แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (1)


หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านอาชีวเวชศาสตร์

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (1)

ช่วงวันหยุดนี้ได้มีโอกาสพิจารณาหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอาชีวเวชศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากต้องปรับ ตามแพทย์สภากำหนด (ให้ปรับทุก 4 ปี) และแพทย์สภาถามความเป็น Professional เลยไปรวบรวมจากหลายแห่ง และกำหนดคร่าวๆ หน้าที่ของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์คือ

 

หน้าที่ของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

  • ประเมินผู้ป่วย
  • วินิจฉัยโรค
  • รักษา
  • วางแผนเพื่อนำผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน หรือจัดงานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย
  • เฝ้าระวัง
  • รายงาน
  • สื่อสารสุขภาพ และความเสี่ยง
  • ป้องกันทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ในปี 1 แพทย์ควรได้กิจกรรมดังนี้

  • ทำรายงานผู้ป่วย 10 ราย (ที่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์)
  • เป็นที่ปรึกษาให้กับตึกผู้ป่วยใน และ ห้องฉุกเฉิน ในเรื่องโรคจาการทำงาน หรือในการตัดสินโรคจากการทำงาน อย่างน้อย 10 ราย
  • การคัดกรองสุขภาพคนทำงาน ทำที่คลินิก 60 ราย
  • คัดกรองสุขภาพคนทำงานที่โรงงาน 30 ราย
  • ฝึกตรวจร่างกายตามความเสี่ยง 36 ชั่วโมง เช่น การตรวจการนำกระแสไฟฟ้าประสาท
  • การฝืกอบรมทางคลินิก โดยอบรมเฉพาะทางด้านต่างๆ เช่น ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบตับ ออร์โธปีดิกส์ กายภาพบำบัด หูคอจมูก ให้เลือกสามอย่าง)
  • Fitness for work, ประเมินการสูญเสีย, return to work, 3 ราย
  • ฝึกเป็นแพทย์ที่ปรึกษาในบริษัทด้านอาชีวเวชศาสตร์ 1 โรงงาน (>200 คน)
  • เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมคปอ ของโรงงานอย่างน้อย 4 ครั้ง
  • ฝึกหาสิ่งคุกคามในโรงงาน 10 แห่ง/พร้อมรายงาน
  • ประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคาม 2 ราย
  • มีส่วนเลือก PPE 5 ราย
  • ประเมินโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 5 โครงการ
  • นำเสนอในการประชุม 5 ครั้ง
  • ให้คำปรึกษา และมีการตอบสนอง 10 ราย

ปี 2 เป็น Academic year

ปี 3 เป็น Practicum year น่าจะ assign วัตถุประสงค์เฉพาะเลย มีการประจำโรงงาน ขนาดต่างๆ แห่งละ 2 เดือนทำโครงการร่วมกับโรงงาน  และมีอาจารย์ไป supervised ควรมีโรงงานที่เต็มใจรับและ Fix โรง

 

มีของแถมคือหน้าที่ของหน่วยงานด้านอาชีวเวชศาสตร์ ไม่ใช่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์นะครับ คนชอบสับสนกันสองคำนี้  

  • ให้บริการทางการแพทย์ ด้านการวินิจฉัย รักษาโรค เกี่ยวกับการทำงาน และโรคทั่วไปที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ฟื้นฟู ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ให้กับคนทำงาน ประเมินการสูญเสียสมรรถภาพ การออกใบรับรองแพทย์ ให้ความเห็น
  • การจัดการรายบุคคล (Case management ) การประเมินค่าใช้จ่ายต่างๆ ความคุ้มค่าทางอาชีวอนามัย ความพร้อมในการกลับเข้าทำงาน ความสมบูรณ์ของร่างกายและการทำงาน
  • การเฝ้าระวัง (Surveillance) การเฝ้าระวังทางสุขภาพ การจัดการตรวจร่างกายในระยะต่างๆ ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจร่างกายตามความเสี่ยง
  • การจัดโปรแกรมสำหรับผู้ป่วยเพื่อกลับเข้าทำงาน (RTW program) การประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะ การออกใบรับรองแพทย์ การประเมินเนื้องาน การปรับสถานที่ทำงาน
  • การให้การศึกษา (Education) เป็นที่ฝึกอบรมสำหรับบุคลากรด้านอาชีวเวชศาสตร์และอาชีวอนามัย
  • เป็นที่ปรึกษา (Consultation) ในด้านเหตุฉุกเฉินทางพิษวิทยา ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ด้านความปลอดภัย ด้านกฏหมายให้กับสถานประกอบการ และคนทำงาน ที่ปรึกษาด้านการส่งเสริม ป้องกันทางอาชีวอนามัย การทำโครงการอาชีวอนามัย
  • การเยี่ยมสถานประกอบการ หรือลงพื้นที่ (Worksite visit ) การเดินสำรวจสถานประกอบการ การค้นหาสิ่งคุกคาม การประเมินและจัดการความเสี่ยง การให้ความเห็นในการปรับปรุง
  • การตรวจร่างกาย (Health screening) การออกแบบการตรวจร่างกาย ประเภทต่างๆ การแปรผลการตรวจร่างกาย การจัดการผลการตรวจร่างกาย การวางแผนจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามผลการตรวจร่างกาย

บริการทางการแพทย์ได้แก่

  • การวินิจฉัยโรคทางคลินิกและการรักษา
  • การประเมินความพร้อมในการทำงาน การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพ
  • การติดตามคนทำงานที่ป่วยและหยุดงานจากโรคใดๆ
  • เป็นที่ปรึกษาด้านอาชีวเวชศาสตร์แก่แพทย์สาขาต่างๆ

การจัดการรายบุคคล

  • ตั้งเป้าในแต่ละบุคคล เช่นจะหายเมื่อไร หายแล้วกลับไปทำงานได้หรือไม่ มีความเสี่ยงในการทำงานอย่างไรบ้าง จะติดตามการรักษาอย่างไร ค่าใช้จ่ายเท่าใด ฯลฯ
  • ติดตามผลการปฏิบัติงาน
  • การรับรู้ระหว่างบุคคล เพี่อนร่วมงาน แผนก (เช่นไม่ให้เกิดความรังเกียจว่าเอาเปรียบในการทำงานเป็นต้น)
  • การส่งต่อ และการติดตามรายกรณี

 

การเฝ้าระวัง

  • การเฝ้าระวังทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล การออกแบบการเฝ้าระวังโรคที่สนใจหรือเป็นปัญหาทั้งเชิงรับ และเชิงรุก รวมทั้งการจัดการ
  • ระบบเฝ้าระวังของรัฐบาล
  • การเริ่มมาตรการติดตามผล หลังจากมีโครงการ
  • การตอบสนองกลับแบบหลายทางเพื่อนำมาประเมินระบบเฝ้าระวัง

 

หมายเลขบันทึก: 260546เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ครับแล้ว ปี 53 นี้ อาจารย์ resident กี่คนหรอครับ

อยากเห็นบทความจากแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ต่อปัญหาใหญ่ๆที่เราพบต่อสาธารณชน เช่น กรณีมาบตาพุด ครับ

อาจารย์ครับ ช่วย update รายชื่อแพทย์เฉพาะทาง ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ปี 2553 หน่อยครับ บางโรงงานจะตรวจสอบทาง net ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท