๙ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ (องค์ที่ ๔-๖)


ตอนที่ ๒ - แนะนำทางนมัสการ พระโบราณในตัวเมืองอุตรดิตถ์

 

 

 


                     - ๙ มหามงคลแห่งเมืองท่าน้ำเหนือ -                 

  ๙ มหาพุทธปฏิมากรศักดิ์สิทธิ์   
        แห่งเมืองอุตรดิตถ์        

9_holy_buddha_in_uttaradit
http://gotoknow.org/file/tevaprapas/image003.gif
http://gotoknow.org/file/tevaprapas/image004.gif

รายนาม ๙ พระพุทธรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ (เรียงตามเส้นทางนมัสการฯ)

     
  • หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) (วัดดงสระแก้ว)  
  • หลวงพ่อธรรมจักร
  • หลวงพ่อพุทธรังสี (วัดพระยืนพุทธบาทยุคล)
  • หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (วัดหมอนไม้)  
  • หลวงพ่อเพ็ชร   
  • หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย)
  • หลวงพ่อสุวรรณเภตรา (วัดคุ้งตะเภา)  
  • หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์
  • พระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) (วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ)
  •  

 

     โอ้โห! วิ่งรอกไหว้พระ ๙ องค์ ไม่ใกล้ไม่ไกลครับ ๓๐ กว่ากิโล แฮะ ๆ เอาเป็นว่าใครมีเวลาก็แบ่ง ๆ ไปก็ละกันครับ หรือใครศรัทธาแก่กล้า จะวิ่งวันเดียวครบ ๙ องค์ ๘ อาราม ก็ได้ครับ นับถือ ๆ

 

     วันนี้ขอนำประวัติมาลงให้อ่านกันอีก ๓ องค์ เส้นทางต่อจากตอนที่ ๑ พระโบราณแห่งเมืองลับแล ตอนนี้เป็นตอนพระโบราณแห่งตัวเมืองอุตรดิตถ์ครับ ทั้ง ๓ องค์นี้อยู่ในตัวเมืองอุตรดิตถ์ เดินทางสะดวกครับผม^^

 


 

    ๔      หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดหมอนไม้        

 

http://lh4.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/SfiCs98M9II/AAAAAAAADcU/skWjDzvMZyo/240.jpg

หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๙ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอุตรดิตถ์ องค์พระพุทธรูปเป็นพระสกุลช่างสุโขทัย สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตัวองค์พระเป็นเนื้อโลหะสำริด ปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถ วัดหมอนไม้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

สำหรับหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ขอกุญแจโบสถ์เข้านมัสการได้จากพระผู้ดูแลโบสถ์ครับผม ^^ 

ประวัติ 

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ สมภารติ่ง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ในสมัยนั้น ได้พบหลวงพ่อสัมฤทธิ์ในวิหารเก่าในวัดร้างแห่งหนึ่งในอำเภอลับแล องค์พระเดิมมีความชำรุดมาก ท่านจึงได้นำชาวบ้านและพระสงฆ์มาอัญเชิญองค์พระกลับมายังวัดหมอนไม้เพื่อ สักการะบูชา โดยท่านเจ้าอาวาสองค์ต่อมาคือสมภารหวิง ได้ลงไปศีกษาพระปริยัติธรรมยังวัดสระเกษ กรุงเทพมหานคร จึงได้ชักชวนชาวบ้านเรี่ยไรได้เงินและโลหะทองแดงจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปให้ช่าง ทำการบูรณะหลวงพ่อให้สมบูรณ์ โดยสมภารหวิงได้อัญเชิญหลวงพ่อไปซ่อมแซมยังบ้านช่างหล่อ ธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงอัญเชิญกลับมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถวัดหมอนไม้จนปัจจุบัน

อุโบสถวัดหมอนไม้


     วัดหมอนไม้
ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันเป็นวัดที่จำพรรษาของเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
     วัดหมอนไม้ ปัจจุบันเป็นวัดที่มีอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นศูนย์การศึกษาของวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก - สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย

 

 


    ๕       หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน        

http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/SfiFYVq5YwI/AAAAAAAADdU/QOyNWm0kEyk/wadthatanon-2.gif  

หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปเนื้อโลหะสำริด ปางมารวิชัย (ขัดสมาธิเพชร) ศิลปะเชียงแสนสิงห์ หนึ่ง หน้าตักกว้าง ๓๒ นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี

สำหรับหลวงพ่อเพ็ชร ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ ทางวัดเปิดให้เข้าสักการะได้ทุกวันครับ ใครอยากกราบกราบ ใครอยากปิดทอง ปิดองค์จำลองหน้าวิหารไปก่อนครับผม อิอิ

ประวัติ 

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอหนองโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นวัดโบราณ พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและ ลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้

ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่ จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพชร 

อัญเชิญไปวัดเบญจมบพิตร 

ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพชรไปจากวัดวังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

อัญเชิญกลับมาจังหวัดอุตรดิตถ์ 

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพชร " ว่า

"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.๑๑๙ พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้ วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. ๑๒๙ หลวงนฤบาล ( จะพันยา ) อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน " 

เหตุที่ทรงรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะบูชาได้สะดวก

ปัจจุบันหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ในวิหารทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/e/e4/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99_%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg/350px-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99_%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg


     วัดท่าถนน
เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ ๑ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก - สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย และภาพจากศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์

 

   


   ๖        หลวงพ่อเชียงแสน วัดธรรมาธิปไตย         

http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/SfiFYcM1jZI/AAAAAAAADc8/GyHKcGW8oEk/dgbgb_.jpg  

หลวงพ่อเชียงแสน (วัดธรรมาธิปไตย) เป็นพระประธานในอุโบสถธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย จังหวัดอุตรดิตถ์ (ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๘ นิ้ว สูง ๖๗ นิ้ว) มีพุทธลักษณะปางมารวิชัย เนื้อโลหะสัมฤทธิ์บริสุทธิ์ สร้างในสมัยสุโขทัย สกุลช่างสุโขทัยยุคกลาง มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น ได้อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕

หลวงพ่อเชียงแสนเป็น พระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัยองค์สำคัญ ๑ ใน ๒ องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดคุ้งตะเภานั้นไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปสักการะเหมือนวัดธรรมาธิปไตย เนื่องด้วยปัญหารักษาความปลอดภัย

สำหรับหลวงพ่อเชียงแสน ประดิษบานอยู่ที่อาคารอุโบสถธรรมสภาชั้นสอง ทางวัดจะเปิดให้เข้าสักการะในวันสำคัญของทางวัดครับ แต่ใครอยากนมัสการสามารถเรียนขออนุญาตจากพระสงฆ์ในวัดได้ครับผม

ประวัติ 

พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย และอดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ (ในสมัยนั้น) นำหลวงพ่อเชียงแสนมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ และนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานอาคารอุโบสถธรรมสภา ที่สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อเชียงแสนเป็น พระพุทธรูปโบราณสำคัญ ๑ ใน ๓ องค์ และเป็นพระพุทธรูปยุคสุโขทัยองค์สำคัญ ๑ ใน ๒ องค์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน โดยหลวงพ่อเชียงแสนนั้น ได้มีการจารึกที่ฐานพระระบุว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดหรืออาจเป็นกุศโลบายในการป้องกันพระจากการ โจรกรรมก็เป็นได้

ซุ้มประตูวัดธรรมาธิปไตย

     วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดต้นมะขาม ตั้งอยู่ใกล้สี่แยกจุดตัดถนนอินใจมี กับถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งอาคารธรรมสภาซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาบานประตูวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประตูไม้แกะสลักที่มีความสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์และสวยงามเป็นที่สองรองจากบานประตูวัดสุทัศนเทพวราราม

     ปัจจุบันวัดธรรมาธิปไตยเป็นที่ตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ (อาคารธรรมสภาชั้นล่าง) เป็นวัดเจ้าคณะอำเภอตรอน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดเช่น กิจกรรมอบรมและการประกวดต่าง ๆ ในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

     วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดท่าทราย เนื่องจากเดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ท่าอิฐล่าง) หรือบ้านบางโพเหนือ ต่อมาน้ำได้กัดเซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงที่ตั้งวัด จึงต้องย้ายหนีน้ำขึ้นมาห่างจากที่เดิมประมาณสองกิโลเมตร สภาพที่ตั้งใหม่มีต้นไม้ร่มรื่นมากมาย โดยเฉพาะมีต้นมะขามขนาดใหญ่อย่ในบริเวณวัด จึงได้ชื่อวัดใหม่ว่า วัดต้นมะขาม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๔๕

     ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดได้ส่ง พระสุธรรมเมธี (บันลือ ธมฺมธโช ป.ธ.๘) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดต้นมะขาม เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ พระสุธรรมเมธีดำริว่าชื่อวัดต้นมะขามนั้นฟังเหมือนอยู่ในป่าและต้นมะขามใหญ่ นั้นก็ไม่มีปรากฏแล้ว อีกทั้งวัดในขณะนั้นอยู่กลางเมืองอุตรดิตถ์มีผู้คนผ่านไปมามากควรเปลี่ยน ชื่อใหม่ให้ไพเราะ จึงได้ทำการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดธรรมาธิปไตย ตั้งแต่นั้นมา

 

ขอบคุณข้อมูลจาก - สารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย, มงคล กตปุญฺโญ.พระมหา. ประวัติวัดธรรมาธิปไตย.พิมพ์ครั้งที่ ๑.อุตรดิตถ์:โชคดีการพิมพ์, ๒๕๕๑

 

   


หมายเลขบันทึก: 258290เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท