การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน มีนาคม 2552


การนวดเท้ากับผู้ป่วยเบาหวาน

1.ประชุม เรื่อง การประชุมนำเสนอความก้าวหน้าโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานตาม   แผนงานพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเพื่อการพึ่งตนเอง ปีที่ 2 วันที่    2 3 มีนาคม 2552      ร.ร. เค ยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           สรุปผลการประชุม ดังนี้

1.ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากเครือข่ายในแต่ละภาคได้แก่ ภาคเหนือ , ภาคกลาง , ภาคใต้ และภาคอีสาน ซึ่งคุณวีรพงษ์ เกรียงสินยศ (เลขาธิการมูลนิธิ) และคณะ  จากมูลนิธิสุขภาพไท โดยจังหวัดอุดรธานีมีตัวแทนจากชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอบ้านดุงซึ่งเป็นผู้รับทุนสนับสนุนโครงการ คือนายสมัย ชัยช่วย เลขานุการชมรม ฯ และเจ้าหน้าที่สนาม จำนวน 2 คน พร้อมทั้งพี่เลี้ยงโครงการคือเภสัชกรสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ

2.ผลการประชุม 2 มีนาคม 2552 ภาคเช้า เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ใช้เทคนิคการฟังด้วยใจเพื่อให้ผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการได้ทบทวนแผนงานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. ทบทวนเป้าหมายและการมาร่วมโครงการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา การแก้ไข เป็นการสร้างความสนิทสนมให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม (3 คำถาม หมุนเวียน 3 คู่ สบตา และตั้งใจฟัง ผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง) แล้วนำมาเข้าเวทีกลางเพื่อให้เพื่อนพูดถึงเพื่อน

3.ผลการประชุม 2 มีนาคม 2552 ภาคบ่าย  ซึ่งเป็นการร่วมประชุมกับ STEERING COMMITTEE ของ สสส. ในแผนงานพัฒาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ นำโดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ซึ่งติดภารกิจ อาจารย์จิราภรณ์ ลิ้มปานานนท์ , อาจารย์เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ , อ.ดร.สินธุ์ สโรบล  ,  ตัวแทนจาก สปสช. , ตัวแทนจาก สสส. , ตัวแทนจากภาคประชาชน (นายก อบต.)  โดยมูลนิธิสุขภาพไทยได้นำเสนอภาพรวมของการดำเนินงานในปีที่ 2 ( ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2552 ส่งหลักฐานการเงินภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2552)  รายละเอียดโดยย่อคือยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ , รูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพไปใช้ , การสร้างและบริหารจัดการเครือข่าย และการจัดการฐานทรัพยากร  และนำเสนอรายภาค เครือข่ายภาคเหนือ เน้นงานเกี่ยวกับ รูปแบบการบริการของแม่ก๋ำเดือนกับการผสมผสานเข้าระบบ , เครือข่ายภาคกลาง เน้นงานเกี่ยวกับหลังคลอด , เครือข่ายภาคอีสาน เน้นงานจัดการฐานทรัพยากร , รูปแบบการนำไปใช้  , เครือข่ายภาคใต้ เป็นการจัดการความรู้   ซึ่งคณะกรรมการมีความเห็นว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการติดตั้งระบบการแพทย์พื้นบ้านในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดย ตัวแทนจาก สปสช.ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ระบบ INTERMEDIATE AND REFERAL SYSTEM โดยเครือข่ายหมอพื้นบ้านสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมของการฟื้นฟูผู้พิการในรูปแบบจิตอาสา สปสช.กำลังจะนำร่องดำเนินการภายในระยะ 2 3 เดือนนี้

4.ผลการประชุม 3 มีนาคม 2552 ภาคเช้า  เป็นเวทีกลุ่มย่อยของแต่ละยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ , รูปแบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพไปใช้ , การสร้างและบริหารจัดการเครือข่าย และการจัดการฐานทรัพยากร เป็นเวทีเรื่องเล่าเร้าพลังของแต่ละยุทธศาสตร์ (รวมภาค แต่ละยุทธศาสตร์มีหลายภาค) รวมทั้งการเสนอข้อเสนอจากเครือข่ายเพื่อให้ระดับนโยบายได้นำไปกำหนดแผนงานระดับชาติต่อไป

5.ผลการประชุม 3 มีนาคม 2552 ภาคบ่าย เป็นการนำเสนอข้อเสนอจากเครือข่ายเพื่อให้ระดับนโยบายได้นำไปกำหนดแผนงานระดับชาติต่อไป ทั้งนี้จะได้จัดเวทีเครือข่ายเพื่อบรรลุข้อตกลงต่อไป ยกตัวอย่างเช่น

                ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างกลไกการทำงานที่ชัดเจน  มีชื่อคนทำงาน มีคณะกรรมการเครือข่าย

                ยุทธศาสตร์การสนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม (การติดตั้งระบบพัฒนา , การผลักดันเชิงนโยบาย , การหนุนเสริมคนทำงานในพื้นที่ , การสร้างการมีส่วนร่วมจาก อปท. เป็นต้น)

6.ที่ประชุมได้นัดหมายจะมีการประชุม อปท.ที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 23 มีนาคม 2552 โดยจังหวัดอุดรธานีได้โควต้า 7 8 คน

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.จัดเตรียมแผนงานในระยะต่อไป เป็นการเตรียมการแผนงานในระยะต่อไป  ซึ่งเติบโตจากความเป็นชมรมเข้าสู่ความเป็นสถาบันรวมทั้งการกำหนดภารกิจที่จะต้องสร้างการมีส่วนร่วม ร่วมรับผลประโยชน์ ร่วมคิด ร่วมสร้างจากภาคี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ให้ทุนสนับสนุนเป็นวาระประจำ)  สาธารณสุขในพื้นที่  (เป็นพี่เลี้ยงผู้ประสานงานที่ดี)

2.จัดทำหนังสือประสานงานไปยัง อบต.เป้าหมายที่จะเข้าร่วมประชุม และขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ได้อำนวยช่วยเหลือคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้านในการประสานงานกับผู้บริหาร อบต. ในการจัดเวทีเพื่อให้ผู้บริหาร อบต.ได้นำเสนอสิ่งที่ อบต. ได้สนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายภูมิปัญญาท้อถิ่นด้านสุขภาพ  และขอให้เจ้าหน้าที่ สอ.บ้านม่วง (นายสุนทร คุณภาที) ได้นำเสนอผลการดำเนินโครงการ (มูลนิธิสนับสนุนงบประมาณค่าพาหนะ รถตู้)

3.ประสาน สอ.จอมศรี เพื่อศึกษาโครงการความร่วมมือของเครือข่ายชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้พิการ

 

2.ประชุมเตรียมการสรรหาคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ร.ร.Pullman  จ.ขอนแก่น  วันที่ 4 มี.ค.52

สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

1.ส่งรายชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็น ก.ส.จ. ไปยังกรมพัฒน์ฯ ภายใน 24 มี.ค.52

2.ก.ส.จ. ตามคำสั่งแต่งตั้ง ดำเนินการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัด  ภายใน 15 พ.ค.52

 

3. ประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรแพทย์แผนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ร.ร.Pullman   จ.ขอนแก่น

วันที่ 4-5 มี.ค.52

                1.ผศ.ภญ.สำลี  ใจดี  กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม

                                2.การนำเสนอ Good  Practices   และจัดนิทรรศการ  เรื่องรูปธรรมการบูรณาการงานแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการและในชุมชน  โดยตัวแทนจากสถานบริการแต่ละจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   11  จังหวัด จากทั้งหมด  19  จังหวัด  ซึ่งจ.อุดรธานี ได้พิจารณาให้ รพ.หนองหาน เป็นตัวแทนระดับจังหวัดในการนำเสนอผลการดำเนินงาน  โดย ภ.ญ.ขวัญสุดา  ชาติโสม  หัวหน้างานแพทย์แผนไทย  รพ.หนองหาน เป็นตัวแทนนำเสนอผลงาน

                                3.ข้อมูลสถานการณ์การแพทย์แผนไทยฯ โดย นพ.ประพจน์  เภตรากาศ รองอธิบดีกรมพัฒนาฯ  โดยเน้นให้ใช้แผนยุทธศาสตร์ชาติการพัฒนาภูมิปัญญาไท พ.ศ.2550-2554  เป็นหลักในการกำหนดแผนและนโยบาย  การดำเนินงาน  และการขอรับการสนับสนุน 

4.โอกาสของการพัฒนากำลังคน  โดย นพ.ปราโมทย์  เสถียรรัตน์  ผอ.สถาบัน

การแพทย์แผนไทย  แจ้งว่า ก.พ.ได้ประกาศบรรจุพนักงานราชการตำแหน่งนักการแพทย์แผนไทย ประมาณ 20,000 ตำแหน่ง ซึ่งคาดว่าจะบรรจุได้โรงพยาบาลละ 1 ตำแหน่ง (จากข้อมูลคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง)  และจะเปิดการสอบแข่งขันต่อไป   เรื่องการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 18 แห่งในส่วนภูมิภาค มีงบประมาณแล้วแต่รอความพร้อมของสถานที่

                                5.สปสช.ได้สรุปสถานการณ์และผลการดำเนินงาน ปี 2551-2552 แยกรายเขตพื้นที่   และการระดมความเห็นกรณีการจัดสรรงบ 2 ประเด็น

                                ประเด็นที่ 1  กำหนดอัตราคงที่ จัดสรรให้ CUP ที่บริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวม  แล้วนำเงินส่สวนที่เหลือมาจัดสรรให้แก่ทุกแห่งที่จัดบริการและส่งข้อมูลผ่านโปรแกรมฯ

                                ประเด็นที่ 2  กำหนดอัตราคงที่  จ่ายให้ทุก CUP ที่ร่วมจัดบริการและส่งข้อมูลผ่านโปรแกรมฯในอัตราคงที่ 60-100 บาท/visit  แล้วนำเงินส่วนที่เหลือมาจัดสรรให้แก่ CUP ที่จัดบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภาพรวม  ซึ่งอาจจะได้งบชดเชย ประมาณ 100-120  บาท/ครั้ง

                                ซี่ง สปสช.จะสรุปและพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

สิ่งที่จะได้ดำเนินการต่อไป

1.ติดตาม และกระตุ้นการลงข้อมูลการให้บริการ  พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายของจังหวัด

2.ติดตามและประสานการเข้าสู่ตำแหน่งนักการแพทย์แผนไทย 

3.สรุปประเด็นการนำเสนอผลงาน Good  Practices   เพื่อแจ้งหน่วยบริการ นำไปปรับใช้และเป็นต้นแบบต่อไป  โดยเฉพาะตัวอย่างของ รพ.กุดชุม จ.ยโสธร  ซึ่งมีการกำหนดนโยบายจาก นพ.สสจ.ให้ทุกโรงพยาบาลจัดซื้อยาสมุนไพรอย่างน้อยปีละ 100,000 บาท ให้สถานีอนามัยมีการใช้ยาสมุนไพรอย่างน้อยร้อยละ 3   และกรณีการดำเนินงานของ รพร.ท่าบ่อ  จ.หนองคาย  ซึ่งมีการพัฒนาอย่างมากในช่วงเวลาการดำเนินงาน 4 ปี (น่าจะมีการศึกษาดูงาน)

 

                4. อบรมการใช้โปรแกรมรหัสข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง  สสจ.อด. วันที 16 19  มี.ค.52

                1.ผู้เข้าอบรม

                จำนวนผู้เข้ารับการอบรม  เป้าหมายทุกโรงพยาบาลและทุกสถานีอนามัย  รวมจำนวน  220 แห่ง  เข้ารับการอบรมรวมจำนวน 185  แห่ง  คิดเป็นร้อยละ

2.ผลการทดสอบหลังการอบรม

                หลังการอบรม ให้ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบฝึกหัดการให้รหัสโรคและรหัสหัตถการ

ทางการแพทย์แผนไทย  ในภาพรวมของอำเภอ  แบ่งเป็น 3  หมวดๆละ 5 ข้อๆละ 1 คะแนน

3.สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป

                3.1 โรงพยาบาล  สถานีอนามัย  ใช้รหัสและทำการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมฯ

                3.2 โรงพยาบาล  สถานีอนามัย  รายงานข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ผ่าน www.thcc.or.th   โดยข้อมูลพื้นฐานของสถานบริการ ให้รายงานปีละ 1 ครั้ง (เดือนตุลาคม) ส่วนรายงานการให้บริการ  ให้รายงานทุกเดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป

                3.3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ   ติดตาม ตรวจสอบการรายงานของหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบทุกเดือน ผ่านwww.thcc.or.th  

 

                5.ประชุมสรุปงานสำรวจสมุนไพรป่าตลิ่งชัน ต.หินโงม  อ.สร้างคอม  วันที่  23 มี.ค.52

                1.ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้นำชุมชน นายก อบต.หินโงม  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย สาธารณสุขอำเภอ  เจ้าหน้าที่งานการแพทย์แผนไทย  สสจ.อุดรธานี และตัวแทนจากชมรมหมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบ้านดุง  รวมจำนวน    36     คน

2.ภก.สมชาย ได้ให้ข้อมูลสรุปผลการสำรวจสมุนไพรในเขตป่าดอนปู่ตาบ้านตลิ่งชัน และเชิญสาธารณสุขอำเภอมอบหนังสือสารานุกรมสมุนไพรท้องถิ่นป่าบ้านตลิ่งชัน ให้แก่นายก อบต.หินโงม อ.สร้างคอม จำนวน 50 เล่ม

3.แบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นในการจัดการพื้นที่เพื่อคุ้มครองสมุนไพรตามแนวทางของ พรบ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พศ.2542  

ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ มีกิจกรรม ได้แก่

-การพัฒนาคนทำงาน โดยให้มีการประชุมคณะกรรมการกลุ่มเป็นประจำ

-ด้านการดูงาน อาจจะเป็นที่ป่าสะแกราช ปักธงชัย นครราชสีมา หรือดูงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เสนอแพนด้าแค้มป์ บ้านไร่ อุทัยธานีเอาไว้ เพราะอย่างน้อยก็เป็นเครือข่ายที่เรารู้จักหน้าค่าตากัน (พี่มด คุณศิริพงษ์ โทหนองตอ 056-596014 )  

                ยุทธศาสตร์ด้านการเผยแพร่และกระตุ้นพื้นที่ มีกิจกรรมได้แก่

                          -เวทีคืนข้อมูล  เป็นการจัดเวทีในหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนได้รับรู้กิจกรรมหรือผลงานของกลุ่มที่ได้ทำมา

                           -พิมพ์สารานุกรมเพิ่มหรือไม่

                           -การทำป้ายต่าง ๆ ข้อบังคับ อนุรักษ์  ผ้าป่าสมุนไพร

สิ่งที่น่าจะได้ดำเนินการต่อไป

ติดตามพื้นที่ให้มีการดำเนินการ

1.จัดทำร่างโครงการเพื่อให้ทันสมัยประชุมของ อบต. ประมาณไม่เกินเดือนมิถุนายน 2552 โดยสนับสนุนให้ชุมชนสามารถผลักดันโครงการ โดยเนื้อหาโดยละเอียดอ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/kumpava/254068

 

                6.อบรมหมอยาน้อย ของชมรมหมอยาพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นอ.บ้านดุงณ ศูนย์ห้วยแล้ง  ม.4 บ้านสามัคคี  ต.บ้านม่วง อ.บ้านดุง   วันที่ 24-25 มี.ค.52

                1.มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นคณะกรรมการชมรม และหมอยาน้อย รวมจำนวน  33  คน

2.รองนายกตำบลบ้านม่วงกล่าวเปิดงาน 

3.  หมอยาน้อยต้องอ่านได้-เขียนคล่อง

4.  การสอบถามอาการคนป่วยคนป่วยและการเก็บข้อมูลคนป่วย

                5. ภ.ก.สมชาย  ชินวานิชย์เจริญ  อธิบายกิจกรรมในปีนี้ที่ชมรมกำลังดำเนินงานอยู่มีดังนี้

                                1.  ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                                -หมอพื้นบ้าน

                                2.  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เอกสาร  ใบลาน

                                                -5 ผูก/คน         5-10 / ตำบล

                                                -ใบรับรอง

                                3.  ทุนทางสมุนไพร

                                                -เย็บพันธุ์ไม้

                                                -แผนสำรวจป่าหาสมุนไพร

และให้ทำกิจกรรมเพื่อหมอยาน้อยจะได้รู้จักกันมากขึ้นและมีสมาธิในการฟังมากขึ้นโดยมีหัวข้อกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมฟังด้วยใจ

ให้จับคู่กันให้ในคู่กันตกลงกันว่าใครจะเป็นหมายเลข  1   หรือใครจะเป็นหมายเลข  2   ตกลงกันก่อนถ้าคนหนึ่งพูดคนหนึ่งฟังก็ต้องฟังอย่างเดียวไม่มีสิทธิ์พูดผลัดกันพูดผลัดกันฟัง  คำถามมีดังนี้

1.  มาเข้าร่วมโครงการอบรมหมอยาน้อยได้อย่างไร คาดหวังอย่างไรจากกิจกรรมนี้

2.  แต่ก่อนแต่กี้ทำอะไรอยู่  ชีวิตครอบครัวเป็นอย่างไร  มีพื้นเพมาจากไหน  ตอนนี้เป็นอย่างไร

จากนั้นให้ ฝึกสัมภาษณ์หมอพื้นบ้าน  การสำรวจใบลาน  และมีกิจกรรมการเดินป่าภูดูสมุนไพร ที่

วนอุทยานอ้อมฤดี 

 

              7.ประชุมเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย  ครั้งที่ 1  ณ ห้องประชุมสายสัมพันธ์  สสจ.อด.  วันที่ 27 มี.ค.52

มีผู้เข้าร่วมการประชุม  10 คน

1.ภ.ก.สมชาย  ชินวานิชย์เจริญ  แจ้งที่ประชุม ดังนี้

1.ขอให้ทีมงานเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยได้มีการมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง และมี เลขานุการ เพื่อจดวาระการประชุม 2 ท่าน เพื่อสรุปเสนอผู้บริหารให้รับทราบทุกครั้งที่มีการประชุม ประกอบด้วย

                1.นส.อุบล   สมบูรณ์            ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ปฏิบัติงาน    ร.พ หนองแสง

                2.นส.วิญาดา   บุตรจำรวญ            ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ปฏิบัติงาน  ร.พ.ทุ่งฝน

2.การเบิกจ่ายค่าบริการนวด โดย ค่านวดรักษาและค่าประคบ รวมกัน ไม่เกิน 250 บาท / ครั้ง  ไม่เกิน 3 ครั้ง/อาทิตย์  ตามหนังสือ กค.0422.2 / ว 42 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ไปก่อน โดยให้ถือปฏิบัติตามนัยหนังสือดังกล่าวจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากกรมบัญชีกลาง

3.การพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อเป็นการไม่เสียโอกาสในการพัฒนาความรู้ และมีการพ

หมายเลขบันทึก: 257976เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท