พลังชุมชนควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด


ผ่านมาครึ่งปีงบประมาณ 2552  อาจห่างหาย เรื่องเล่าไปสักหน่อย  วันนี้กลับมารวบยอดเล่าเรื่องการทำงานคัดกรองภายใต้ชื่อ :   พลังชุมชนควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

          ไม่ง่าย แต่ไม่ยาก กับพี่ป้า น้า อา ลุงๆ ป้าๆ ยายๆ ตาๆ ในชุมชน จำนวน เกือบ 70,000 คน ที่เรามีโจทย์ คือ ทำให้ได้ตามเป้าหมาย และต้องได้คุณภาพ

·       เป้าหมาย   เรามีเป้าหมายหลายคน กรมกำหนดเป้าหมาย 65 %ของประชากรอายุมากกว่า 35ปี  สปสช กำหนดเป้าหมาย 20% ปชก. อายุ 15 ปีขึ้นไปทุกสิทธิ  ยังมีเกณฑ์ย่อยๆ อีก full option   ที่ต้องรายงานทั้งแบบทุกเดือน ทุก 3 ทุก 6 และทุก 12 เดือน

Ø เราได้ข้อตกลงที่จะคัดกรองในกลุ่มอายุ 35 ปี ให้ครอบคลุม 65% (จำนวน 45,500 คน)

Ø ประชากรอายุ > 15 ปี มี 143,666 คน เป้า 20% = 28,733 คน  เพราะฉะนั้นผ่านฉลุย

·       แบบคัดกรองใช้แบบคัดกรองรวม 3 โรค ได้ข้อมูลมาต้องนำไปกรอกข้อมูลคัดกรองความเสี่ยง www.nhso. go.th   รายงาน 400 และรายงานเฉพาะโรคที่ สสจ กำหนด 

การคัดกรองทำอย่างไร

·       ทำเป็นทีมดีที่สุด   ปีนี้ทีมเบาหวานมีการวางแผนการทำงานเป็นอย่างดี   ทีมมีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ทุกเดือน  จนได้ข้อสรุปในรูปแบบการคัดกรอง รู้ว่าทีมPCU ต้องการการสนับสนุนในเรื่องใด  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความรู้  ให้ความมั่นใจ การสนับสนุนเรื่องเครื่องแผ่น  การประชุมแบบไม่เป็นทางการบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการพูดคุย รู้สึกอุ่นใจ  รู้ว่าเราทุกคนทำจริงๆ  ไม่มีการตำหนิ ว่าให้ไม่สบายใจ   ฯลฯ  จุดเริ่มของการทำงานที่ดี คือการพูดคุย ให้กำลังใจกัน ช่วยเหลือ นั้นคือความสำคัญของผู้ประสานงานเบาหวาน ที่ต้องเอื้อให้เกิดบรรยากาศของการทำงานเชิงบวก

·   

  

  • 3 เดือน เราคัดกรองได้ 23,171 ราย  เรามีการนำข้อมูลคัดกรองมาวิเคราะห์ ดังรายละเอียดผลการคัดกรองด้านท้าย ที่สามารถสรุปเป็นภาพรวมของสถานการณ์เบาหวานของอำเภอเมือง พิษณุโลกได้

 

กลยุทธิ์การทำงาน

·       ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคดังกล่าวนั้น ต้องใช้กลยุทธ์กลุ่มเสี่ยงสูง (High - risk strategy) ซึ่งมุ่งค้นหาผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง/ ความเสี่ยงสูง รักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง/ ระดับความเสี่ยงลง และทำการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง เนื่องจากเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรค จึงถือเป็นการป้องกันแบบปฐมภูมิ (Primary prevention) ซึ่งร่วมกับการใช้กลยุทธ์ระดับประชากร (Population strategy) เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนดำเนินชีวิต และนำข้อมูลสู่การลดปัจจัยเสี่ยง การดูแลสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ถือเป็นบทบาทหลักของงานปฐมภูมิ ดังนั้นเพื่อควบคุมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้องมีการดูแลสุขภาพที่มีการจัดองค์กรอย่างดี และเชื่อมโยงกับทรัพยากรที่มีในชุมชนผ่านความร่วมมือของชุมชน การดำเนินงาน 5 ปี ที่ผ่านมาสามารถจัดระบบบริการ  ตั้งรับและเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเกิดกระแสความตื่นตัวของชุมชน จนสามารถนำสู่การเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ โดยการขับเคลื่อนของชุมชน เพื่อให้สามารถตรวจคัดกรองโรคอย่างครอบคลุม และลดความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จะส่งผลให้ลดอัตราการเกิดโรค   ลดอัตราการป่วย อัตราการตาย และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล  จึงเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนา การมีและใช้พลังชุมชนในการร่วมดำเนินการแก้ไขควบคุม ป้องกัน และร่วมดำเนินงานทางสุขภาพร่วมกัน

ผลการทำงาน

ข้อมูลทั่วไป

 

 

ประชาชนกลุ่มใหญ่เราคัดกรองได้มากคือ กลุ่มแม่บ้าน (อยู่บ้าน) จากประสบการณ์บอกว่ากลุ่มนี้คัดกรองได้มากที่สุด  ปีนี้กลุ่มอาชีพรับจ้าง เราเข้าถึงได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้รูปแบบการคัดกรองโดย PPD ไม่ต้องงดอาหารและน้ำ ว่างจากงานก็มาเจาะที่ PCU และเราก็มี mobile ไปตามหน้างาน  และมีสิทธิประกันสังคม คอยกำกับ ร่วมกับเรามี แกนนำในชุมชนที่ร่วมทำงานกับเราอีก   กลุ่มเกษตรกรรม ปีนี้มีแผนการคัดกรองให้ครบคลุม มากกว่าเดิม วิธีการ  คงต้องให้ข้อมูลย้อยกลับแก่ชุมชน และให้ชุมชนใช้ความคิดการแก้ปัญหาโดยพื้นที่ เหมาะกว่า การแก้โดยเราฝ่ายเดียว  กลุ่มข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ  คัดกรองได้น้อยเมื่อเทียบกับเป้าหมายโดยรวม แต่เรามีการคัดกรองโดยสิทธิราชการ

 

อายุ    

อายุมากกว่า 60 ปีคัดกรองได้มากที่สุด  คัดกรองได้ 60% เนื่องจากส่วนใหญ่อยู่บ้านและเริ่มสนใจสุขภาพ มากขึ้น  เป็นกลุ่มที่เข้าถึงง่าย และที่น่าสนใจ กลุ่มอายุ 35-39 ปี  คัดกรองได้ 13.8% เริ่มเห็นความสำคัญของการคัดกรองโรคมากขึ้น ปีนี้เราเจาะคัดกรองในกลุ่มนี้ได้มากขึ้น โดยการเดินเข้ามาขอเจาะเลือดเอง และเราพบเบาหวานในระยะแรกที่อายุช่วงนี้ มากขึ้น  ซึ่งเป็นการทำงานที่ดี เพราะ คนกลุ่มนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงยอมรับและปรับตัวกับการเจ็บป่วยได้ค่อนข้างดี (แต่เราต้องมีกระบวนการทำงานที่ดีเช่นกัน)

 

ดัชนีมวลกาย

 ส่วนใหญ่ BMI น้อยกว่า 23  จำนวน 38.6%  กลุ่มที่มี BMI ท้วมถึงอ้วนมี 13.8 %และ 12.6%

เมื่อดูตัวเลขนับว่ามาก นะคะ มีถึง 17,324 คน   ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ว่าแนวโน้มโรค NCDในอนาคต ขิงอำเภอเมือง พิษณุโลก อาจมากขึ้น จนเราอาจรับไม่ไหว   ข้อมูลนี้จึงนำสู่ ชุมชน เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมลดเสี่ยง โดยมีโรงพยาบาลเป็นพี้เลี้ยง   โดยเรามีกิจกรรมเริ่มทำในพื้นที่ ที่มีเรื่องอ้วน เป็นปัญหา ตำตาตำใจ  และโดนใจชุมชน  แว่วๆ  มาว่า บ้านกร่าง ทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง หาหนุ่มสาวหุ่นดี ไม่ค่อยจะได้แล้ว  พี่รัตน์ พี่จอย เลยจะ จัด "คู่กันฉันและเธอลด BMI" ขึ้น

ยังมีอีก25 ข้อ เดี๋ยวค่อยๆทยอยๆสรุปนะคะ

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 259617เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับทุกๆท่าน ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน หรือโรคหัวใจ ยังไม่ต้องหมดหวังนะครับเพราะยังมีวิธีอยู่ ญาติ

ผมคนนึ่งเป็นหมดทุกโรคที่บอกมาเลย หมอก้อบอกว่ามันเป็นโรคที่มาเป็นชุด แล้วยังมีโอกาสเป็นไตวายได้อีก มีอยู่วันนึง

เพื่อนของเค้าที่เป็นหมอก้อแนะนำให้กินน้ำมันรำข้าวจมูกข้าวดู เพราะเพื่อนเค้าศึกษามา เชื่อมั้ยครับ เพียงเดือนเดียวอาการ

ดีขึ้นทุกอย่าง ความดันลด น้ำตาลลด มือเท้าหายชา คนที่บ้านตกใจกันใหญ่ ตอนนี้หมอที่โรงพยาบาลลดยาให้ จากมื้อละ 11

เม็ด เหลือ2 เม็ดแล้ว ใครเป็นหรือพ่อแม่ ใครเป็นก้อลองไปซื้อทานดูครับตามร้านยาก้อน่าจะมีนะ ขอย้ำผมไม่ได้มาขายของ

หรือโฆษณาให้ใครนะครับ แค่อยากบอกเล่าเรื่องราว ถ้าอยากถามเพิ่มเติมโทรมาได้ ชื่อมายด์ครับ 0863518579 เมล์ [email protected]

ตั้งแต่ 9 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ภาพจิ๊กซอว์ ของระบบดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการ ที่พวกเราร่วมคิด ร่วมทำกันมา เริ่มเห็นเป็นภาพที่แจ่มชัดมากขึ้นเรื่อยๆ การค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและป้องกันมันก่อนจะก่อกวนให้เกิดโรค เป็นก้าวที่สำคัญมากนะอ้อ ก้าวนี้แหละคือหัวใจที่จะทำให้โรคเบาหวาน ความดันสูง อยู่ในกำมือเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท