MRI เทคโนโลยี..ใกล้ตัวเรา ตอน 1


เกร็ด Sci & Tech  By Marisa

บทความนี้เผยแพร่ใน จดหมายข่าว MTEC

 

 

Disclaimer:

หากท่านใดนำบทความนี้เผยแพร่/นำไปใช้ต่อได้ กรุณาอ้างถึงโดยใช้ข้อความดังนี้

"ชื่อเรื่อง โดย มาริสา คุณธนวงศ์"

และกรุณา e-mail มาแจ้งที่ [email protected]

 

MRI  เทคโนโลยี..ใกล้ตัวเรา ตอน 1


MRI  (Magnetic Resonance Imaging)

คือ เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคนิคการถ่ายภาพกำทอนในการตรวจวินิจฉัยโรค  MRI เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมานี่เอง นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ เมื่อเทียบกับเครื่องเอ็กซเรย์ที่ใช้กันมาแล้วกว่า 100 ปี เครื่องนี้จะประกอบด้วย สนามแม่เหล็กความเข้มสูง คลื่นวิทยุ และคอมพิวเตอร์โดยจะมีขดลวดส่งคลื่นวิทยุเข้าสู่ร่างกายภายใต้สนามแม่เหล็กสูง  คลื่นวิทยุจะถูกส่งไปยังโปรตอนหรือนิวเคลียสของไฮโดรเจน (ไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลักของไขมันและน้ำในร่างกายถึง 68% โดยประมาณ) จากนั้นจะเกิดการกำทอน หรือ การสะท้อนกลับของคลื่น (resonance) คลื่นที่สะท้อนกลับจะมีขดลวดในเครื่องรับและส่งข้อมูลต่อไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลและสร้างเป็นภาพ 3 มิติ แสดงให้เห็นถึงอวัยวะ เนื้อเยื่ออ่อน กระดูก และโครงสร้างองค์ประกอบภายในร่างกายทุกส่วนเสมือนตัดร่างกายออกเป็นแผ่นบางๆ ส่วนใดที่มีไฮโดรเจนน้อย เช่นกระดูก จะแสดงภาพเป็นสีดำ ส่วนที่มีไฮโดรเจนมาก เช่น ไขมัน จะแสดงภาพเป็นสีขาว ภาพดังกล่าวสามารถศึกษาได้ในหลายมุมมองบนจอคอมพิวเตอร์ และยังแสดงรายละเอียดของภาพได้หลายระนาบ ตั้งแต่ตามแนวตัดขวาง ตามแนวยาว หรือแนวเฉียงอีกด้วย


ข้อดีของMRI

·       สามารถตรวจได้ทุกระนาบ ดีกว่า CT scan ที่สามารถตรวจได้เฉพาะแนวขวางเท่านั้น ให้ภาพที่แสดงความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจนกว่า CT scan ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น สามารถแยกเนื้อเยื่อปกติออกจากเนื้องอกร้ายแรงได้อย่างชัดเจน

·       ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก (non bony parts) คือเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยึดกระดูก เส้นเลือด  สำหรับ CT scan ดูภาพกระดูกได้ดีกว่า แต่ MRI ก็ยังสามารถวินิจฉัยโรคกระดูกและข้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเข่า และ ข้อไหล่ โดยจะเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในโพรงกระดูก หรือไขกระดูกได้อย่างชัดเจน เช่น เนื้องอกภายในกระดูก

·       ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเนื่องจากไม่มีการใช้คลื่นรังสี และ สารไอโอดีน เป็น contrast agent *เหมือนใน CT scan  

 

 

Disclaimer:

หากท่านใดนำบทความนี้เผยแพร่/นำไปใช้ต่อได้ กรุณาอ้างถึงโดยใช้ข้อความดังนี้

"ชื่อเรื่อง โดย มาริสา คุณธนวงศ์"

และกรุณา e-mail มาแจ้งที่ [email protected]

 

คำสำคัญ (Tags): #mri
หมายเลขบันทึก: 259587เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท