่มีเจ้านายหรือผู้มีอำนาจแบบเผด็จการ

(No  Dictators)  และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  ต้องมีความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Trust)  ซึ่งกันและกัน เหล่านี้เป็นต้น  แนวความคิดดังกล่าวข้างต้นเป็นของ  Dr.  Peter  M.  Senge  ผู้เขียนหนังสือ

The  Fifth  Discipline  ซึ่งหากเราได้ใช้ความพยายามในการนำแนวคิดนี้มาปฏิบัติ  และหล่อหลอมทำให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร  ก็จะทำให้องค์กรมีสุขภาพกายและใจที่ดี  มีการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง  และยั่งยืนได้

ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ไม่สามารถเกิดได้ชั่วข้ามคืน  ไม่ใช่เป็น  Quick  Fix  Solution 

แต่สมาชิกขององค์กรจะต้องมีการคิด  มีการปฏิสัมพันธ์กัน  และทำงานร่วมกันในรูปแบบใหม่  (New  way  of  thinking , interacting , and  working  together)  ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายหากทำได้ 

เชื่อว่าสมาชิกในองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้มีคุณภาพ  (Quality  of  Thinking)  ได้  และส่งผลให้การกระทำหรือการทำงานมีคุณภาพตามมา  (Quality  of  Actions)  เมื่อการทำงาน

มีคุณภาพย่อมทำให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพด้วย  (Quality  of  Results)  และแน่นอนที่สุด  ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในที่ทำงานย่อมมีคุณภาพตามมาด้วยเห็นไหมล่ะ  ฟัง ๆ ดูแล้วเหมือนจะเป็น  Common  Sense  หากแต่ไม่ใช่  Common  Practice  เอาซะเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท