คาร์บอนเครดิต (carbon credit) คืออะไร


ปัญหาการเพิ่มอุณหภูมิของโลก หรือ ภาวะโลกร้อน เกิดจากโลกมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องพยายามแก้ไข ด้วยเหตุนี้จึงมีการประชุมจริงจังขึ้นมาเพื่อลดปริมาณคาร์บอน ปริมาณคาร์บอนที่ลดได้นี่เอง ที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต

เกร็ด Sci.&Tech. By Marisa

บทความนี้เผยแพร่ที่ จดหมายข่าว MTEC 

แปลและเรียบเรียงโดย มาริสา คุณธนวงศ์

 

ปัญหาการเพิ่มอุณหภูมิของโลก หรือ ภาวะโลกร้อน  เกิดจากโลกมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องพยายามแก้ไข ด้วยเหตุนี้จึงมีการประชุมจริงจังขึ้นมาเพื่อลดปริมาณคาร์บอน ปริมาณคาร์บอนที่ลดได้นี่เอง ที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต  

ในการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) มีข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เพื่อกำหนดพันธกรณีและสร้างกลไกต่างๆเพื่อรักษาระดับปริมาณความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

คาร์บอนเครดิต ยังแบ่งได้หลายประเภทตามหน่วยของคาร์บอนเครดิตได้แก่

  1. คาร์บอนเครดิตที่มีหน่วยเป็น AAU (Assigned Amount Unit) คาร์บอนเครดิตประเภทนี้จะมีเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Annex I) โดยจะได้รับอนุมัติปริมาณก๊าซที่สามารถปล่อยได้ในแต่ละปีให้ไม่เกิน AAU ที่ได้รับ หรือหมายถึง ปริมาณคาร์บอนที่มีสิทธิในการปล่อยนั่นเอง
  2. คาร์บอนเครดิตที่มีหน่วยเป็น  ERU (Emission Reduction Unit) คาร์บอนเครดิตประเภทนี้ ได้มาจากการโอนย้ายปริมาณก๊าซให้กันระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งอาจจะมาจากการช่วยเหลือ ลงทุนทำโครงการด้วยกัน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในพิธีสารเกียวโต เรียกว่า กลไกการดำเนินการร่วม (Joint Implementation : JI)
  3. คาร์บอนเครดิตที่มีหน่วยเป็น CER (Certified Emission Reduction Unit) คาร์บอนเครดิตประเภทนี้ได้มาจากการโอนย้ายปริมาณก๊าซจากประเทศที่กำลังพัฒนา (Non Annex I) ภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) อีกหนึ่งกลไกในพิธีสารเกียวโต ที่ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วสนับสนุนลงทุนให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาลดก๊าซ แต่ปริมาณก๊าซที่ลดได้นั้นจะถูกโอนย้ายเป็นของประเทศที่ลงทุนให้ กลไกดังกล่าวดำเนินการด้วยความสมัครใจ
  4. คาร์บอนเครดิตที่มีหน่วยเป็น RMU (Removal Unit) คาร์บอนเครดิตประเภทนี้ได้มาจากการลดการคายก๊าซจากการปลูกป่า (Afforestation) และการฟื้นฟูป่า (Reforestation) ในประเทศที่พัฒนาแล้ว

 

ตามที่ได้กล่าวถึง 2 กลไกข้างต้น  ยังมีกลไกอีกกลไกหนึ่งในพิธีสารเกียวโต คือ กลไกการซื้อขายคาร์บอนเครดิตกันระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วอีกด้วย เรียกกลไกนี้ว่า กลไกการซื้อสิทธิการปล่อย (Emission Trading: ET) อย่างไรก็ตาม ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ก็สามารถขายคาร์บอนเครดิตประเภทCERได้ โดยเข้าร่วมโครงการ CDM ในปัจจุบัน รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาส่งเสริมกลไกดังกล่าว

 

หมายเลขบันทึก: 259562เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท