เมลามีน ..ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย


สืบเนื่องจากประเด็นอันน่าตื่นตระหนกในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่พบสารปนเปื้อนเมลามีนในนมที่มาจากประเทศจีน เมื่อนมผงเป็นอาหารของทารก และเป็นส่วนผสมในอาหาร และขนมอีกหลากหลายชนิด ทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยากขึ้น

 

 

บทความนี้เผยแพร่ที่ จดหมายข่าว MTEC

 

 

  <p class="MsoNormal" style="text-align: right;">เกร็ด Sci.&Tech. By Marisa </p> <p class="MsoNormal">เมลามีน ..ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">สืบเนื่องจากประเด็นอันน่าตื่นตระหนกในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่พบสารปนเปื้อนเมลามีนในนมที่มาจากประเทศจีน เมื่อนมผงเป็นอาหารของทารก และเป็นส่วนผสมในอาหาร และขนมอีกหลากหลายชนิด ทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยากขึ้น </p> <table style="width: 100%;" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr>

</tr></tbody></table><p class="MsoNormal"><!–[if !vml]–>เมลามีน<!–[endif]–> </p> <table style="width: 100%;" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr>

</tr></tbody></table><p class="MsoNormal"><!–[if !vml]–>Text Box:  <!–[endif]–>      </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p> <table style="width: 100%;" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr>

นมผง

</tr></tbody></table><p class="MsoNormal"><!–[if !vml]–><!–[endif]–></p> <table style="width: 100%;" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr>

ผงเมลามีน

</tr></tbody></table><p class="MsoNormal"><!–[if !vml]–><!–[endif]–> </p> <p class="MsoNormal" style="text-align: left;"> </p> <p class="MsoNormal" style="text-align: left;">                            เมลามีน                                                   นมผง
</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการปลอมปนเมลามีนลงในอาหารที่มาจากประเทศจีน เมื่อย้อนไปในปีที่แล้ว จีนได้นำเมลามีนมาผสมกับอาหารสัตว์ ส่งผลให้สุนัขและแมวในสหรัฐอเมริกา และ แอฟริกาใต้ที่ทานอาหารสัตว์ดังกล่าวเข้าไป ล้มป่วยและตายเป็นจำนวนมากด้วยภาวะไตล้มเหลว จนทำให้มีการเรียกคืนสินค้าดังกล่าวกว่า 100 ยี่ห้อ</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ทำไมจีนถึงนำสารเมลามีนมาผสมกับนมผง</p> <p class="MsoNormal">เมื่อกล่าวถึงเมลามีน อาจจะนึกถึงภาชนะเมลามีนที่คุ้นเคย สารเมลามีนมักนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์พลาสติก กาว สารหน่วงไฟ หรือแม้แต่สารที่ให้สีเหลืองในน้ำหมึกและพลาสติก สารเมลามีนนี้เป็นสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนสูงถึง 66.67 % จัดเป็นพวก Non-Protein Nitrogen (NPN) สมบัตินี้เองที่ทำให้มนุษย์สนใจที่จะใช้มันเป็นแหล่งไนโตรเจน โดยเริ่มนำมาผสมในอาหารโคในปีพ.ศ. 2501 ต่อมาไม่นาน มีการศึกษาวิจัยพบว่าโคไม่สามารถย่อยมันได้อย่างสมบูรณ์ทำให้เกิดสารตกค้าง แต่ก็ยังพบการลักลอบใช้สารเมลามีนผสมลงในผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริโภคอยู่ดี จนกระทั่ง เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2550) เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้สัตว์ล้มป่วยและเสียชีวิตอันเป็นผลพวงจากการทานอาหารสัตว์ที่ลักลอบใส่เมลามีนลงไป ผ่านไปเพียง 1 ปี จีนได้สร้างประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้งแต่ครั้งนี้สร้างความเสียหายจนถึงขั้นคร่าชีวิตทารกและทำให้ทารกล้มป่วยกว่า 60,000 ราย เพียงเพราะความมักง่ายและเห็นแก่ตัวของผู้ผลิตนมในประเทศจีน สาเหตุที่จีนนำเมลามีนมาผสมกับนมผง เพราะว่ามันมีลักษณะที่เป็นผงสีขาวเหมือนกับนม เมื่อละลายน้ำแล้วแทบจะไม่เห็นความแตกต่างของสารเมลามีนกับนมเลย ทั้งยังส่งผลให้นมมีความเข้มข้นมากขึ้น และเมื่อวัดปริมาณโปรตีนด้วยวิธีมาตรฐานที่มีชื่อว่า “Kjeldahl and Dumas Test” แล้ว พบว่าระดับโปรตีนมีปริมาณสูงนั่นหมายความว่านมดังกล่าวมีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจนั่นเอง การวัดปริมาณโปรตีนด้วยวิธีดังกล่าวเป็นเพียงการวัดปริมาณไนโตรเจนเท่านั้น จุดนี้จึงเป็นช่องทางที่ทำให้พ่อค้าหัวใสคิดกลยุทธ์หลอกลวงที่ไร้จรรยาบรรณแบบนี้ออกมาได้โดยไม่คิดถึงปัญหาที่จะเกิดตามมา</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal">ความเป็นพิษของเมลามีน </p> <p class="MsoNormal">เมลามีนเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญและไม่สามารถกำจัดออกได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากสะสมในปริมาณน้อยให้เวลากับร่างกายในการกำจัดก็จะไม่เป็นพิษต่อร่างกาย แต่หากสะสมในปริมาณมากหรือรวมตัวกับสารบางชนิดเช่น cyanuric acid ก็จะทำให้เกิดพิษกับระบบที่เกี่ยวกับไต มีผลต่อกระเพาะปัสสาวะ เกิดการอักเสบ เกิดนิ่วในไต จนกระทั่งเกิดภาวะไตล้มเหลว อย่างไรก็ตาม เอกสารการประเมินประเภทสารก่อมะเร็งขององค์การวิจัยมะเร็งสากล (International Agency for Research on Cancer : IARC) เมื่อปี 1999 (พ.ศ.2542) ระบุว่า ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าสารดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้น IARC จึงประเมินให้เมลามีนอยู่ในกลุ่มที่ 3 (Not classifiable as to its carcinogenicity to humans) เป็นกลุ่มที่ไม่จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นขององค์กรความปลอดภัยด้านอาหารประจำสหภาพยุโรป (European food Safety Authority : EFSA) ที่ระบุให้เมลามีนไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่เป็นอันตรายต่อระบบพันธุกรรม และไม่ก่อให้เกิดความพิการในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม EFSA เสนอค่าที่ยอมรับได้ในการบริโภคเมลามีนต่อวันของมนุษย์และสัตว์ (Tolerable Daily Intake : TDI) ที่ระดับไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน โดยค่า TDI ของเมลามีนทั้งคนและสัตว์ให้มีค่าเท่ากัน ค่าดังกล่าวครอบคลุมถึงสารประเภทเดียวกันนั่นคือ ammeline,ammelide และ cyanuric acid  ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของเมลามีน ทั้งนี้ยังกำหนดค่าTDIของเมลามีนที่จะปนมากับอาหารและในภาชนะที่สัมผัสอาหารไว้ที่ระดับไม่เกิน 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม</p> <p class="MsoNormal"> </p> <p class="MsoNormal"> </p><hr><p><!–[if gte mso 10]> <! /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman";} > <! [endif] ></div> <div class="MsoNormal" mce_tmp="1">ค่าที่ยอมรับได้ในการที่ได้รับสารปนเปื้อนจากอากาศ อาหาร หรือน้ำ (Tolerable Daily Intake : TDI) เป็นค่าประมาณที่ได้รับสารนั้นๆต่อวันโดยไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ค่าดังกล่าวเป็นเพียงค่าที่ตั้งขึ้นชั่วคราว ซึ่งสามารถปรับลดหรือเพิ่มให้สอดคล้องกับผลงานวิจัยใหม่ๆได้อีกด้วย</div> <div mce_tmp="1"> </div> <div class="MsoNormal" mce_tmp="1"> </div>


 
 
Disclaimer:
หากท่านใดนำบทความนี้เผยแพร่/นำไปใช้ต่อได้ กรุณาอ้างถึงโดยใช้ข้อความดังนี้
"ชื่อเรื่อง โดย มาริสา คุณธนวงศ์"
และกรุณา e-mail มาแจ้งที่ [email protected]

 
หมายเลขบันทึก: 259579เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท