ระบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการและฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในแผนกฝากครรภ์


การพยาบาลมารดาและทารก

แผนดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการและฟันผุ

โรงพยาบาลบ้านหมี่

 

วัตถุประสงค์

1. พัฒนารูปแบบการบริการบูรณาการเพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาโภชนาการและฟันผุในเด็กปฐมวัยในคลินิกฝากครรภ์และคลินิกเด็กดี

2. พัฒนาระบบเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กอ้วนและขาดสารอาหารและโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยที่มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี

กลุ่มเป้าหมาย

1. ผู้รับบริการในคลินิกฝากครรภ์ (ANC)

2. ผู้รับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC)

ผู้มีส่วนร่วม

1. กุมารแพทย์

2. สูติแพทย์

3. พยาบาลคลินิกฝากครรภ์และคลินิกสุขภาพเด็กดี

4. ทันตแพทย์และทันตบุคลากร

5. นักสุขศึกษา

6. โภชนากร

7. นักวิชาการ

8. เจ้าหน้าที่ในPCU

กิจกรรมสำคัญในคลินิกฝากครรภ์

หลักการและเหตุผล

                ปัจจัยด้านชีววิทยา ได้แก่ ยีน/พันธุกรรม และภาวะโภชนาการของหญิงมีครรภ์ มีความจำเป็นต้องมีภาวะโภชนาการที่ดีในระหว่างมีครรภ์ต่อเนื่องจากระยะก่อนมีครรภ์ ซึ่งมีผลต่อน้ำหนักตัวแรกคลอดของทารก จากรายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการของทารกแรกเกิด พบว่า ยังคงมีปัญหาของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย LBW (Low Birth Weight, LBW < 2,500 กรัม) อยู่ร้อยละ 8.9   สาเหตุจากมารดามีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งภาวะพร่องโภชนาการเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่สำคัญซึ่งส่งผลปัญหาดังกล่าว หากมีการคัดกรองและแก้ไขก็จะลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อมารดาและทารกได้

ภาวะโภชนาการที่ดีจะมีผลในทางบวกต่อการคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักทารกแรกเกิดและอัตราตายของทารกระดับผลกระทบนี้ขึ้นอยู่กับภาวะโภชนาการของมารดาการประเมินภาวะโภชนาการควรทำตลอดระยะตั้งครรภ์ การเพิ่มน้ำหนักตัวของมารดา เป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะโภชนาการทางอ้อมที่ดีที่สุดของทารกในครรภ์ และน้ำหนักมารดาก่อนตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักทารกแรกคลอด การเพิ่มน้ำหนักของมารดาควรคิดจากดัชนีมวลน้ำหนัก (Body mass Index, BMI) คือน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์เป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

1.วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการบูรณาการเพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาโภชนาการและฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

            แผนกฝากครรภ์ งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลบ้านหมี่

3. กลุ่มเป้าหมาย

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2551 - เมษายน 2551 จำนวน 200 คน

4. สถานที่ดำเนินการ

แผนกฝากครรภ์ งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล

5. ระยะเวลาดำเนินการ

ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 - กันยายน 2551

6. วิธีดำเนินโครงการ

ขั้นเตรียมการ (มกราคม 2551)

1. เสนอโครงการอนุมัติตามขั้นตอน

2.  แต่งตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย

                2.1 กุมารแพทย์

                2.2 สูติแพทย์

2.3 พยาบาลคลินิกฝากครรภ์และคลินิกสุขภาพเด็กดี

2.4 ทันตแพทย์และทันตบุคลากร

2.5 นักสุขศึกษา

2.6นักโภชนากร

3. เตรียมเครื่องมือ ประกอบด้วย

3.1 แผนการสอน จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้

                3.1.1 การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์

                3.1.2 อันตรายจากโรคอ้วนระหว่างครรภ์

                3.1.3 การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์

                3.1.4 การดูแลสุขภาพช่องปาก

3.2 สื่อการสอนจำนวน 4 เรื่อง ดังนี้

                3.2.1 การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์

                3.2.2 อันตรายจากโรคอ้วนระหว่างครรภ์

                3.2.3 การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์

                3.2.4 การดูแลสุขภาพช่องปาก

3.3 แบบติดตามประเมินผลโครงการ จำนวน 200 แผ่น

3.4 สติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ weight/height categoly จำนวน 200 ชิ้น

3.5 แผ่นพับการออกกำลังกาย จำนวน 200 แผ่น

3.6 แผ่นพับโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 200 แผ่น

ขั้นดำเนินการ (กุมภาพันธ์ 2551-กันยายน2551)

1. คัดกรองหญิงตั้งครรภ์คำนวณค่า BMI ที่มาฝากครรภ์รายใหม่ทุกรายระหว่างเดือน

กุมภาพันธ์ 2551- เมษายน 2551

  • - ติดสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์แสดง weight/height categoly ทุกราย
  • - สอบถามบันทึกข้อมูลทั่วไปลงในแบบติดตามผลโครงการหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ทุกราย

2. ติดตามให้หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ

-     พบแพทย์ จำนวน 1 ครั้ง ในรายค่า BMI < 19.8 และ BMI > 26

  • - พบนักโภชนาการจำนวน 1 ครั้ง ในรายค่า BMI < 19.8 และ BMI > 26
  • - ให้ความรู้โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 1ครั้ง (แจกแผ่นพับโภชนาการในหญิง

ตั้งครรภ์) ทุกราย

  • - จัดเข้ากลุ่มออกกำลังกาย 1 ครั้ง (แจกแผ่นพับการออกกำลังกาย)ทุกราย

3. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ส่งพบทันตแพทย์ทุกราย โดยมีกิจกรรมดังนี้

  • - ตรวจสุขภาพช่องปาก สอนแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และให้ความรู้ คำแนะนำในการ

ดูแลตนเอง เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของแม่และลูกที่เกิดมา

  • - ให้การรักษาทางทันตกรรม ได้แก่ ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน ฯลฯ ตามความเหมาะสม

ในช่วงครรภ์ปลอดภัย (4-6 เดือน)

  • - กรณีระยะตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถทำฟันได้ ทันตแพทย์จะออกบัตรนัดเพื่อให้มาทำฟัน

ในช่วงครรภ์ปลอดภัย โดยระบุวัน และเวลา ที่ชัดเจน

  • - บันทึกการรักษาทางทันตกรรมลงในสมุดสีชมพู และสมุดANCทันตกรรม
  • - ให้รางวัลแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มาทำฟันตามนัดครั้งแรก
ขั้นประเมินผล (กุมภาพันธ์ 2551 - กันยายน 2551)
  • 1. ประเมินผลการสอนด้านความรู้ภายหลังการสอน
  • 2. ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าโครงการมีเกณฑ์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์อยู่

ในเกณฑ์ปกติ

  • 3. น้ำหนักของทารกแรกเกิดของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • 4. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกรายได้รับการตรวจฟันและสอนทันตสุขศึกษา
  • 5. ร้อยละ80ของหญิงตั้งครรภ์มาทำฟันตามนัด

7.งบประมาณ

                เงินจากโครงการ (สสจ.ลพบุรี) จำนวนเงิน 2500 บาท

หมวดค่าพัสดุ

- แผนการสอน จำนวน 4 เรื่อง

- สื่อการสอน จำนวน 4 เรื่อง

- แบบติดตามประเมินผลโครงการ จำนวน 200 แผ่น

- สติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ weight/height categoly จำนวน 200 ชิ้น

- แผ่นพับการออกกำลังกาย จำนวน 200 ชิ้น

- แผ่นพับโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 200 ชิ้น

- ของรางวัลหญิงตั้งครรภ์ที่มาทำฟันตามนัดครั้งแรก จำนวน 200 ชิ้น

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้รูปแบบการบริการบูรณาการเพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาโภชนาการและฟันผุในเด็กปฐมวัยในคลินิกฝากครรภ์ 

หมายเลขบันทึก: 258224เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท