ถนอม
ว้าที่ร้อยตรี ถนอม ทาคำแปง

บทคัดย่อ


ระบบการดูแลช่วยเหลือฯ ตามวงจรเดมมิ่ง (PDCA) และตามมาตรฐานฯ

 

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : รายงานผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

โรงเรียนแม่วินสามัคคี  ปีการศึกษา 2551 

 

ผู้รายงาน : ว่าที่ ร้อยตรีถนอม  ทาคำแปง
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม  เชียงใหม่, 2551

 

การรายงานผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคี ปีการศึกษา 2551

มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1) เพื่อศึกษาผลการบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ตามวงจรเดมมิ่ง (PDCA)  

2) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามมาตรฐาน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนแม่วินสามัคคี

3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน 2 คน ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น  จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน  จำนวน 9 คน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 269 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert’s Scale) และแบบคำถามปลายเปิด (Open – ended Question) แบ่งออกเป็น  2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) การบริหารการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี  ในด้านการวางแผน การปฏิบัติงาน (Plan) การดำเนินงาน (Do) การตรวจสอบประเมินผล (Check) และการปรับปรุงเพื่อพัฒนา (Act) ผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูที่ปรึกษา / ครูประจำชั้น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งออกเป็น  2 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การบริหารการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคี ตามวงจรเดมมิ่ง (PDCA) และตอนที่  2 เป็นคำถามแบบปลายเปิดเพื่อสอบถามปัญหา อุปสรรค  ข้อเสนอแนะ และส่วนที่ 2) การประเมินความพึงพอใจในการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ นักเรียน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้  ตอนที่ 1 การประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี และตอนที่ 2 เป็นคำถามแบบปลายเปิดเพื่อสอบถาม ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ  การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหา ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  ผลการประเมินพบว่า

    ผลการบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี ตามวงจรเดมมิ่ง(PDCA)

          1.ผลการบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่วินสามัคคี  สรุปได้ดังนี้                               1.1 ด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน (Plan)                                                     

                         โดยภาพรวม พบว่า การบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน (Plan) มีผลการดำเนินงาน   ระดับมาก                       

                         ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินสูงสุด พบว่าการกำหนด บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ของบุคลากรมีการดำเนินงานระดับสูงสุด                                                                           

                         ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินมาก พบว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการ มีการดำเนินงานระดับมาก      

                         ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับปานกลาง พบว่า การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน และการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน มีการดำเนินงาน ระดับปานกลาง                                                                 

                         ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับต่ำสุด พบว่า การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการประกันคุณภาพ ฯ มีการดำเนินงาน ระดับต่ำที่สุด    

                       1.2 ด้านการดำเนินงาน (Do)
                            โดยภาพรวม พบว่า                                                                        

                            การบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่วินสามัคคี ด้านการดำเนินงาน (Do) มีผลการดำเนินงาน ระดับมาก 

                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินสูงสุด พบว่า การทำงานเป็นทีม 
มีการดำเนินงานระดับสูงสุด
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินมาก พบว่า การมีส่วนร่วมของบุคลากร
ภายในสถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา มีการดำเนินงาน  ระดับมาก
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับปานกลาง พบว่า การสนับสนุนทรัพยากร
เพื่อการปฏิบัติงาน มีการดำเนินงานระดับปานกลาง         
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับต่ำที่สุด พบว่า การกำกับ ติดตามมีการดำเนินงานระดับต่ำที่สุด     
		     1.3 ด้านการตรวจสอบประเมินผล  (Check) 
                     	  โดยภาพรวม พบว่า 
การบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่วินสามัคคี
ด้านการตรวจสอบประเมินผล
(Check) มีผลการดำเนินงาน  ระดับมาก 
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินสูงสุด พบว่า มีการประเมินทบทวน
ภาคเรียนละ
1 ครั้ง มีการดำเนินงาน ระดับสูงสุด
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินมาก พบว่า มีการจัดทำรายงาน
ผลการประเมินในแต่ละระดับชั้น มีการดำเนินงาน ระดับมาก
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับปานกลาง พบว่า มีการบันทึก การปฏิบัติงานทุกระยะ
มีการดำเนินงาน ระดับปานกลาง         
                     	  ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับต่ำที่สุด พบว่า มีการนิเทศการปฏิบัติงานทุกระยะ 
การดำเนินงานระดับต่ำที่สุด      
                     1.4  ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนา (Act)
                            โดยภาพรวม พบว่า 
การบริหารงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแม่วินสามัคคี
ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนา
(Act) มีผลการดำเนินงานระดับมาก 
                            ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินสูงสุด พบว่า การนำผลการประเมิน
ไปวางแผนเพื่อการพัฒนามีการดำเนินงาน ระดับสูงที่สุด
                            ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับการประเมินมาก พบว่า การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน มีการดำเนินงาน ระดับมาก
                            ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับปานกลาง พบว่า การสนับสนุนการดำเนินงานปรับปรุง
แก้ไข มีการดำเนินงาน ระดับปานกลาง         
            	             ถ้าพิจารณาจากการดำเนินงานที่มีระดับต่ำที่สุด พบว่า การปรึกษาหารือ การปฏิบัติงาน
มีการดำเนินงาน ระดับต่ำที่สุด


2.นักเรียนและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคี มีความพึงพอใจ
ต่อการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี สรุปได้ดังนี้

      2.1 นักเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคี มีความพึงพอใจสูงสุดในด้านที่นักเรียนในความปกครอง ได้รับ การส่งเสริมในด้านต่าง ๆ (วิชาการ/กีฬา/อาชีพ/ศิลปะ/ดนตรี ฯลฯ)  ในระดับมาก     

      2.2  คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน  มีความพึงพอใจสูงสุด  ในด้านการแจ้งข้อมูลข่าวสาร นักเรียนและโรงเรียนให้ผู้ปกครองรับทราบ การติดต่องานต่าง ๆ ภายในโรงเรียน การเยี่ยมบ้านของครูประจำชั้น/ ครูที่ปรึกษา นักเรียนในความปกครองได้รับการส่งเสริมในด้านต่าง ๆ  (วิชาการ/กีฬา/อาชีพ/ศิลปะ/ดนตรี ฯลฯ) การมีส่วนร่วมและพัฒนาในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูมีแนวทางการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สัมพันธภาพ ระหว่าง นักเรียนกับครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษาเป็นไปด้วยดีและอบอุ่น การที่นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข การประกัน คุณภาพ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งด้านคุณภาพนักเรียน กระบวนการและปัจจัย ในระดับมากที่สุด

                              ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามมาตรฐานระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี มีดังนี้

     ในด้านคุณภาพนักเรียน มาตรฐานที่ 1 จำนวน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผลการประเมิน โดยรวม อยู่ในเกณฑ์คุณภาพ ระดับ 4 จำนวน3ตัวชี้วัดและอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับ3จำนวน3ตัวชี้วัดซึ่งผลการประเมินการดำเนินงานการประกันคุณภาพระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคีตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านคุณภาพนักเรียนทุกตัวชี้วัด โดยรวมอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 3.50         

ส่วนปัญหาอุปสรรคในด้านคุณภาพนักเรียน คือ นักเรียนบางส่วนยังปรับตัวเข้ากับกลุ่มได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจาก โรงเรียนมีนักเรียนหลายชนเผ่ามาเรียนอยู่รวมกัน เช่น เผ่ากะเหรี่ยง ม้ง พื้นเมือง การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันยังต้อง อาศัยเวลา เพราะแต่ละชนเผ่ามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ทำให้ปรับตัวได้ช้า แต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันได้อย่าง ด้อย่างมีความสุข ไม่มีปัญหาการทะเลาะวิวาท นักเรียนขาดการส่งเสริมปรับปรุงพัฒนาตนเองตามความรู้ ความถนัด ความสนใจของตนเองอย่างเพียงพอ

สำหรับข้อเสนอแนะในด้านคุณภาพนักเรียนคือโรงเรียนควรจัดกิจกรรมนักเรียนที่มีการรวมชนเผ่าเพื่อการปรับตัว เข้าหากันได้เร็วขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทำกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้นควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียน แสดงศักยภาพของตนเองตามความรู้ความถนัดความสนใจอย่างเพียงพอและต่อเนื่องครูทุกคนในโรงเรียนควรร่วมมือกัน ในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มากยิ่งขึ้นและโรงเรียนควรจัดแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้หลากหลายเพื่อส่งเสริม ให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

             ในด้านกระบวนการ มาตรฐานที่ 2 จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่าผลการประเมินโดยรวม อยู่ในเกณฑ์คุณภาพ ระดับ 4  ทุกตัวชี้วัดซึ่งผลการประเมินการดำเนินงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคี ตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ด้านกระบวนการทุกตัวชี้วัดโดยรวม อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.00.                

            ส่วนปัญหาอุปสรรคในด้านกระบวนการคือการส่งเสริมการจัดทำรายงานผลการประเมินเพื่อทบทวนและนำผล การประเมินไปปรับปรุงและเผยแพร่มีน้อยโรงเรียนและชุมชนมีการช่วยเหลือในรูปแบบสหวิชาชีพน้อยการเยี่ยมบ้านนักเรียน คณะครูยังประสบปัญหาไม่พบกับผู้ปกครองบางส่วน ทำให้ขาดข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน

             สำหรับข้อเสนอแนะในด้านกระบวนการ คือ โรงเรียนควรส่งเสริมให้นำผลการประเมิน ไปปรับปรุงพัฒนางาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องโรงเรียนควรเน้นการช่วยเหลือนักเรียนในรูปแบบสหวิชาชีพ โดยการประสานกับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มากขึ้น ควรมีหนังสือแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบล่วงหน้า ก่อนการไปเยี่ยมบ้านนักเรียน

              ในด้านปัจจัย  มาตรฐานที่ 3  จำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผลการประเมินโดยรวม อยู่ในเกณฑ์เกณฑ์คุณภาพ ระดับ 4 ทุกตัวชี้วัดซึ่งผลการประเมินการดำเนินงานการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนแม่วินสามัคคีตามมาตรฐานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน   ด้านปัจจัยทุกตัวชี้วัดโดยรวม อยู่ที่ค่าเฉลี่ย  4.00. 

             ส่วนปัญหาอุปสรรคในด้านปัจจัยคือครูมีความเข้าใจในหลักการทำงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนน้อย ครูส่วนใหญ่ยังยึดติดกับระบบการปกครองนักเรียนแบบเดิมๆ ทำให้นักเรียนในบางห้องเรียนได้รับการพัฒนาและแก้ไขปัญหา ไม่ตรงจุดและล่าช้า ครูได้รับการพัฒนาตนเองทางด้านจิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา ไม่ครบทุกคน

              สำหรับข้อเสนอแนะในด้านปัจจัยคือควรจัดให้มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในทุกด้านอย่างเพียงพอ โดยการนำเอา เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและครูทุกคนควรได้รับการอบรมเป็นนักจิตวิทยาการแนะแนวและให้คำปรึกษาเบื้องต้น ครูควรเปลี่ยนทัศนคติในการดูแลแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือนักเรียนรวมทั้งการเสริมสร้างวินัยเชิงบวกและดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างจริงจัง และความร่วมมือจากคณะกรรมการทุกทีมในโรงเรียนทั้งทีมนำ  ทีมประสานและทีมทำ

 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการประกันคุณภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนแม่วินสามัคคี สรุปได้ดังต่อไปนี้

            1.  ด้านการวางแผนปฏิบัติงาน (Plan) ปัญหาและอุปสรรค  ครูรับงานหลายหน้าที่ ภาระงานมาก และซ้ำซ้อนกัน  ขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและขั้นตอนการคัดกรองนักเรียน ครูและผู้ปกครองยังขาดความรู้ทางด้านจิตวิทยาเด็กในแต่ละวัย  โรงเรียนไม่มีรั้วโดยรอบ ทำให้นักเรียนหนีออกจาก โรงเรียนได้ง่าย  

             ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษา วิเคราะห์งานของครูในโรงเรียนเพื่อลดการซ้ำซ้อนของงาน มีการกระจายงานให้ ครูอย่างทั่วถึง  ควรมีการจัดกิจกรรมเพิ่มความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กแก่ครูและผู้ปกครอง  ควรมีการจัด การประชุมเชิงปฏิบัติการการดำเนินการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการคัดกรองนักเรียน ควรมีแผนการสร้างรั้วให้รอบโรงเรียน เพื่อป้องกันปัญหานักเรียนหนีออกนอกโรงเรียนและ ครูสามารถดูแลนักเรียนได้ดีขึ้น

            2.  ด้านการดำเนินงาน  (Do) ปัญหาและอุปสรรค ครูมีภาระงานสอนและกิจกรรมต่าง ๆ มากทั้งภายใน และนอกโรงเรียน  ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาบางคนขาดความเอาใจใส่นักเรียน การทำงานเป็นทีม มีปัญหา เกี่ยวกับ ข้อจำกัดเวลาของเพื่อนร่วมทีม นักเรียนไม่มีระเบียบวินัย มีพฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่ดี ขาดความอบอุ่นในครอบครัว ไม่ได้ อยู่กับบิดา มารดา   ผู้ปกครองบางคนไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน ในการพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน ไม่มีเวลา เอาใจใส่นักเรียนในความปกครอง  นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเพศมากขึ้น การสนับสนุนงบประมาณ ในการเยี่ยมบ้าน นักเรียนมีน้อย  โปรแกรมการคัดกรองนักเรียนยังไม่สมบูรณ์

               ข้อเสนอแนะ ครูควรมอบความรักนักเรียนอย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม จัดสรรทุนการศึกษา และ อุปกรณ์ การเรียนให้นักเรียนอย่างทั่วถึง ควรเพิ่มโครงการ/กิจกรรม ที่พัฒนาวินัยและความรับผิดชอบของนักเรียนให้มากขึ้น ควรมีการจัดการเรียนการสอนเพศศึกษา และหรือจัดค่ายเพศศึกษา ควรมีการปรับปรุง หรือจัดหาโปรแกรม การคัดกรอง นักเรียนที่สมบูรณ์  ควรมีการประชุมเครือข่ายผู้ปกครองให้บ่อยครั้งขึ้น

       3. ด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) ปัญหาและอุปสรรคครูบางคนส่งรายงานระบบ การดูแล ช่วยเหลือนักเรียนล่าช้า ทำให้การสรุปรวมเลยเวลาตามกำหนดในปฏิทินปฏิบัติงาน

             ข้อเสนอแนะ ควรมีการเสริมแรง สร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรและหลังการประเมินผล ควรมีการจัดสรรรางวัลให้กับครูที่ปฏิบัติงานที่มีผลงานดีเด่น 

       4. ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนา (Act) ปัญหาและอุปสรรคขาดการศึกษาองค์ความรู้จากภายนอก เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนางานโรงเรียนในเครือข่าย/โรงเรียนระดับประถมศึกษามีการดำเนินงานตามมาตรฐานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนน้อยขาดการส่งต่อข้อมูลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเมื่อนักเรียนย้ายมาเข้าเรียนในโรงเรียน แม่วินสามัคคีทำให้การแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาหรือกลุ่มเสี่ยงล่าช้า

                      ข้อเสนอแนะ  ควรเพิ่มเวลาในการประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อการปรับปรุงพัฒนา ควรนำแนวปฏิบัติที่ดี หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมานำเสนอให้บุคลากรในโรงเรียนได้รับรู้ เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนางานในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น ควรให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในเครือข่าย/โรงเรียนระดับประถมศึกษา ควรนำระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาบริหารจัดการให้ได้มาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 258803เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ

สวัสดีค่ะ

***ผู้ปกครองสำคัญมากสำหรับการช่วยเหลือนักเรียนทุกระดับ บางกรณีแค่พูดคุยกับผู้ปกครองที่ลูกมีปัญหาหนักๆ ก้แทบไม่มีเวลาทำอย่างอื่นแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท