..สอบบรรจุครู...ดอกพิกุล..และปาฏิหารย์


ดอกพิกุล...ดอกไม้เป็นเล็กๆที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจของข้าพเจ้า..

..เทศกาลแข่งขันสอบบรรจุเพื่อคัดเลือกเป็นข้าราชการครูใกล้เข้ามาอีกแล้ว...ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงตอนที่ข้าพเจ้าสอบแข่งขันและเป็นสนามสอบสุดท้ายก่อนจะได้บรรจุเป็นครู....

     อย่าเพิ่งแปลกใจว่าชื่อเรื่อง..ดอกพิกุล..มันจะเกี่ยวข้องกับการสอบได้อย่างไร...กำลังจะเล่าให้ฟัง

   เมื่อปี 2544 -2545 (ถ้าจำไม่ผิด--เพราะเริ่มแก่แล้ว) ข้าพเจ้าลาออกจากงานลูกจ้างชั่วคราว..เพื่อตัดสินใจไปติวสอบบรรจุที่ จ.มหาสารคาม....ในชั่วโมงภาษาไทย ซึ่งเป็นชั่วโมงท้ายๆ ของครอส คุณครูได้แจกเอกสารแนวข้อสอบภาษาไทย ซึ่งมีทั้งคำอ่านผิด-ถูก คำราชาศัพท์ การตีความ การสรุปความเยอะแยะไปหมด และหนึ่งในนั้นมีบทอ่านเกี่ยวกับ...ดอกพิกุล...ซึ่งมันตรงกับชื่อผู้เขียนจึงทำให้สนใจข้อสอบนั้นเป็นพิเศษ..คุณครูอ่านบทความและพาทำแนวข้อสอบให้...ข้าพเจ้าได้แต่อมยิ้ม...เพราะบทความกล่าวถึงดอกพิกุลว่า...(ประมาณเอาเพราะจำข้อความทั้งหมดไม่ได้แล้ว..)

   ดอกพิกุล เป็นดอกไม้ประจำชาติ ซึ่งมีกลีบดอกเล็กๆ สีขาว มีกลิ่นหอม  ผู้คนในสมัยโบราณนำดอกพิกุล ไปถวายพระ เพราะเชื่อกันว่า เกิดชาติหน้าจะได้ผิวสวย....ฯลฯ

แล้วก็มีข้อสอบถามเกี่ยวกับบทความ 4-5 ข้อ..เมื่อจบการติวข้าพเจ้าก็กลับบ้าน...จนถึงวันที่ต้องออกเดินทางไปสอบ..ข้าพเจ้าก็หอบหิ้วหนังสือตำราและชีทเอกสารที่ได้จากการติวพะรุงพะรัง...ข้าพเจ้าแวะไปกราบพ่อกับแม่ก่อนออกเดินทาง...พอดีนึกขึ้นได้ว่ามีเรื่องเกี่ยวกับดอกพิกุล...จึหยิบมาอ่านให้แม่ฟัง..เพราะภูมิใจเหลือเกินที่พ่อกับแม่ตั้งชื่อนี้ให้แล้วก็เป็นชื่อที่ดีๆๆ..

--------แล้ววันสอบก็มาถึง..วิชาภาษาไทย...ที่ต้องสอบทุกครั้งในการสอบบรรจุ นอกเหนือจากวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป (รวมทั้งคณิต+ภาษาไทย) ...

....คุณเชื่อไหมว่า..บทความที่ข้าพเจ้าอ่านให้พ่อกับแม่ฟังก่อนออกจากบ้านในวันนั้นออกข้อสอบในวันนี้...ข้าพเจ้ายิ้มอย่างมีความสุข...เหมือนมีปาฏิหารย์ ....ทำให้ข้าพเจ้ามีความมั่นใจและกำลังใจเพิ่มขึ้นอีก 2เทา (เวอร์ไปอะป่าว)...

และหลังประกาศผลสอบข้าพเจ้าได้ลำดับที่ 20 จากสอบผ่าน 50 คน  คนสอบทั้งหมด  99 คน...2 ปีผ่านไปเกือบจะปิดบัญชีแล้ว..ขาพเจ้าถูกเรียกบรรจุ..เป็นคนสุดท้ายของบัญชีจังหวัดเลย...แล้วก็ปิดบัญชีไป.....ดอกพิกุลจึงเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและเป็นชื่อเดียวกับข้าพเจ้า..ที่ภาคภูมิใจยิ่งนัก...

ข้อมูลเพิ่มเติม  

คติความเชื่อ   
ในตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่า พิกุลเป็นไม้ตามทิศที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) เพื่อป้องกันโทษร้ายต่างๆ นอกจากนี้ พิกุลยังมีพุ่มใบหนาแน่น เหมาะแก่การปลูกไว้บังแดดตอนบ่าย แต่บางท้องถิ่น ก็เห็นว่าไม่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้านควรจะปลูกไว้ตามวัดวาอารามมากกว่า

ชื่อพื้นเมือง
พิกุล (ไทยภาคกลาง) มะเมา, แก้ว (ภาคเหนือและพายัพ) พิกุลป่า (ภาคใต้) พิกุลเขา,พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช)

ชื่อสามัญ
Bullet Wood Tanjong Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์
Mimusops elengi Linn.

วงศ์
SAPOTACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พิกุลเป็นไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร โตวัดได้รอบ 60-150 ซม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดสีเขียวเข้ม เป็นพุ่มกลมแน่นทึบ ลำต้นและกิ่งมักคดงอเป็นปุ่มปม เปลือกต้นสีเทาปนดำแตกเป็นร่องลึก และเป็นสะเก็ด เปลือกในเส้นใยนุ่ม สีชมพู
1. ใบ รูปขอบขนาน หรือวงรียาว 5-12 ซม. กว้าง 3-9 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบกรอบ ผิวเรียบมัน ใบออกเรียงสลับเวียนกัน
2. ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นกระจุก ครั้งละ 2-6 ดอก ตามง่ามใบและตามยอด ดอกย่อยมีสีขาวปนเหลือง กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 8 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เกสรตัวผู้ 8 อัน รังไม่มีขน
3. ผล รูปไข่ ผลสุกมีสีส้ม รสหวาน มักมีเมล็ดเดียว

การปลูก
ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด หรือปักชำกิ่ง

ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ดอก เมล็ด เปลือกต้น กระพี้ แก่น ราก
ช่วงเวลาเก็บ

ดอกออกตลอดปี ดอกพิกุลส่วนใหญ่เก็บเฉพาะกลีบดอกที่ร่วงหล่นตามโคนต้น ล้างทำความสะอาดแล้วตากแห้ง ใช้เป็นยาหรือเครื่องหอมได้
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
1.ใบ รสเบื่อฝาด ฆ่าเชื้อกามโรค แก้หืด
2.ดอก รสหอมสุขุม แก้ลมบำรุงโลหิต
3.เมล็ด รสเฝื่อน ขับปัสสาวะ
4.เปลือกต้น รสฝาด ฆ่าแมงกินฟัน (ฟันผุ) แก้เหงือกอักเสบ
5.กระพี้ รสเมาเบื่อ แก้เกลื้อน
6.แก่น รสขมเฝื่อน บำรุงโลหิต แก้ไข้
7.ราก รสขมเฝื่อน บำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลม
ขนาดและวิธีใช้
1. แก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ใช้เปลือกต้นต้มกับเกลือ อม
2. แก้ไข้ ปวดหัว เจ็บคอ ใช้ดอกแห้งป่นทำยานัตถุ์

สารสำคัญ
ในดอกมีน้ำมันหอมระเหย saponin และ alkaloid

การทดลองทางคลีนิค
น้ำสกัดดอกพิกุลแห้งมีฤทธิ์ทางขับปัสสาวะในสุนัขที่สลบ และทำให้ความดันโลหิตลดลง การเต้นของหัวใจลดลง แม้ว่าจะนำน้ำสกัดดอกพิกุลที่เอาเกลือโปตัสเซี่ยมออกไปทดลองขับปัสสาวะในสุนัข หนูขาวปกติ และหนูขาวที่ตัดต่อมหมวกไตออก ก็ยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และฤทธิ์ของน้ำคั้นดอกพิกุลไม่แตกต่างจากspironolactone เมื่อทดลองในหนูที่ตัดต่อมหมวกไตออก

ประโยชน์อื่น
เนื่องจากพิกุลเป็นไม้ขนาดใหญ่ บางประเทศใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้าง เช่น ขุดเรือทำสะพาน ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี เป็นต้น ลำต้นมักมีเชื้อราทำให้เป็นโรคเนื้อไม้ผุ และมักโค่นล้มง่าย เมื่อมีพายุ ในต้นที่มีอายุมากบางต้นพบว่าเนื้อไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า “ขอนดอก” เชื่อกันว่าเกิดจากเชื้อราบางตัว ขอนดอกก็นำมาเป็นส่วนประกอบของยาหอมได้เช่นเดียวกับดอกพิกุล

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ดอกพิกุล...
หมายเลขบันทึก: 260272เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ต้องบอกว่าไม่เชื่ออย่าลบหลู่นะคะ

ดีใจด้วยนะคะ...ขอเป็นกำลังใจให้คนทีไม่สบายนะคะ

  • ขอบคุณคุณP  แดง
  • ขอบคุณทายและให้กำลังใจ
  • ขอเป็นกำลังใจให้คนกำลังเตรียมตัวสอบบรรจุ
  • ขอให้มีปาฏิหาริย์ เหมือนดิฉันนะคะ
  • ขอให้ทำดีแล้วได้ดีนะคะ ...
  • อีก 4วัน กำหนดสอบใกล้มาถึง
  • ใจคำนึงนึกพะวงคงสับสน
  • อ่านตำรา เสาะหายังมืดมน
  • ต้องหัดตนให้เรียนรู้อยู่มากมาย
  • หยิบตำรามาอ่านแล้วอ่านเล่า
  • เตรียมตัวเข้าห้องสอบตามที่หวัง
  • หากมีท้อแท้บ้างไม่จีรัง
  • ยังนึกหวังอยู่ในในใจคนคอย
  • สู้เถอะนะอย่าท้อจะขอบอก
  • สักวันหรอกโชคของเราจะเข้าหา
  • สวมเครื่องแบบมีขีดชั้นเป็นหน้าตา
  • แล้วช่วยพาชาติไทยเดินก้าวไป
  • ขอส่งกลอนกำลังใจนี้ไปหา
  • ช่วยนำพาคนเตรียมสอบชอบศึกษา
  • ให้สำเร็จลุล่วงดั่งใจพา
  • ได้บรรจุทุกถ้วนหา...ขอส่งใจ

****เป็นไงบ้างคะข้อสอบยากไหมเอ่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท