ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

คำบุพบท


หลักภาษาไทย

 

                        คำบุพบท

คำบุพบท คือ คำนำหน้านาม สรรพนาม หรือกริยาที่ทำหน้าที่อย่างนาม เพื่อเชื่อมคำนั้นๆ กับคำข้างหน้า เพื่อบอกว่านาม สรรพนาม หรือ กริยา ที่ทำหน้าที่ อย่างนามนั้นมีหน้าที่อะไร ขนิดของคำบุพบทมีดังนี้

๕.๑ นำหน้าบทที่บอกลักษณะเป็นเครื่องใช้ หรือมีอาการร่วมกันตามกัน หรือ เเเสดงอาการต่างๆ ได้เเก่คำ กับ ด้วย เพราะ ตาม ทั้ง เช่น  ทำกับมือ  เขียนด้วยปากกา  กล่าวโดยจริง  ทำเพราะหิว   สำเร็จเพราะความเพียร  เดินตามทาง  นอนทั้งเครื่องเเบบ เป็นต้น

๕.๒  นำหน้าบทบอกลักษณะผู้รับ เเละ เป็นความประสงค์ของบทหน้า ได้เเก่ คำ เเก่ เเด่ ต่อ เพื่อ สำหรับ เฉพาะ เช่น  พ่อให้เงินเเก่ลูก   เห็นเเก่ประเทศชาติ   มอบของขวัญเเก่ทหาร   ถวายเเด่เจ้านาย   ทูลฯเกล้าถวายเเด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ยื่นคำร้องต่อศาล   เเม่ทำเพื่อลูกๆ มีไว้สำหรับดู  ของนี้เฉพาะเด็ก เป็นต้น

๕.๓ นำหน้าคำบอกสถานที่ต้นทาง หรือต้นเค้า ได้เเก่คำ เเต่ ตั้ง จาก เช่น ผ้าไหมผืนนี้มาเเต่สุรินทร์  ต้นไม้เกิดเเต่เเผ่นดิน นางฟ้ามาจากสวรรค์ เป็นต้น

๕.๔ นำหน้าบทบอกสถานที่ ได้เเก่คำ ใต้ ใน เหนือ บน ข้าง ริม เช่น ของใต้ตู้ เสื้อในกระเป๋า ความซื่อสัตย์เหนือคำสาบาน อาคารหลังนี้สร้างบนที่สูง อย่าวิ่งข้างทางบ้านพักริมน้ำ เป็นต้น

๕.๕ นำหน้าคำบอกเวลา ได้เเก่คำ เมื่อ ใน ณ ตั้งเเต่ จน กระทั่ง สำหรับ เฉพาะ เช่น เมื่อเช้า เมื่อวันที่ ๕ ณ วันที่ ๙ เเต่ช้า ตั้งเเต่เช้า จนมืด กระทั่งบ่าย สำหรับเดือนหน้า เฉพาะวันหยุด เป็นต้น

๕.๖ นำหน้าคำบอกความเป็นเจ้าของ ได้เเก่คำ เเห่ง ของ ใน เช่น องค์พระประมุขเเห่งชาติ ดินเเดนเเห่งปราสาทหิน ชีวิตของชาวนา วาสนาของคนจน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

บุพบทบางคำทำหน้าที่อื่นได้อีก เช่น

เพราะ

ทำหน้าที่ีกริยา เช่น เสียงปี่พระอภัยมณีเพราะเหลือเกิน

 

ทำหน้าที่ีวิเศษณ์ เช่น พระอภัยมณีเป่าปี่เพราะ

 

ทำหน้าที่ีสันธานเชื่อมประโยค เช่น คนได้ดีเพราะความขยัน

ใกล้

ทำหน้าที่ีกริยา เช่น ผมใกล้เกลือเเต่กินต่าง บ้านใกล้ทะเล

 

ทำหน้าที่ีวิเศษณ์ บอกสถานที่ เช่น ทะเลอยู่ใกล้ๆ เข้ามาใกล้ๆ้

หน้าที่ของคำบุพบท

คำบุพบทใช้นำหน้าคำนาม สรรพนาม หรือกริยาที่ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อ บอกหน้าที่ เพื่อเชื่อม หรือขยายคำข้างหน้า มีหลักหารใช้ดังนี้

กับ

ใช้เเสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน เเละ เเสดงระดับ เช่น

 

- ผมเห็นกับตา (กระชับ)

- พ่อไปกับเเม่  (อาการร่วม)

 

- ปืนสำหรับทหาร (กำกับกัน)

- ลูกเหมือนกับเเม่ (เทียบกับ)

 

- เหนือตรงกับใต้ (ระดับ)

- กินอยู่กับปาก (กระชับ)

เเก่

ใช่นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการโดยตรง เช่น

 

- บุหรี่ให้โทษเเก่ร่างกาย

- ความดีจงมีเเก่ทุกคน

 

- คนไทยต้องเห็นเเก่ชาติบ้านเมือง

- ครูบอกเเก่นักเรียน

เเต่

ใช่ในความหมายว่า ตั้งเเต่ เฉพาะ จาก หรือใช้ จาก เเทน เช่น

 

- ควรทำให้ดีเเต่เเรก (ตั้งเเต่)

- เขามาเเต่ภาคใต้ (จาก)

 

- เเม่ซื้อเเต่เสื้อ (เฉพาะ)

- รีบทำรายงานเเต่เนิ่นๆ (ตั้งเเต่)

จาก กับ เเต่

ใช้เเทนกันได้ในความหมายเกี่ยวกับสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกัน

 

- เธอมาเเต่กรุงเทพฯ

- เธอมาจากกรุงเทพฯ

จาก กับ เเต่

ใช้เเทนกันไม่ได้ในกรณีที่ต้นเค้าเเยกเด็ดขาดจากกัน

 

- เราต้องหลีกเลี่ยงจากโรคติดต่อ

- พ่อพ้นจากอันตรายเเล้ว 

 

- สงครามทำให้คนต้องพราก จากกัน

 

- คนดีต้องละเว้นจากความชั่ว 

เเต่

ใช้เเทน เเก่ เมื่อนำหน้าคำเเสดงความเคารพ

 

- ผู้อำนวยการถวายภัตตาหารเเต่พระสงค์

 

- นักศึกษามอบพานไหว้ครูเเด่ครูอาจารย์

 

- ราษฎรถวายพระพรเเด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่

ใช้บอกสถานที่ที่ไม่จำกัดบริเวณเเน่นอน อาจใช้ บน ใต้ ริม ใน เเทนได้ เช่น

 

- บ้านบนเนิน

- ชุมชนใต้ทางด่วน

 

- บ้านพักริมทะเล

- วาสนาอยู่ในศูนย์การค้า

บน เหนือ

ใช้เเทนกันได้ บน ใช้เเทน ใน สำหรับของที่อยู่สูง

 

- นั่งบนโต๊ะ

- เเขวนไว้บนหิ้ง

 

- อยู่เหนือศรีษะ

- เทพเจ้า (ใน บน) สวรรค์

ด้วย

ใช้นำหน้าคำเเสดงความเป็นเครื่องใช้ หรือมีส่วนร่วม

 

- ทำด้วยกระดาษ

- ตีด้วยไม้คมเเฝก

 

- ผสมด้วยเกลือ (ส่วนร่วม)

- ผสมด้วยน้ำ (ส่วนร่วม)

โดย

ใช้นำหน้าคำในความหมาย ตาม

 

- กล่าวโดยจริง

- ทำโดยวิธีลัด

 

- บริจาคเงินโดยเสร็จพระราชกุศล

 

 

 

การละบุพบท บุพบทบางคำอาจละได้โดยไม่ทำให้ข้อความ เปลี่ยนเเปลง

 

- ลูกพ่อค้า (ลูกของพ่อค้า)

 

- วารีฟ้องครูว่าเพื่อนหนีเรียน (วารีฟ้องต่อครูว่าเพื่อนหนีเรียน)

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 260669เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท