การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

เล่าเรื่องแพทย์แผนไทยอุดรเดือน กุมภาพันธ์ 2552


โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผสมผสานการรักษาอาการกระดูกหักระหว่างหมอพื้นบ้านกับสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

1.ประชุมคณะกรรมการหมอพื้นบ้านอ.บ้านดุง (ตามโครงการมูลนิธิสุขภาพไทย)  ณ อบต.บ้านชัย อ.บ้านดุง  วันที่  6 ก.พ.52  สรุปดังนี้

                1.นายก อบต. บ้านชัย นายบุญเลิศ  ชนะชัย ได้เข้าร่วมประชุมและกล่าวต้อนรับคณะกรรมการชมรม ฯ

                2.ประชุมเสวนาเพื่อตรวจสอบชุดองค์ความรู้ ฯ  9  ประเด็น  วันที่  15-16  กุมภาพันธ์ 2552    อาศรมไทบ้าน  บ้านดอนแดง ต.ศรีสุข       .กันทรวิชัย  .มหาสารคาม

3.นายอำนวย  พลลาภ (พ่ออำนวย) แจ้งรายละเอียดของกิจกรรมและหารือกับที่ประชุมเพื่อคัดเลือกผู้เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ซึ่งตัวแทนที่จะเข้าร่วม ได้แก่ นายสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ นายชาย มาตรา นายสำรวย ดลวิจิตร น..วรรณี  ชาดา  และ  ..สายสุดา  ภักดีราช

4.ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานงวดที่  1  วันที่  2-3  มีนาคม  2552    กทม.

5.ทางมูลนิธิสุขภาพไทยเป็นผู้จัดการประชุมในครั้งนี้ โดยให้ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการจำนวน 2 คนเข้าร่วมประชุม เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานประจำงวดที่ 1 พร้อมนำส่งเอกสารการเงิน รายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 และการเบิกจ่ายเงินงวดที่ 2 ซึ่งที่ประชุมเห็นควรให้ นายอำนวย  พลลาภ  นายสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ น..วรรณี  ชาดา  และ  ..สายสุดา  ภักดีราช

6.ศึกษาดูงานสิบสองปันนา  11-15  มีนาคม  2552

- ทางมูลนิธิสุขภาพไทยจัดให้ผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการร่วมศึกษาดูงานโรงพยาบาลแพทย์แผนไตที่สิบสองปันนา ประเทศจีน โครงการละ 1 คน ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ของทางอุดรฯ คือ นายอำนวย  พลลาภ

- ในวันแรกของกิจกรรมจะมีการประชุมกันที่จังหวัดเชียงรายจากนั้นจะเดินทางไปยังประเทศลาวเพื่อข้ามไปประเทศจีนต่อไป วัตถุประสงค์การศึกษาดูงานคือ ศึกษากระบวนการทำงาน ระบบการบริหารจัดการและอื่นๆเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ได้

7.การเสนอโครงการของบ  อบจ.

- นายสมชาย (หมอต้น) อธิบายโครงการที่เขียนเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบจ.ให้ทราบ ซึ่งมีกิจกรรมดำเนินการที่สำคัญ 3 กิจกรรม ดังนี้

4.1 จัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายจังหวัดอุดรธานีโดยมีชมรมหมอพื้นบ้านอำเภอบ้านดุงเป็นแกนนำหลัก

4.2 การจัดมหกรรมหมอพื้นบ้านประจำปี

4.3 จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาใบลานของจังหวัดอุดรธานี

8.คุณกระรอกและคุณหน่อย จากมูลนิธิสุขภาพไทยขอเชิญ อบต.กลุ่มเป้าหมาย 5 แห่ง และคณะกรรมการโครงการจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมประชุมในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ณ อำเภอบ้านดุง

- เรื่องสถานที่จัดการประชุมนั้นยังไม่ลงมติว่าจะเป็นที่ใด

9.  ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของชมรม

1.       การรับรองเข้าเป็นสมาชิก  (โดยฝ่ายทะเบียน)

-          ยังไม่มี

2.       สถิติและคุณภาพการบริการ  (โดยฝ่ายพัฒนาคุณภาพบริการ)

-          การเก็บข้อมูลคนไข้และการเบิกค่าตอบแทน  (โดยผู้ประสานงานแต่ละตำบล) ข้อมูลคนป่วยที่ได้มีการรวบรวมมีดังนี้

       ตำบลนาคำ     จำนวน   34 คน

       ตำบลนาไหม  จำนวน   3 คน

       ตำบลบ้านจันทน์           จำนวน 10 คน

       ตำบลบ้านม่วง                จำนวน   9 คน

       ตำบลวังทอง   จำนวน   0 คน

ทั้งนี้ข้อมูลคนป่วยดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการนำเสนอให้กับทาง อบต. และ สอ. รับทราบ จึงไม่สามารถเบิกจ่ายค่าตอบแทนการเก็บข้อมูลคป่วยได้ และข้อมูลบางส่วนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลอีกครั้งในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและนำเข้าที่ประชุมกรรมการในเดือนมีนาคม 2552 ต่อไป

3.       สถิติและคุณภาพผลิตภัณฑ์  (โดยฝ่ายติดตามคุณภาพผลิตภัณฑ์)

-          ยังไม่มีเรื่องแจ้งที่ประชุม

4.       ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  (โดยฝ่ายศูนย์เรียนรู้)

- ยังไม่มีเรื่องแจ้งที่ประชุม

10.  โครงการศึกษารูปแบบของการจัดระบบสุขภาพท้องถิ่น  ของกลุ่มอาการความเจ็บป่วยการที่หมอพื้นบ้านยังดำรงการดูแลรักษาอยู่ จังหวัดอุดรธานี

1.    การเก็บข้อมูลคนไข้และการเบิกค่าตอบแทน  (โดยหมอยาน้อย / ผู้ประสานงานแต่ละตำบล)

- หมอต้นทบทวนขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลคนป่วย และเสนอที่ประชุมว่าถ้าหมอพื้นบ้านที่สามารถเขียนหนังสือได้คล่องก็ให้บันทึกข้อมูลคป่วยด้วยตัวเอง แต่หากหมอพื้นบ้านที่เขียนหนังสือไม่คล่องอาจจะขอความช่วยเหลือมายังผู้ประสานงานแต่ละตำบล หรือประสานมายังหมอยาน้อย  หรือให้ผู้จัดการโครงการเข้าไปช่วยเก็บข้อมูลก็ได้

- คำนิยาม 

           คนในเขต  คือ  คนป่วยที่อาศัยและมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบ้านดุง ซึ่งสามารถติดตามผลการรักษาได้ (ตามไปเยี่ยมที่บ้านได้)

           คนนอกเขต  คือ  คนป่วยที่อาศัยและมีภูมิลำเนาอยู่อำเภออื่นๆ หรืออยู่ต่างจังหวัด หรือคนที่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อำเภอบ้านดุงแต่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดเป็นเวลานานๆ ไม่สามารถไปเยี่ยมที่บ้านได้

          การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการเก็บข้อมูลคนป่วยในช่วงแรกให้เป็น"คนในเขต"ก่อน ส่วนข้อมูล "คนนอกเขต"นั้นขอให้รวบรวมไว้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินงานโอกาสต่อไป

2.    กำหนดการอบรมหมอยาน้อย

                   หมอเจี๊ยบแจ้งที่ประชุมว่าจะอบรมหมอยาน้อยในวันที่ 24-25 มีนาคม 2552 เรื่อง การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกหมอพื้นบ้าน การเก็บข้อมูลคนป่วย การเก็บข้อมูลใบลาน และการสำรวจสมุนไพร ซึ่งกิจกรรมจะจัดขึ้นที่บ้านสามัคคี ต.บ้านม่วง อ.บ้านดุง และขอให้ผู้ประสานงานแต่ละตำบลส่งรายชื่อหมอยาน้อยที่จะเข้าร่วมกิจกรรมภายในเดือนมีนาคมก่อนการจัดอบรม

·        นายอุทัย ลีทับไทย เสนอที่ประชุมว่าการประชุมทุกครั้งขอให้แจ้งล่วงหน้าประมาณ 2-3 วัน ก่อนการประชุมและให้มีการติดตามว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนรับทราบกำหนดการประชุมหรือไม่

·        หมอต้นเสนอว่าทำจดหมายเวียนให้หมอพื้นบ้านที่เข้าร่วมโครงการทราบถึงข้อตกลงของกรรมการในการเรื่องการเก็บข้อมูลคนป่วย

·        ทำหนังสือขอบคุณ อบต. ที่ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ในการจัดประชุม

·        สสจ. จะทำร่างโครงการเสนอของงบ อบต. เพื่อให้คณะกรรมการทุกคนร่วมพิจารณาและวางแผนการดำเนินงานต่อไป

 

                2.ประชุมผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทย อำเภอ ครั้งที่1/52   ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง  สสจ.อด. วันที่  17 ก.พ.52

มีผู้เข้าประชุม  รวม  28  คน  สรุปผลการประชุมดังนี้    

1.เภสัชกรสมชาย  ชินวานิชย์เจริญ   หัวหน้างานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ชี้แจงที่ประชุม   ดังนี้

1.1 เพิ่มเติมตัวชี้วัดด้านการแพทย์แผนไทย เป็น   3  ตัวชี้วัด คือ

                1.ร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับบริการด้านการแพทย์แผนไทย  เกณฑ์  ร้อยละ 15

                2.มูลค่าการใช้ยาสมุนไพร  เกณฑ์  รพท.ร้อยละ 3   รพช.และสอ. ร้อยละ 5

                3.จำนวนทะเบียนตำรับตำราด้านการแพทย์แผนไทย  เกณฑ์   200 รายการ

1.2 เพิ่มเติมรายงานการให้บริการแพทย์แผนไทย (E- report)  โดยให้เพิ่มเติมเป็นข้อ 5.1.4 สำรวจและรวบรวมตำราการแพทย์แผนไทย  หน่วยนับเป็นเล่ม   ทั้งนี้จังหวัดได้แจกแบบฟอร์มสำรวจ  เพื่อให้อำเภอดำเนินการแล้วส่งจังหวัด ทาง E –mail  หรือเป็นเอกสาร   ซึ่งจังหวัดจะทำหนังสือรับรองส่งกลับอำเภอ

1.3 ยุทธศาตร์การพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยในสถานีอนามัย (เพื่อเพิ่มรายได้)

1.4 แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2552

1.5 มาตรการการพัฒนาการดำเนินงานด้านเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  เพื่อสอดรับกับการประเมินผลงาน คปสอ.   โดยขอให้อำเภอสำรวจและส่งข้อมูลของหมอพื้นบ้านทุกตำบลในรูปแบบไฟล์ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม  2552

1.6ขั้นตอนการดำเนินงานตามมาตรการในการดำเนินการศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ของหมอพื้นบ้านในการดูแลอาการกระดูกหัก   โดยขอให้อำเภอสำรวจข้อมูลหรือสอบทานข้อมูลที่มีเกี่ยวกับหมอพื้นบ้านที่ดูแลอาการกระดูกหักในพื้นที่รับผิดชอบ  พร้อมทั้งแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ระดับโรงพยาบาล  สาธารณสุขอำเภอ  สถานีอนามัยในพื้นที่  เป็นทีมวิจัยที่จะเข้าร่วมเป็นพื้นที่นำร่องในโครงการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของหมอพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหัก    ส่งจังหวัดภายในวันที่  25  กุมภาพันธ์   2552     โดยเฉพาะอำเภอบ้านดุง  กุมภวาปี  ทุ่งฝน  และเพ็ญ  น่าจะเป็นอำเภอที่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากมีความพร้อมด้านข้อมูลหมอพื้นบ้าน 

2. นางวิริยา  เมษสุวรรณ   เจ้าหน้าที่งานการแพทย์แผนไทยฯ  แจ้งเรื่องสรุปข้อหารือหลักสูตรด้านการแพทย์แผนไทย   บทสรุปผลการประเมินผู้ผ่านการอบรมใบรับรองการรักษาสำหรับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย   การอบรมการใช้โปรแกรมรหัสข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยสำหรับสถานบริการทุกแห่ง  ระหว่างวันที่  16 -19  มีนาคม  2552    การประชุมเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทย (อายุรเวท) 2 เดือนต่อครั้ง   แผนการลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนให้มีการพัฒนาการให้บริการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะดำเนินการช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม  2552    และเรื่องความก้าวหน้าการดำเนินงานกองทุนพัฒนาการแพทย์แผนไทย (สปสช.) 

                3. ประชุมกลุ่มย่อยแบ่งกลุ่มตามโซนอำเภอ  ดังนี้

โซน 1  เมือง สร้างคอม หนองวัวซอ  เพ็ญ*

โซน 2 กุมภวาปี ประจักษ์   หนองแสง* ศรีธาตุ วังสามหมอ โนนสะอาด

โซน 3 หนองหาน บ้านดุง ทุ่งฝน พิบูลย์รักษ์   ไชยวาน*

โซน 4 กุดจับ บ้านผือ น้ำโสม นายูง

* ไม่ได้ร่วมประชุม เนื่องจากติดราชการ

ผลการประชุมกลุ่มย่อย

ประเด็นที่ 1  การปรับแก้ตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินงาน คปสอ. ด้านการแพทย์แผนไทย

มติที่ประชุม  - ไม่มีการปรับแก้ใดๆ

ประเด็นที่ 2  โจทย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ใน  3  ประเด็น  ดังนี้

4.1 การผสมผสานบริการแพทย์แผนไทยกับงานส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู สุขภาพ

4.2 การพัฒนาเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ

4.3 การกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ทุกระดับ

ซึ่งทำให้ได้เห็นว่าใคร ได้ทำอะไร หรือจะทำอะไร ได้ผลอย่างไร หรือไม่ได้ผลอย่างไร สิ่งที่จะทำต่อ หรือสิ่งที่ว่าจะเลิกทำ 

5. สรุปสิ่งที่อำเภอต้องดำเนินการต่อไป

1.ดำเนินการสำรวจและรวบรวมรายชื่อหมอพื้นบ้านแต่ละตำบล ทุกตำบล และคัดเลือกอย่างน้อย 1 ตำบลในการจัดตั้งกลุ่ม / ชมรมหมอพื้นบ้าน  ส่งให้งานการแพทย์แผนไทย สสจ.อุดรธานี ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552

2.คัดเลือกพื้นที่และรายชื่อทีมวิจัย เพื่อร่วมโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผสมผสานการรักษาอาการกระดูกหักระหว่างหมอพื้นบ้านกับสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ  ส่งให้งานการแพทย์แผนไทย สสจ.อุดรธานี ภายใน 25 กุมภาพันธ์  2552

3.สำรวจและรวบรวมรายชื่อหมอพื้นบ้าน เพื่อร่วมโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผสมผสานการรักษาอาการกระดูกหักระหว่างหมอพื้นบ้านกับสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ  ส่งให้งานการแพทย์แผนไทย สสจ.อุดรธานี ภายใน 25 กุมภาพันธ์  2552

4.โจทย์นวัตกรรมที่จะได้ดำเนินการของอำเภอต่าง ๆ

5.ปรับเพิ่มรายงานประจำเดือนกรณีมีข้อมูลของตำรับ ตำรา หรือหมอพื้นบ้านในพื้นที่เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง โดยให้กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มตำรับ ตำรา หมอพื้นบ้าน

หมายเลขบันทึก: 257975เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2009 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท