การบำเพ็ญทุกรกิริยา??


การบำเพ็ญทุกรกิริยา (อ่านว่า ทุ-กะ-ระ- กิ-ริ-ยา) มักเป็นเรื่องที่ผู้สอนพุทธประวัติทั่วไปจะไม่เข้าใจเท่าไร บางทีก็อธิบายว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา  แต่ที่จริงแล้วเป็นการทรมานตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์เรียกว่า อัตตะกิละมัตถานุโยคแปลว่าการบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง เป็นวิธีการที่สุดโต่ง ไม่ใช่ทางหลุดพ้นได้  จึงมีคำถามว่า แล้วเหตุไฉนพระพุทธองค์เมื่อก่อนตรัสรู้จึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยา  เพราะว่าหลังจากพระองค์ผนวชแล้วทรงได้ศึกษาคำสอน ปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ ของนักบวชในสมัยนั้น รวมทั้งการทำทุกรกิริยาด้วย  ซึ่งคิดว่าจะเป็นหนทางบรรลุพระโพธิญาณได้ แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติจนครบถ้วนแล้ว จึงได้เห็นว่าความเชื่อและวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ เพราะไปยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างขาดปัญญา  พระองค์จึงเปลี่ยนแนวทางใหม่คือดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง 

ซึ่งการบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ทรงปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้ -

๑. ลดพระกระยาหารให้น้อยลงตามลำดับจนกระทั่งเหลือเพียงเท่าเมล็ดในของถั่วพูเท่านั้นในหนึ่ง มื้อของแต่ละวัน
๒. เสวยของโสโครก เช่น เสวยมูลของลูกโค หรือพระบังคลหนักของพระองค์เอง เป็นต้น
๓. เอาของโสโครก เช่น ขี้เถ้า ทาพระวรกายโดยไม่ทรงสนาน(อาบน้ำ)เลยเป็นเวลานับปีจนกระทั่ง สิ่งโสโครกเหล่านั้นเกาะติดพระวรกายเป็นแผ่น
๔. กลั้นลมหายใจโดยใช้พระชิวหากดเพดานปากจนหูอื้อตาลายเกิดอาการวิงเวียนพระเศียร

 

วิเคราะห์
การที่พระองค์ได้ทรงกระทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ ปี จนทำให้พระวรกายของพระองค์ลำบาก สกปรก ซูบผอม และอ่อนล้า ในที่สุดพระองค์ทรงระลึกได้ว่า เมื่อคราวที่ทรงพระชนมายุ ๗ ขวบนั้น ทรงเจริญ
อานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกจนได้บรรลุปฐมฌาน

ที่มา ::: http://www.vicha.kroophra.net/

หมายเลขบันทึก: 259442เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระองค์เพื่อแสวงหาทางดบทุกข์ประสบความสำเร็จหรือไม่เพราะเหตุใด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท