หลังจากสงกานต์กลับมาฝึกต่อ วันที่20 เมษา 52


สนุกสนานวันนี้

วันนี้เป็นวันแรกหลังจากกลับมาสงกรานต์และแล้วสิ่งที่กังวลก็มาถึงดิฉันกังวลเรื่องออกกำลังกายเป็นอย่างมากเป็นคนที่ไม่เคยจะออกกำลังกายเลยแต่เย็นวันที่19เพื่อนก็มาบอกว่าพรุ่งนี้เธอต้องเป็นผู้นำออกกำลังกายนะ  ซึ่งตามคิวแล้วไม่ใช่เราเลยหัวหน้ากลุ่มมันเปลี่ยนเฉยเลย  แต่ข้าพก็เตรียมเพลงตัดมาแล้วเรียบร้อยเพราะกังวลอยู่  วันนี้ดิฉันก็ได้นำเต้นคู่กับเพื่อนอีกคนซึ่งบุญดีมากมายที่ได้เพื่อนคนนี้มาคู่เพราะเขาเต้นเก่งและกล้าแสดงออก  วันนี้ก็ได้เรื่องท่าออกกำลังกายและตอนบ่ายก็ได้พูดคุยกับcaseที่ได้รับผิดชอบ ผู้ป่วยยิ้มแย้มมากว่าเดิมและพูดคุยมาขึ้นและสามารถเริ่มเข้าสู่ปัญหาได้นิดหน่อย วันนี้ก็ได้ไปศึกษาเรื่องยาของผู้ป่วยโรคโรคอารมณ์แปรปรวนชนิด Bipolar Disorder    ยาที่รักษาจะมีดังนี้

ใช้ยารักษาโรคจิต
สำหรับการรักษาอาการกระวนกระวาย มักนำยากลุ่มที่เรียกว่ายารักษาโรคจิต มาใช้ ยากลุ่มนี้เป็นยากล่อม ประสาท เช่น chlorpromazine (Largactil, Thorazine หรือ Haloperidol (Haldol) ยากลุ่มนี้จะให้ผลในทางผ่อนคลายต่อความกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข และความตึงเครียด ยายังช่วย ลดอาการประสาทหลอน หรืออาการหลงผิดด้วย ยากลุ่มนี้ไม่เจาะจงต่ออาการใดอาการหนึ่ง อาจใช้กับ
การรักษาการฟุ้งพล่าน โดยอาจใช้ร่วมกับลิเธียม หรืออาจใช้กับอาการเศร้าซึมที่มีอาการหลงผิดร่วมด้วย ยารักษาโรคจิต อาจส่งผลข้างเคียงต่อระบบกล้ามเนื้อและประสาท
ใช้ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressants)
ยาแก้ซึมเศร้าช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า แต่เฉพาะกับอาการซึมเศร้าที่ผิดปกติ ยานี้จะไม่มีผลต่อความ เศร้าโศกเสียใจของคนปกติ ยากลุ่มนี้ได้แก่ imipramine (Tofranil) และ amitriptyline (Elavil,
Tryptfzol)    ผลข้างเคียงของยาแก้ซึมเศร้า ได้แก่อาการ อ่อนเพลีย ปากแห้ง สั่น ท้องผูก ปัสสาวะ ไม่สะดวก จะเป็นลม อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน ในผู้ป่วยที่เป็นโรค หัวใจรั่ว (cardiac disease)
การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า จะดำเนินต่อไป หลังจากที่อาการเศร้าซึมได้หายไปแล้ว อาจเป็นเวลา 3-4 เดือน บางครั้งอาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการฟุ้งพล่าน ผู้ป่วยที่เคยผ่านอาการฟุ้งพล่านมา อาจหยุดยาแก้ซึมเศร้าเร็วขึ้น สำหรับผู้ป่วยสองลักษณะ (ฟุ้งพล่านและซึมเศร้าผสมกัน) ที่ต้องการรักษาด้วยยา ควรจะได้รับยาลิเธียม ผู้ป่วยลักษณะเดียว (ฟุ้งพล่าน หรือซึมเศร้า) อาจต้องรักษาด้วยยาลิเธียม หรือยาแก้ซึมเศร้า

               และการรักษา

การรักษาโรคอารมณ์แปรปรวน

โรคอารมณ์แปรปรวน อาจรักษาได้ด้วยวิธีการต่างๆ นอกเหนือไปจากการใช้ลิเธียม และบ่อยครั้งที่วิธีการอื่นๆจะนำมาใช้ หรือนำมาใช้ร่วมกับ ลิเธียม ความช่วยเหลือทางจิตวิทยาและจิตบำบัด อาจนำมาใช้ระหว่างระยะ พักโรค และเมื่อผู้ป่วยอยู่ในช่วงป่วยระดับไม่รุนแรง
ยารักษาโรคจิต
สำหรับการรักษาอาการกระวนกระวาย มักนำยากลุ่มที่เรียกว่ายารักษาโรคจิต มาให้เพื่อผลในทางผ่อนคลาย ต่อความกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข และความตึงเครียด ยายังช่วยลดอาการประสาทหลอน หรืออาการหลงผิด ด้วย ยากลุ่มนี้ไม่เจาะจงต่ออาการใดอาการหนึ่ง อาจใช้กับการรักษาการฟุ้งพล่าน โดยอาจใช้ร่วมกับลิเธียม หรืออาจใช้กับอาการเศร้าซึมที่มีอาการหลงผิดร่วมด้วย ยารักษาโรคจิต อาจส่งผลข้างเคียงต่อระบบ กล้ามเนื้อและประสาท

ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressants)
ยาแก้ซึมเศร้าช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าที่ผิดปกติ ผลข้างเคียงของยาแก้ซึมเศร้าจะต่างกันไปตามแต่ชนิด ของยา อันได้แก่อาการ อ่อนเพลีย ปากแห้ง สั่น ท้องผูก ปัสสาวะไม่สะดวก จะเป็นลม อัตราและจังหวะ การเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน
                         การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า จะดำเนินต่อไป หลังจากที่อาการเศร้าซึมได้หายไปแล้ว อาจเป็เวลา 3-4 เดือน บางครั้งอาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการฟุ้งพล่าน ผู้ป่วยที่เคยผ่านอาการฟุ้งพล่านมา อาจหยุดยาแก้ซึมเศร้า เร็วขึ้น สำหรับผู้ป่วยสองลักษณะ (ฟุ้งพล่านและซึมเศร้าผสมกัน) ที่ต้องการรักษาด้วยยา ควรจะได้รับยาลิเธียม ผู้ป่วยลักษณะเดียว (ฟุ้งพล่าน หรือซึมเศร้า) อาจต้องรักษาด้วยยาลิเธียม หรือยาแก้ซึมเศร้า
โรคอารมณ์แปรปรวน อาจรักษาได้ด้วยวิธีการต่างๆ นอกเหนือไปจากการใช้ลิเธียม และบ่อยครั้งที่วิธีการอื่นๆจะนำมาใช้ หรือนำมาใช้ร่วมกับลิเธียม ความช่วยเหลือทางจิตวิทยาและจิตบำบัด อาจนำมาใช้ระหว่างระยะพักโรค และเมื่อผู้ป่วยอยู่ในช่วงป่วยระดับไม่รุนแรง
การช็อคด้วยไฟฟ้า (Eketric Conrulsive Treatment:ECT)
การช๊อคด้วยไฟฟ้า จะทำในลักษณะดังนี้ :
ในระหว่างภาวะเสมือนหลับ บางส่วนของสมอง จะถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้า ที่วางบนผิวหนัง ซึ่งจะเกิดการกระตุก แต่เนื่องจากกล้ามเนื้อได้ถูกผ่อนคลายโดยฤทธิ์ยา การกระตุกของกล้ามเนื้อจึงเป็นไป แต่เพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกอะไรในตอนนั้น แต่ระหว่างหลายชั่วโมงต่อมา อาจจะปวดหัวบ้าง และ รู้สึกตึงกล้ามเนื้อ บางทีความจำบกพร่องอาจเกิดขึ้นได้
การช๊อคไฟฟ้า อาจใช้รักษาอาการฟุ้งพล่านด้วย แต่โดยหลักแล้ว การใช้รักษาอาการ ซึมเศร้าอย่างรุนแรง โดยใช้วิธีนี้ 2-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ในระหว่าง 3-4 สัปดาห์ นำไปสู่การฟื้นตัวของผู้ป่วยส่วนใหญ่ การช๊อค ไฟฟ้า อาจทำในระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเมื่อเป็นผู้ป่วยนอก 
           ซึ่งในผู้ที่ดิฉันได้case เขารักษาด้วยยาไม่ได้รักษาด้วยไฟฟ้า  อาการผู้ป่วยก็ดีขึ้นเพราะเดิมก็รักษาอยู่ทานยาเป็นประจำแต่มาครั้งนี้ด้วยอาการแปรปรวนขึ้นมาอีกจากน้อยใจน้อยและในตัวเองที่ไม่มีคุณค่า ยากฆ่าตัวตาย

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #การรักษากับยา
หมายเลขบันทึก: 257572เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท