แบบแห่งนิติกรรม


มาตรา 152 บัญญัติว่า การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ

         แบบแห่งนิติกรรม หมายถึง หลักเกณฑ์หรือพิธีการอันใดอันหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้และบังคับให้ผู้ที่แสดงเจตนาทำนิติกรรมต้องปฏิบัติตามเพื่อให้การแสดงเจตนาของตนสมบูรณ์เป็นนิติกรรม และหากผู้แสดงเจตนามิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบพิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว นิติกรรมนั้นก็จะเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 152 ซึ่งมาตรานี้ บัญญัติไว้ว่า การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้การนั้นเป็นโมฆะแม้ว่ากฎหมายจะเคารพในการแสดงเจตนาของบุคคล แต่ถ้าการแสดงเจตนาของบุคคลไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด กฎหมายก็ไม่บังคับให้และยังกำหนดให้การนั้น ตกเป็นโมฆะทันที ไม่เกิดเป็นผลนิติกรรมแต่อย่างใด

แบบแห่งนิติกรรม แบ่งได้ เป็น 5 แบบ คือ                 

            1. แบบทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมประเภทนี้เป็นนิติกรรมที่มีความสำคัญ กฎหมายจึงกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือ และต้องจดทะเบียน กล่าวคือ ต้องให้เจ้าพนักงานบันทึกเกี่ยวกับนิติกรรมนั้นๆ เอาไว้เป็นหลักฐาน กฎหมายกำหนดไว้ว่า นิติกรรมประเภทใดบ้างที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ทำจะเป็นโมฆะทันทีไม่มีผลบังคับตามกฎหมายแต่อย่างใด เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์พิเศษ[1] การขายฝากอสังหาริมทรัพย์[2]  แลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์[3]  การจำนอง[4]  การให้ เป็นต้น นิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นทรัพย์สินประเภทที่มีค่ามากรัฐต้องเข้าควบคุมการโอน การเปลี่ยนมือ เพื่อป้องกันการหลอกลวง การฉ้อโกง การข่มขู่ซึ่งอาจเกิดมีขึ้นได้  

            2. แบบต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ประเภทนี้กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ แต่บังคับให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ จัดตั้งบริษัทจำกัด การจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

            แบบที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คำว่า ทะเบียนมีความหมายกว้าง คือ          

          ก.  ทะเบียนนิติกรรม เช่น ห้างหุ้นส่วนบริษัท   ข.  ทะเบียนกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ค.  ทะเบียนสถานบุคคล เช่น คนเกิด คนตาย สมรส หย่า รับบุตรบุญธรรม

                3. แบบต้องทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีนี้แม้จะต้องทำเป็นหนังสือต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ก็มิได้มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องจดทะเบียนแต่อย่างใด นิติกรรมแบบนี้คล้ายการจดทะเบียน ต่างที่เพียงแต่ไปปรากฏตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงตนโดยทำเป็นหนังสือไม่มีแบบพิมพ์หรือแบบฟอร์มให้ เช่นการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองจะต้องทำต่อหน้านายอำเภอ[5]  ทำพินัยกรรมเอกสารลับการคัดค้านตั๋วเงินก็ต้องคัดค้านต่อนายอำเภอ[6]เป็นต้น

               4. แบบต้องทำเป็นหนังสือระหว่างกันเอง คือเป็นกรณีที่ผู้ทำนิติกรรมจะต้องทำเป็นหนังสือกันเองเพื่อไม่ให้การแสดงเจตนานั้นเป็นการเลื่อนลอยจนเกินไป ไม่จำเป็นต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับรู้เป็นเพียงเกี่ยวข้องกันเฉพาะระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น เช่นการทำสัญญาเช่าซื้อ[7] การรับสภาพหนี้[8] ตั๋วเงิน[9] การโอนหุ้น[10] การโอนหนี้[11] สัญญาหย่าโดยความยินยอม[12] เป็นต้น     

5. แบบอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ เป็นแบบเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องๆ ไปต่างไปจากนิติกรรม 4 แบบ ดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นนิติกรรมที่ กฎหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษ เช่น เช็ค ต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีรายการระบุไว้ มิฉะนั้นจะเป็นเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงินไม่สมบูรณ์ เป็นต้น



[1] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 456 วรรคแรก.

[2] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 491.

[3] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 519.

[4] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 714.

[5] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 1658.

[6] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 961.

[7] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 572.

[8] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 193/14.

[9] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา  908, 982, 987.

[10] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 1129.

[11] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 306.

[12] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, มาตรา 1514.

คำสำคัญ (Tags): #กฎหมาย#นิติกรรม
หมายเลขบันทึก: 259178เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณมากๆๆๆนะค่ะ

ถ้าไม่มีลิงค์หน้านี้ การบ้านวันนี้คงไม่เสร็จ

ขอบคุณจากใจจริงนะ ^^

สวัสดีครับ คุณจิรัชยา

ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่านและความรู้ตรงนี้มีประโยชน์สำหรับคุณ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดี ที่จะใช้เตรียมตัวในการสอบ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณนพปฎล

ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น ขอให้สอบได้ A ครับ

ขอบคุณฮะ

ข้อมูลนี้มีประโยชน์มากคับ

ผมจะนำไปใช้ไนการรายงาน

ขอบคุณมากๆคับ

ขอบคุณครับ คุณทศพร

หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับคุณไม่มากก็น้อย

ดร.เมธา คับ

ผมอยากรู้เกี่ยวกับ

คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง เช่าทรัพย์เช่าชื้อ หน่อยคับ

ไงก็ขอขอบพระคุณนะคับ

สวัสดีครับ คุณ ธนากร

เช่าทรัพย์เช่าซื้อ อยู่บล็อกใหม่เพราะมีเนื้อหาค่อยข้างมากไปเปิดดู

ขอบพระคุณมากครับผม

มีประโยชน์มากครับ

ขอบคุณเช่นเดียวกันที่สนใจเข้ามาอ่านครับ

อยากรบกวนท่านอาจารย์

เขียนเรื่องกฎจราจร เรื่องความเร็ว การแสดงบัตรทั้งของพนักงานและประชาน ขอแบบละเอียดเลยนะครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ทนายความสบายดีนะคะ

ยังคิดว่า อยากจะลงเรียนนิติฯ นะคะ แต่ ...

ขอศึกษาผ่านตำราก่อนแล้วกันเจ้าค่อ :)

ขอบคุณมากครับ ได้ข้อมูลไปทำรายงานเยอะเลย ครับ :)

สอบถามอาจารย์ค่ะ กรณีเจ้าของที่ดินที่มีที่งอก นำที่งอกขาย แต่ทำเป็นสัญญา ซื้อขายโดยให้ ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน เป็นพยาน รับทราบ จะมีผลทางกฎหมาย ได้มั๊ยค่ะ โดยไม่ได้ไปทำการซื้อขายกับเจ้าหน้าที่ที่ดินค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท