โมเดลสมรรถนะข้าราชการไทย


โมเดลสมรรถนะ

จากการปรับปรุงระเบียบข้าราชการพลเรือนใหม่และประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา  มีผลทำให้ข้าราชการไทยต้องมีการพัฒนาตนเองให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง  โยเฉพาะในเรื่องของการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน  จากเดินที่พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบเป้าหมายมาใช้การพิจารณาที่แบ่งออกเป้น  2  ส่วนคือ  ส่วนของผลการปฏิบัติงาน (PA)  คิดค่าน้ำหนักร้อยละ  70  นำมารวมกับส่วนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เรียกว่าสมรรถนะ  ร้อยละ 30  ทั้งสองส่วนจะถูกนำมารวมกันเพื่อนำไปสู่การเทียบเกณฑ์พิจารณาที่  กพ. กำหนดไว้  ในส่วนของผลการปฏิบัติงาน (PA)  ไม่ค่อยเป็นที่น่าหนักใจเท่าไหร่เพราะเป็นงานที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติอยู่แล้ว  แต่ในส่วนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่เรียกว่าสมรรถนะนั้นนับว่าเป็นสิ่งใหม่ที่แต่ละองค์กรต้องจัดหาเพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละสายงานในองค์กรของตนเอง  เนื่องจากในแต่ละองค์กรมีแนวนโยบาย  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  และบริบทของวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน  ไม่สามารถนำเอาโมเดลสมรรถนะที่เป็นรูปแบบกลางมาใช้ได้ทั้งหมด  เนื่องจากในส่วนของโมเดลสมรรถนะจะประกอบด้วย  สมรรถนะหลัก  และสมรรถนะสายงาน  ดังนี้คือ  สมรรถนะหลักตาม กพ. กำหนด (ทุกคนต้องมีรวม 5 สมรรถนะ)  สมรรถนะองค์กร   สมรรถนะกลุ่ม/สายงาน  สมรรถนะเฉพาะสายงาน (Specific  Competency)  ความรู้ 2 ด้าน  และทักษะ 4 ด้าน  ในแต่ละสมรรถนะ  ความรู้และทักษะต้องมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำจำแนกตามประเภทสายงานในแต่ละระดับ เช่น  สายงานนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ  สายงานนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  สายงานนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ เป็นต้น  จากที่กล่าวมาจะพบว่าโมเดลสมรรถนะของแต่ละองค์กรจะมีทั้งส่วนที่เหมือนกันและส่วนที่ต่างกัน  ดังนั้นจึงไม่สามารถนำโมเดลสมรรถนะกลางมาใช้ได้กับทุกองค์กร  ในรายละเอียดขั้นตอนการจัดทำสมรรถนะจะเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 259017เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
สิทธิพงศ์ อุปจักร์

ผมทำงานเป็นทันตาภิบาลทำงานอยู่ต่างจังหวัดพอดีมีโอกาสได้เห็นการกำหนดมาตรฐานสมรรถนะจำแนกตามสายงานเห็นว่าสายงานเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงานที่ผมดำรงอยู่ทุกวันนี้มีการกำหนดมาตรฐานสูงกว่าสายอื่นๆหน่วยงานข้างเคียงกำหนดสูงพอๆกับระดับนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ ซึ่งในความเป็นจริงพวกเราก็ไม่ได้เก่งอะไรกันขนาดนั้นและผลการประเมินมันจะไม่ผ่านกัน ขนาดตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโสซึ่งเป็นแท่งที่สูงกว่ายังมีการประเมินสมรถนะตำกว่า ควรจะมีการทบทวนกันใหม่และแก้ไขให้เหมือนตำแหน่งอื่นๆในระดับเดียวกัน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขหรือทันตาภิบาลระดับชำนาญงานก็ ซี 6 เดิมการประเมินบางตัวสูงกว่าทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ( แท่งวิชาการ ซี 8 เดิม ) ขอความเป็นธรรมครับ เราแท่งปฏิบัติการระดับชำนาญงานแท่งอาวุโสยังไม่เปิดกรอบให้ใรเลย จะเอาอะไรกันนักหนา เงินพิเศษต่างๆก็ไม่ได้ได้รับเฉพาะเงินเดือนอย่างเดียวครับ

การประเมินมาตรฐานสูงแบบนี้เพืออะไร ควรไปกำหนดในแท่งนักวิชาการเพราะเขาเป็นคนเก่ง

ขอบคุณครับ ก็คงจะเคลื่อนไหวกันต่อไปครับ

ที่เขากำหนดสมรรถนะไว้สูงตามที่บอก คิดว่าน่าจะเป็นการกำหนดเกณฑ์เพื่อการพัฒนาตนเอง ไม่ใช่การนำมาเป็นเกณฑ์การประเมินงินเดือนนะ

ไม่ใช่การนำมาเป็นเกณฑ์การประเมินงินเดือนที่ว่าหนะ แล้ว 30% นั่นคืออะไรล่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท