แนวพระราชดำริกับฝายต้นน้ำลำธาร โดยชมรมหัวรถไฟไปจนถึง สถานะบุคลกับสภาทนายความ


แนวพระราชดำริกับฝายต้นน้ำลำธาร โดยชมรมหัวรถไฟไปจนถึง สถานะบุคลกับสภาทนายความ

แนวพระราชดำริกับฝายต้นน้ำลำธาร โดยชมรมหัวรถไฟไปจนถึง สถานะบุคลกับสภาทนายความ

วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๒ ที่ผ่านมาหลังจากสอบเสร็จขบวนหัวรถไปก็เดินทางไปสร้างฝายต้นน้ำลำธารกัน ณ พื้นที่ บ้านปางแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีหลายสิ่งเกิดขึ้นและมีหลายสิ่งเป็นความทรงจำที่ดีที่น้องสร้างขึ้น http://gotoknow.org/blog/traintogether/254476 ป้าต๊อก http://gotoknow.org/blog/romnoy/254562 น้องต้น จากการร่วมกิจกรรม นั้นเองที่โครงการดังกล่าวได้มอบให้และตัวน้องเองได้รับรู้ อย่างน้อยที่สุด พี่ก็ได้เห็นว่า น้องทุกคนที่ร่วมขบวนไปสร้างฝายตั้งใจและตระหนักในปัญหาสังคมเช่นกัน และที่ดีที่สุดสำหรับพี่ทุกคนก็เข้าใจว่าฝายต้นน้ำลำธารมีวัตถุประสงค์อะไร และสร้างมันได้อย่างไร

                       

วันที่ ๕ – ๗ เมษายน ๒๕๕๒ หลังจากทำฝายไม่ทันหายเหน็ดเหนื่อย ขบวนรถไฟก็ร่วมรับใช้สังคม โดยสภาทนายความอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ เพื่อเก็บข้อมูลสถานะบุคคลในพื้นที่ ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการสำรวจเพื่อเป็นการช่วยเหลือด้านสถานะบุคคลตามความเป็นจริงของบุคคลในชุมชนตำบลดังกล่าว

สามวันสองคืนเราทำอะไรมาบ้างหรือครับ ในมุมมองผมแล้วจะเริ่มต้นจาก วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒ วันแรกนักพบกันที่ใต้ตึก โดยมีนักศึกษาพายัพและกลุ่มของนายก๊อด(เพื่อนผมเอง)ที่เดินทางมาจากเจียงฮาย เพื่อเดินทางพร้อมกันไปเข้ารับการอบรม ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการชั้น ๔คณะสังคมศาสตร์ ทั้งเช้าวันแรกนั้น จะอยู่ในเนื่องหาของ สถานะบุคคลและหลักการเบื้องต้นในการเก็บข้อมูล โดยมีพี่หนอน(สุรพงษ์ กองจันทึก)และพี่หม่อง(สมนึก ตุ้มสุภาพ) จากสภาทนายความบรรยาย และสายๆได้แนะนำวิธีการเขียนแบบสำรวจที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ ส่วนในช่วงบ่ายสุดแสนจะวุ่นวายตามภาษาผู้ไม่รู้ครับ วิทยากรได้แบ่งกลุ่มให้ทดลองเก็บข้อมูล กับวิทยากร และให้นำเสนอข้อมูลพร้อมแนะวิธีการสังเกตและปัญหาอุปสรรค จนกระทั่งเย็น

 หลังจากเหนื่อยมาทั้งวันผมเองพี่ใหญ่ที่ต้องดูแลน้องๆและเพื่อนๆ(ก๊อด)ก็เลยออกอุบายพาไปหม่ำเสต็คบุพเฟ่ แถวๆที่พักก็เป็นการผ่อนคลายที่ดี แล้วเสร็จจากการทานอาหารค่ำร่วมกัน ต่างคนก็ต่างกลับห้องพักและนอนหลับพักผ่อนซะเมื่อไหร่ มันไม่ง่ายอย่างนั้นหรอกเด็กๆทั้งหลายกรูกันมาอาศัยห้องผมเล่นเกมส์กันสนุกสนาน (คนอยากนอนก็เลยอดนอน)

                                     

เช้าวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๒ เช้าหลังจากทานอาหารเช้าเสร็จก็เดินทางลงพื้นที่เก็บข้อมูลกันทั้งวันแทบไม่ได้ทานข้าว โดยส่วนใหญ่ทานข้าวกันก็บ่ายโมงครึ่ง การเก็บข้อมูลนี้ทำให้ผมได้รู้จักกับชาวบ้านมากขึ้น และได้ทำแบบสำรวจให้ตระกูลหนึ่งทั้งตระกูลเลยครับ ผมรู้สึกดีใจมาก พ่อ แม่ ลูกลูกสองคน กับสามีลูกสาวคนโตอีกหนึ่งคน ผมประทับใจครอบครัวนี้มากครับ ถ้ามีโอกาสจะกลับไปเยี่ยมเยียนนะครับ หลังจากเดินทางกลับจากพื้นที่ ก็เข้าที่พักแล้วก็ออกมาหาอาหารเย็นทานร่วมกันกับน้องในชมรมและเพื่อนก๊อด วันนี้ทุกคนเหนื่อยและเพลียกันมากจนทานอาหารไม่มากเท่าใดนัก ซึ่งผมคิดว่าพอถึงที่พักคงจะสลบกันถ้วนหน้า แต่ก็เป็นจริงครับแค่ผมคนเดียวนะ ที่เหลือย้ายไปเล่นเกมส์กันห้องอื่น เบาหูหน่อย

เช้าวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๒ เช้าหลังจากทานอาหารเช้าเสร็จก็เดินทางลงพื้นที่เก็บข้อมูลกันทั้งวันเหมือนเดิม แต่มีการจัดการที่ดีกว่า เพราะเช้าวันนี้ได้พูดคุยปัญหากันก่อนออกเดินทางและหาวิธีการแก้ไขไว้ล่วงหน้า หลังจากเสร็จจากการเก็บข้อมูลก็เดินทางกลับมหาวิทยาลัย แต่ระหว่างทางหลับทางสภาทนายความได้ร่วมพูดคุยสรุปการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคที่พบก่อนเดินทางกลับ

การเดินทางเกือบสัปดาห์ครั้งนี้ได้สอนอะไรผมมากมาย ผมได้เห็นน้องสนุกสนานกันทั้งคืนและก็ลุกขึ้นมาสร้างผลงานได้ดี ได้เห็นเด็กที่ไม่เคยออกมาพบโลกใหม่ก็เปิดตัวเองออกมา ได้เห็นนักศึกษาพายัพเดินทางไปบนถนนสายเดียวกันโดยรู้หน้าที่ของตนว่าสังคมต้องการคนที่เอาใจใส่เขาและทำหน้าที่ของตนได้ดี ขอบคุณทุกการเดินทางที่ทำให้ชมรมหัวรถไฟเรารู้มากขึ้นและเข้าใจโลกได้อีกหลากหลายมุมมอง

ขอบคุณ

                                                

ป้าต็อกบอกว่ายืนดูพระอาทิตย์ตกพร้อมกับลูกศิษย์ พอดีได้ถ่ายไว้ครับฟ้าสวยๆ พระอาทิตย์ตกที่ห้วยฮอ่งไคร้ครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #ฝาย#สภา#หัวรถไฟ
หมายเลขบันทึก: 258056เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีใจมากที่ยังมีกลุ่มเยาวชน สร้างสรรค์เรื่องราวดีๆอย่างนี้

ขอชื่นชมนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท