พระพุทธศาสนามีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์อย่างไร


คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า "พระไตรปิฎก"

          พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในประเทศอินเดีย   ประมาณ   ๒,๕๐๐  ปีมาแล้ว เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ         และเป็นที่รู้จักกันในนามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า     คำสอนของพระองค์รวบรวมไว้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า  "พระไตรปิฎก"  ซึ่งตามศัพท์หมายถึง ตะกร้า  ๓  ใบ คือ  

   
พระวินัยปิฎก     ซึ่งว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ซึ่งว่าด้วยพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก  

พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยปรัชญาชั้นสูง
          

         พระพุทธศาสนาเป็นอเทวนิยม   ไม่ถือเอาเทพเจ้าเป็นสำคัญพระพุทธศาสนามี  ๒  นิกายหลัก คือ  เถรวาท (นิกายดั้งเดิม)   และมหายาน   (นิกายซึ่งพัฒนาขึ้นในภายหลัง)   นิกายเถรวาทนับถือกันในประเทศศรีลังกา     ไทย      พม่า       ลาว    และเขมร     ส่วนมหายานมีผู้นับถือกันในประเทศจีน     ญี่ปุ่น    เกาหลี     ไต้หวันและทิเบต 

 

ที่มา : www.seameo.org/vl/buddhist/content.htm

 

หมายเลขบันทึก: 259410เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท