"ขี้" ประโยชน์ได้มากกว่าของเสีย


“ขี้วัว”..สูตรผสมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2


 

“ขี้วัว”..สูตรผสมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2
ประโยชน์ได้มากกว่าของเสีย

        คำว่า ขี้ๆหลายคนออกอาการเหม็นหรือแสดงความน่าขยะแขยง คงต้องเดินเลี่ยงหลีกเมินหน้าหนีให้ห่างไกล หรือถึงขั้นต้องปิดจมูก หรือหากเดินผ่านไปยังบริเวณที่มีของเสียประเภทมูลสัตว์ถ่ายทิ้งไว้ ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก ก็ของเสียอย่างนั้นใครเล่าจะทนได้

แต่......ใครจะรู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว???

ขี้วัวประโยชน์ได้มากกว่าของเสีย

             หลายคนจึงคิดจะกำจัด !!!

        “  มีบางคนบอกว่าอยากเอาขี้วัวไปทำเป็นปุ๋ย  เพราะเคยใส่แล้วต้นไม้งาม  
         การกำจัดขี้วัวที่ว่า  ไม่ใช่การนำไปทิ้ง  แต่เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นอีกทอดหนึ่ง  คำตอบจึงอยู่ที่การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพจากปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2   มีส่วนผสมของขี้วัว


        “ถ้าเรามีใบไม้และเศษพืชเยอะ  สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์  โดยการเอาใบไม้ หรือเศษพืชมาผสมกับขี้วัวจะได้ปุ๋ยที่ดีขึ้น และไม่ต้องใช้ปุ๋ยขี้วัวมากขึ้นด้วย 
         เริ่มต้นโดยการเก็บขี้วัวและเศษพืชสะสมไว้  เมื่อได้ขี้วัวและใบไม้แห้งในปริมาณที่พอเหมาะแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ   ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  โดยการนำเอาอินทรียวัตถุและเศษวัสดุมาประยุกต์ใช้หมักร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2
  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินและเร่งการเจริญเติบโตของพืช
         โดยนำขี้วัวมาเทไว้ที่ชั้นล่างสุดของคอก แล้วเทใบไม้แห้งทับเป็นชั้นๆ สลับกับขี้วัวจนเต็มคอก และเพิ่มเติมด้วยยูเรียอีกเล็กน้อย เบ็ดเสร็จปุ๋ยหมัก 1 คอก ใช้ขี้วัวประมาณ 200 กิโลกรัม   ต่อเศษพืช 1,000
กิโลกรัม 

         “แต่ละขั้นตอนไม่ยาก ปุ๋ยหมักชีวภาพ จากปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2  ใช้เวลาหมักประมาณ 1-2 เดือน  เพื่อให้ได้ปุ๋ยสูตรพอเหมาะกับการเจริญเติบโต
         หนึ่งในขั้นตอนการหมักปุ๋ย เริ่มจากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 จำนวน 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 10 ลิตร กากน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม และรำข้าว 1 กิโลกรัม สำหรับเศษวัสดุ 100 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากัน แล้วนำเศษวัสดุอัตราส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน+ขี้รำ 1 ส่วน+แกลบเผา 1 ส่วน รวม 100 กิโลกรัม นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันหากไม่มีแกลบเผา ใช้เฉพาะปุ๋ยคอกกับขี้รำหรือแกลบ ต่อจากนั้น รดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ที่ผสมกันแล้ว บนกองเศษวัสดุ คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพิ่มให้ชุ่มประมาณ 60% กองปุ๋ยหมักไว้ในที่ร่ม ใช้กระสอบป่านหรือวัสดุคลุมไว้เป็นเวลา 10-15
วัน ก็ใช้ได้
         
พูดไปแล้ว  กิจกรรมอย่างนี้  เป็นการเรียนรู้ของเกษตรกรที่มาจากการปฏิบัติจริง  ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่เพียงทำให้สิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านดีขึ้นเท่านั้น ยังทำให้เกษตรกรเรียนรู้จากกิจกรรมไปพร้อมๆกัน สามารถนำภูมิปัญญาความรู้ไปช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกรในหมู่บ้าน

         “  ข้อสังเกตว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์และสารเคมีให้ผลงามก็จริง แต่เกิดผลกระทบตามมา คือ ดินแข็ง เพราะสารเคมีตกค้างลงไปในดิน ซึ่งนั่นหมายถึงดินเสื่อมสภาพลง ชาวบ้านไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร  แต่เมื่อใส่ปุ๋ยหมักให้กับดิน  ทำให้ดินร่วนซุยขึ้น ผลผลิตที่ได้ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับเกษตรกรที่ต้องทำเกษตรบ่อยครั้ง

หมายเลขบันทึก: 2581เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2005 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขี้วัว มีประโยชน์มากขนาดนี้เหรอเนี๊ยะ แถวบ้านมีเยอะแยะเลย เอาไว้จะลองไปทำดูนะ

เราก็เคยทำกันนะ แต่ไม่รู้ว่าทำวิธีไหน เดี๋ยวเราลองไปทำวิธีนี้ดูบ้างนะ เผื่อว่าจะได้ผลดีกว่า

ดีมากๆเลยค่ะ จะลองนำไปทดลองดูนะค่ะ

ขี้วัว มีประโยชน์

บ้าหรือดีเอาเรื่องขี้มาออก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท