แก๊สน้ำตา


ฉบับนี้ ขอกล่าวถึงแก๊สน้ำตา ซึ่งกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในขณะนี้ ณ ที่นี้ ขอกล่าวเฉพาะเรื่องข้อมูลน่ารู้ของแก๊สน้ำตาเท่านั้นนะคะ

บทความนี้เผยแพร่ใน จดหมายข่าว MTEC

 

 

 

 

 เกร็ด Sci.&Tech. By Marisa 

 

ฉบับนี้ ขอกล่าวถึงแก๊สน้ำตา ซึ่งกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในขณะนี้  ณ ที่นี้ ขอกล่าวเฉพาะเรื่องข้อมูลน่ารู้ของแก๊สน้ำตาเท่านั้นนะคะ   

 

แก๊สน้ำตา ในภาษาอังกฤษมีชื่อหลายชื่อทั้งแบบตรงตัวเลยคือ  Tear gas หรือจะเป็น Lachrymatory agent (LA) / Lachrymator มีรากศัพท์มาจากคำว่า Lacrima ในภาษาละติน แปลว่าน้ำตา สาเหตุที่เรียกว่าแก๊สน้ำตาเนื่องจากมันเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทตา ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่นัยน์ตา มีน้ำตาไหล และอาจทำให้ตาบอดชั่วคราว   ด้วยสมบัติดังกล่าว จึงมีการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมการจลาจล ซึ่งจะทำให้ผู้ก่อการจลาจลไม่สามารถต่อสู้หรือขัดขืนได้  

 

 

 

ฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา  

 

ไม่เพียงแต่มันจะมีฤทธิ์ที่จะทำให้นัยน์ตาเจ็บจนน้ำตาไหลเท่านั้น มันยังทำให้เยื่อบุภายในโพรงจมูก ช่องปาก และ ปอดเกิดอาการระคายเคือง หายใจไม่สะดวก และ อาจทำให้ผิวไหม้หรือรู้สึกเจ็บปวดเหมือนโดนหนามแหลมแทงได้อีกด้วย โดยทั่วไปการออกฤทธิ์จะเกิดขึ้นทันทีที่ได้สัมผัสเพียง 0-30 วินาที ฤทธิ์จะคงอยู่นานถึงครึ่งชั่วโมง แต่ในบางครั้งอาจจะยาวนานถึง 3 วันเลยทีเดียว กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนนัก แต่น่าจะเกิดจาก สารในแก๊สน้ำตาทำปฏิกิริยากับหมู่ซัลฟ์ไฮดริล (Sulfhydryl RSH) ที่อยู่ในเอนไซม์ ทำให้ระบบเอนไซม์หยุดทำงาน จึงเป็นผลให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายและได้รับบาดเจ็บ  

 

แก๊สน้ำตามีกว่าสิบประเภท แต่ที่สำคัญมี 4 ประเภท ได้แก่   

 

  1. CS gas (2-chlorobenzalmalononitrile)  (CAS No. 2698-41-1; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.. 2530) ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.. 2471 มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว เมื่อถูกเผาไหม้จะได้ก๊าซที่ไม่มีสี
  2. CN gas (chloroacetophenone / phenacyl chloride)  (CAS No. 532-27-4; UN Class 6.1; UN Number 1697; UN Guide 153; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.. 2530)  แก๊สน้ำตาชนิดนี้คิดค้นขึ้นตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่1และ 2 แต่ได้ใช้ครั้งแรกโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาในสงครามที่เวียดนาม  
  3. CR gas (dibenzoxazepine) (CAS No. 257-07-8; เป็นยุทธภัณฑ์ชนิด 1 ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.. 2530)  กระทรวงกลาโหมของอังกฤษพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ1950 ถึงต้นทศวรรษ 1960 มีลักษณะเป็นผลึกสีเหลืองซีดมีกลิ่นคล้ายพริกไทย
  4.  OC gas (Oleoresin Capsicum) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สเปรย์พริกไทย    

 

 

 

<!--[if !vml]-->Text Box:  <!--[endif]-->อย่างไรก็ตาม แก๊สน้ำตายังแบ่งได้ตามประเภทของการใช้งาน ได้แก่ ประเภทขว้าง และ ประเภทยิงจากอาวุธปืนเฉพาะ และยังสามารถแยกย่อยได้ตามกลไกการปล่อยสาร คือ ประเภทที่ปล่อยควันสารเพียงอย่างเดียวและประเภทที่ปล่อยควันพร้อมเสียงระเบิด  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

<!--[if !vml]-->Text Box:  <!--[endif]--> 

 

มีเอกสารบางฉบับกล่าวถึง ความสำคัญของวิธีการใช้แก๊สน้ำตากับความปลอดภัยของผู้ที่ได้สัมผัส โดยทั่วไป แก๊สน้ำตาจะไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากใช้ถูกวิธี  นอกจากนี้ ในบางประเทศยังให้ความสำคัญกับอันตรายที่อาจจะเกิดกับผู้ก่อการจลาจลอีกด้วย โดยมีการห้ามใช้แก๊สน้ำตาบางชนิดที่คาดว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่สัมผัส ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ยกเลิกการใช้แก๊สน้ำตาชนิด CR gas ในการปราบจลาจล เนื่องจากมันมีสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นต้น 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีการรักษาเมื่อได้สัมผัสกับแก๊สน้ำตา 

 

 

<!--[if !vml]-->Text Box:  <!--[endif]-->แก๊สน้ำตาแต่ละชนิดจะมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน   ยกตัวอย่างเช่น  ผู้ที่สัมผัสกับแก๊สน้ำตาชนิด CS gas สามารถใช้น้ำกำจัดได้ แต่สำหรับผู้ที่สัมผัสแก๊สน้ำตาชนิด CR gas น้ำกลับเพิ่มความเจ็บปวดมากขึ้น ในกรณีที่นัยน์ตาได้รับ CS gas จนเกิดภาวะบอดชั่วคราว มีวิธีการรักษาเร่งด่วนคือ ใช้น้ำนมวัวกลั้วตาช่วยทำให้ตากลับมามองเห็นได้อีกครั้ง ถึงแม้ว่าความเจ็บปวดนั้นจะยังคงอยู่ก็ตาม ที่สำคัญหากใส่คอนแทคเลนส์อยู่ควรรีบถอดออกทันทีเพราะมันจะทำให้แก๊สน้ำตามีฤทธิ์ยาวนานขึ้น 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง 

 

http://www.prd.go.th

 

http://en.wikipedia.org/wiki/CR_gas

 

http://en.wikipedia.org/wiki/CS_gas

 

http://en.wikipedia.org/wiki/CN_gas

 

http://en.wikipedia.org/wiki/OC_gas

 

http://en.wikipedia.org/wiki/Tear_gas

 

http://www.zarc.com/english/tear_gases/jamateargastoxic.html

 

http://www.brooksidepress.org/Products/OperationalMedicine/DATA/operationalmed/Manuals/RedHandbook/008Riot-ControlAgents.htm

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


<p> </p> <div style="text-align: center;">
</div>

คำสำคัญ (Tags): #แก๊สน้ำตา
หมายเลขบันทึก: 259585เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท