Tips เล็กน้อยในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงาน


โรคกล้ามเนื้อและกระดูก โรคจากการทำงาน โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน

บางครั้งการวินิฉัยโรคกระดูกและข้อจากการทำงานนั้นค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป ต้องแยกระหว่างความไม่สบายในการทำงาน และโรคที่เกิดจากท่าทางการทำงานให้ได้ก่อน ขอแนะนำ Tips เล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยในการ recognize

หลักในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงาน

•1.             ผู้ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อและกระดูกจริง

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังจากการทำงาน ผู้ป่วยจะต้องมีอาการปวดเวลามีการเคลื่อนใหวกล้ามเนื้อหรือข้อ บริเวณที่ผู้ป่วยบอกเล่า หรือในกรณีที่มีเส้นประสาทถูกกดทับ ผู้ป่วยจะต้องมีอาการปวดหรือชาตามการกระจายของเส้นประสาทนั้น

•2.             มีสาเหตุในงานที่ทำให้มีอาการนั้น

สาเหตุที่ทำให้มีอาการที่สำคัญคือท่าทางการทำงานที่ผิดปกติ ได้แก่

2.1 การทำงานซ้ำซากในท่าเดียวกับนนานๆ โดยเฉพาะในท่าที่ทำงานไม่สบาย

2.2 งานที่ต้องใช้กำลังมากๆ โดยเฉพาะที่ต้องใช้กำลังเฉพาะที่ ซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ เช่น การบิดข้อมือไปมา เพื่อขันสกรู โดยใช้ไขควง เป็นต้น

2.3 งานที่ต้องขยับข้อต่างๆ ไปมาซ้ำกัน เป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะถ้ามีการต้องใช้กำลัง เช่นการบิดผ้าเปียกหลายครั้ง

2.4 งานที่ต้องทำอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานๆ เช่น ช่างเชื่อมจะต้องนั่งคุกเข่าทำงานในท่าเกร็งเป็นเวลานานๆ

2.5 งานยกของจากที่ต่ำกว่าไปยังที่สูงกว่า โดยเฉพาะการยกที่ต้องเดินแบกเป็นระยะทางใกล ของที่มีน้ำหนักมาก ไม่มีที่จับที่ถนัดมือ หรือ ต้องบิดตัว

2.6 การทำงานในสถานที่คับแคบ ทำให้ไม่สามารถบิดตัวได้

2.7 การทำงานในสถานที่ซึ่งมีความสั่นสะเทือน หรือในสถานที่ซึ่งมีสิ่งคุกคามด้านจิตสังคม เช่นมีเสียงดัง หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสมจะทำให้อาการเจ็บเป็นมากขึ้น

2.8 การทำงานในสถานที่ซึ่งไม่สบายตัว เช่นการระบายอากาศไม่พอ แสงสว่างไม่พอ ความชื้นสูง ไม่มีความสบายในการนั่ง หรือไม่มีความรู้ในงานเพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้จะซ้ำเติมปัญหาทางการยศาสตร์ที่มีอยู่

2.9 ปัจจัยด้านตัวคนเช่นอ้วน เป็นโรคที่ทำให้ระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันง่ายต่อการเป็นโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ

3. เมื่อมีข้อ   1 และ ข้อ 2 ต่อไปจึงมาถึงข้อสามซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเช่นนายจ้าง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำโรงงาน  โดยเฉพาะในเรื่องโรคกล้ามเนื้อและกระดูก จำเป็นที่จะต้อง ตรวจสถานประกอบการ หรือ walk through survey เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค อย่างไรก็ตามการซักประวัติก็เป็นเรื่องสำคัญที่พอจะทำให้ประเมินสภาพการทำงานได้ เช่น มีอาการมากในช่วงทำงาน อาการดีขึ้นในวันหยุด  มีเพื่อนร่วมงานเป็นด้วย มีอาการหลังทำงานนี้ระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น ที่ต้องระวังคือ อาการกล้ามเนื้อและกระดูกนี้เป็นได้กับทุกคนไม่จำเป็นต้องเกิดจากการทำงาน นั่งดูโทรทัศน์ที่บ้านก็ปวดได้

สรุป ในการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ที่สำคัญที่สุดคือต้องเป็นโรคนั้นจริง แล้วจึงค่อยหาว่าในการทำงานของผู้ป่วยมีปัจจัยอะไรที่ทำให้มีอาการอย่างนั้นบ้าง เมื่อได้ว่ามีปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดโรคได้ ค่อยลงพื้นที่หาหลักฐานเพิ่มเติมว่าปัจจัยนั้นๆ มีขนาดมากพอ มีความเสี่ยงมากพอ หรือผู้ป่วยมีการสัมผัสมากพอที่จะทำให้เป็นโรคได้หรือไม่

การป้องกัน

  • 1. การป้องกันแบบปฐมภูมิ ได้แก่การส่งเสริมสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วยได้ง่ายๆ การออกแบบงานให้ดี จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม การให้ความรู้แก่คนทำงานจะได้มีการระวังป้องกัน การเตรียมพร้อมสำหรับกลับเข้าทำงานเมื่อร่างกายยังไม่หายดี
  • 2. การป้องกันแบบทุติยภูมิ คือการเฝ้าระวังอาการของโรคกล้ามเนื้อและกระดูก การตรวจร่างกายดูปัจจัยอี่นที่จะทำให้เป็นโรคได้ง่ายขึ้น การซักประวัติอาการ
  • 3. การป้องกันแบบตติยภูมิ ได้แก่ การรักษา การฟื้นฟู ให้ร่างกายหายและกลับมาทำงานได้เร็วที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 257577เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตาม ILO recommendation 194 ที่กระทรวงแรงงานลอกมาออกเป็นกฎหมาย (แต่ลอกไม่หมด)นั้น ระบุว่า โรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานต้องมี ปัจจัย เสี่ยง 5 ข้อ ตามข้างล่าง

Musculo-skeletal diseases caused by specific work activities or work environment where particular risk factors are present. (นิติกรกระทรวงแรงงานลอกมามาทำเป็นกฎหมาย เพียงบรรทัดนี้เท่านั้น)

Examples of such activities or environment include:

(a) rapid or repetitive motion

(b) forceful exertion

(c) excessive mechanical force concentration

(d) awkward or non-neutral postures

(e) vibration Not included

Local or environmental cold may increase risk

ไปดูในเล่มสีชมพู (เกณฑ์มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ฉบับเฉิมพระเกียรติ) ก็ไม่มีรายละเอียด แถมยังผิดเยอะมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท