อนุภาคนาโน สามารถบ่งบอกว่าคุณป่วยได้เพียงคุณเป็นโรคในระยะเริ่มต้นเท่านั้น


ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นยาที่รู้จักกันดี เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้าน และมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรค แต่สำหรับในวงการแพทย์นั้น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ได้มีเพียงสรรพคุณแค่ฆ่าเชื้อโรคเท่านั้น มันยังเป็นสารที่บ่งบอกได้ถึงความเจ็บป่วยของร่างกาย หรือการติดเชื้อในระยะเริ่มแรกได้อีกด้วย

อนุภาคนาโน สามารถบ่งบอกว่าคุณป่วยได้เพียงคุณเป็นโรคในระยะเริ่มต้นเท่านั้น

 

ที่มา :      http://www.gatech.edu/news-room/release.php?id=1462

                                                                                                                                 

แปลและเรียบเรียงโดย : มาริสา คุณธนวงศ์

 

 

บทความนี้เผยแพร่ที่

http://www.mtec.or.th

 

 

 

 

  <p class="MsoNormal">ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นยาที่รู้จักกันดี เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้าน และมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อโรค แต่สำหรับในวงการแพทย์นั้น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ได้มีเพียงสรรพคุณแค่ฆ่าเชื้อโรคเท่านั้น มันยังเป็นสารที่บ่งบอกได้ถึงความเจ็บป่วยของร่างกาย หรือการติดเชื้อในระยะเริ่มแรกได้อีกด้วย  </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">นักวิจัยคิดว่า เซลล์ในร่างกายจะผลิตสารนี้ออกมามากเกินเมื่อร่างกายเริ่มเจ็บป่วยหรือเป็นโรคในระยะแรก    อย่างไรก็ตาม  กลไกที่ร่างกายผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และบทบาทของมันที่มีต่อโรคนั้นๆก็ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากในอดีตยังไม่มีเทคโนโลยีหรือเทคนิคการจับภาพเพื่อศึกษากระบวนการนี้ในร่างกายได้   </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีมากขึ้น  ทำให้นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology และ Emory University คิดค้นงานวิจัยที่เป็นกุญแจไขปริศนานี้ได้ และทำให้เกิดความเข้าใจในบทบาทของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้ดียิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ได้รับทุนจาก National Science Foundation (NSF) และ National Institutes of Health (NIH) และนำทีมวิจัยโดย Niren Murthy และ Dr.Robert Taylor งานดังกล่าวตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Materials ฉบับเดือนตุลาคม 2007</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยสามารถสร้างอนุภาคนาโนที่มีความสามารถในการตรวจหาและจับภาพของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยได้ในสัตว์ อนุภาคนาโนดังกล่าว คาดว่าไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และคาดว่าวันหนึ่ง อาจจะพัฒนามาเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆได้ง่ายและสามารถตรวจพบสิ่งผิดปกติได้ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคเพียงระยะเริ่มต้นเท่านั้น โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง ตั้งแต่โรคมะเร็ง อัลไซเมอร์ จนถึง โรคหัวใจ  และ โรคไขข้ออักเสบ   ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการรักษาคนไข้ได้ทันท่วงที  </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">Murthy กล่าวว่า อนุภาคนาโนที่สร้างขึ้นมาน่าจะเป็นกุญแจที่ทำให้เข้าใจถึงบทบาทของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาในแต่ละระยะของโรคต่างๆ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญในการวินิจฉัยโรค อนุภาคนาโนเหล่านี้สามารถตรวจหาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำเพียงระดับนาโนโมลาร์เท่านั้น นับว่าเป็นข้อดีที่สำคัญเพราะนักวิจัยยังไม่ทราบได้อย่างแน่นอนว่า ในแต่ละโรคเซลล์จะผลิตไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ออกมาในปริมาณมากน้อยเพียงใด </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">อย่างไรก็ตาม  เป้าหมายสูงสุดที่นักวิจัยคาดหวังไว้ก็คือสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรคได้หลากหลายชนิด และเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ง่าย ในอนาคตอาจจะใช้เข็มฉีดอนุภาคนาโนดังกล่าวเข้าไปในส่วนของร่างกายที่สนใจ  เช่น หัวใจ เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ หากอนุภาคนาโนปะทะกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มันจะเปล่งแสงออกมา แพทย์จะสามารถบ่งบอกได้ว่าส่วนไหนของร่างกายที่ติดเชื้อหรือเป็นโรค  </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">อนุภาคนาโนนี้ทำจากเปอร์ออกซาเลท เอสเทอร์ (peroxalate esters) และสีย้อมเรืองแสง (pentacene) เปอร์ออกซาเลท เอสเทอร์จะอยู่รอบๆสีย้อม ตามภาพที่1 เมื่ออนุภาคนาโนนี้เข้าไปในร่างกายแล้วปะทะกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์   พวกมันจะกระตุ้นสีย้อมทำให้เกิดการปล่อยโฟตอน หรือแสงมาจากอนุภาคนาโน  ปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดจากสาร 3 ชนิดได้แก่ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เปอร์ออกซาเลท เอสเทอร์ และ สีย้อมเรืองแสง ซึ่งหากไม่ทำเป็นอนุภาคนาโนก่อน แล้วใส่สารแต่ละชนิดเข้าไปในร่างกาย สารแต่ละตัวมันจะแยกกันไปคนละทาง ทำให้ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาที่สามารถตรวจหาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้เหมือนกับงานวิจัยนี้</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">เป้าหมายของงานวิจัยอีกเป้าหมายหนึ่ง คือ ทำให้อนุภาคปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นมากที่สุด   เพราะถ้าความยาวคลื่นสูงพอ มันจะสามารถทะลุทะลวงผ่านผิวหนังและปรากฎภาพให้เห็นชัดเจนในขณะตรวจ ความยาวคลื่นของสารเรืองแสงนี้สูงกว่า 600 นาโนเมตร ซึ่งเป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับการจับภาพที่ใต้ผิวหนัง ที่มีความลึกมากกว่า 1 เซนติเมตร เนื่องจากฮีโมโกลบิน น้ำ และไขมัน ดูดซับความยาวคลื่นได้ต่ำสุดที่ช่วงนี้นั่นเอง</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <table style="width: 100%;" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr>

</tr></tbody></table><p class="MsoNormal"><!–[if !vml]–>Text Box:   <!–[endif]–></p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">จากภาพแสดงถึง อนุภาคนาโน เปอร์ออกซาเลท (3) ประกอบด้วย เปอร์ออกซาเลทโพลิเมอร์ (1) และสียอมเรืองแสง (เพนทาซีน) (2). ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำปฏิกิริยากับเปอร์ออกซาเลท เอสเทอร์ (3)เกิดสารตัวกลาง ไดออกซีเทนไดโอน ที่มีพลังงานสูง อยู่ภายในผลึกนาโน (4) ต่อมามันจะกระตุ้นสีย้อมทำให้เกิดการแปล่งแสงจากอนุภาคนาโนและสามารถจับภาพไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้ (5)</p> <p class="MsoNormal"> Reference : </p> <p class="MsoNormal"> http://www.gatech.edu/news-room/release.php?id=1462 http://www.nature.com/nmat/journal/vaop/ncurrent/full/nmat1983.html</p>

 

ข่าวโดย : มาริสา คุณธนวงศ์ 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #nanoparticle
หมายเลขบันทึก: 259600เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท