ความคืบหน้าของการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


สภาพการจัดการศึกษาในรูปแบบวิทยาลัยชุมชน

         สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่ประชาชนกำลังประสบปัญหาและต้องอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมที่วิกฤตและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประชาชนไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดโอกาสการเข้ารับบริการทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมาก รัฐบาลจึงได้มีนโยบายที่ต้องการให้  ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือนราธิวาส  ยะลา  ปัตตานี  สตูล และ ๕ อำเภอของจังหวัดสงขลาได้แก่  เทพา  จะนะ  สะบ้าย้อยและนาทวี เป็น เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่ต้องจัดให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขด้วยเหตุผลความจำเป็นดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนขึ้นในพื้นที่ ๕  จังหวัด  เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่า

          รูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนยึดหลักการจัดการศึกษาที่สนองความต้องการของชุมชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  โดยมีสภาวิทยาลัยชุมชนซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชนจากกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและกำกับติดตามให้การดำเนินงานจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าหมาย  และยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จและมีคุณภาพตามมาตรฐานของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและสอดคล้องกับกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ๑๕ ปี  ซึ่งผลของการดำเนินงานจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน  ประสบผลสำเร็จดังนี้

 

ตารางแสดงผลการดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จำนวนนักศึกษา-ผู้เรียน: คน)

วิทยาลัยชุมชน

หลักสูตรอนุปริญญา

จำนวนผู้จบปริญญา

หลักสูตรระยะสั้น

จำนวนผู้จบหลักสูตร

ระยะเวลาจัดการศึกษา

นราธิวาส

,๐๔๘

๑๓,๓๘๙

๒๕๔๕-๒๕๕๑

ปัตตานี

๙๕๓

,๑๒๔

๒๕๔๗-๒๕๕๑

ยะลา

๗๔๐

,๔๔๘

๒๕๔๗-๒๕๕๑

สตูล

๖๓

,๔๘๗

๒๕๔๗-๒๕๕๑

สงขลา

-

๖๓๓

๒๕๕๐-๒๕๕๑

รวม

,๘๐๔

๓๒,๐๘๑

๒๕๔๕-๒๕๕๑

         

          จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่าวิทยาลัยชุมชน  ทั้ง ๕  จังหวัดได้สร้างโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญา  ให้กับประชาชนในพื้นที่และสำเร็จการศึกษาไปแล้วในระยะเวลา ๗ ปี จำนวน  ,๘๐๔  คน  และจัดการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นเพื่อพัฒนางาน พัฒนาอาชีพหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตไปแล้ว  จำนวน  ๓๒,๐๘๑  คน  เนื่องจากการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนเป็นการจัดการศึกษาที่สนองความต้องการชองชุมชน  การจัดหลักสูตรและการวางแผนการศึกษาในแต่ละหลักสูตรมาจากการสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของชุมชน  จึงสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษารูปแบบวิทยาลัยชุมชนมีความเหมาะสมสำหรับการสร้างโอกาสให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการศึกษาในระบบสถาบันการศึกษาอื่นได้เป็นอย่างดี  จากการติดตามผลนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญาพบว่าร้อยละ ๓๐ สามารถพัฒนาด้านความพร้อมและความต้องการที่จะเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี ส่วนที่เหลือได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆไปพัฒนาการปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ทั้งในองค์กรปกครองท้องถิ่น  ในสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานราชการและงานเอกชนอื่นรวมทั้งประกอบอาชีพส่วนตัว   สำหรับหลักสูตรระยะสั้นนักศึกษาสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนางานที่ทำอยู่แล้วหรือสร้างงานอาชีพหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ ๗๐  ปัจจุบันนี้การศึกษาของวิทยาลัยชุมชน  ได้รับการยอมรับและประชาชนมีความประสงค์จะเข้าเรียนมากขึ้น  โดยตรวจสอบข้อมูลจากจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนแต่ละวิทยาลัยที่มีจำนวนมากกว่าจำนวนเป้าหมายของแผนการรับนักศึกษาทุกแห่งและมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป

 

ตารางแสดงข้อมูลจำนวนนักศึกษาในปีปัจจุบัน (๒๕๕๒)

วิทยาลัยชุมชน

หลักสูตรอนุปริญญา

หลักสูตรระยะสั้น

นราธิวาส

,๒๒๔

,๒๐๐

ปัตตานี

,๐๓๓

,๑๐๐

ยะลา

,๔๑๒

,๐๐๐

สตูล

๙๑๒

๘๐๐

สงขลา

๓๔๐

๕๐๐

รวม

,๙๒๑

,๖๐๐

 

สำหรับหลักสูตรอนุปริญญา  ที่มีความต้องการของผู้เรียนมากที่สุดได้แก่  การศึกษาปฐมวัย  การปกครองท้องถิ่น คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการทั่วไป พัฒนาชุมชน  การบัญชี เทคโนโลยีการเกษตร วารสารและการประชาสัมพันธ์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีรถยนต์  ธุรกิจอาหารฮาลาล  เทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ส่วนหลักสูตรระยะสั้นมีความหลากหลายจำนวนมากกว่าร้อยหลักสูตรแต่สามารถรวมทักษะที่ใกล้เคียงกันได้ดังนี้ กลุ่มภาษา  กลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต และกลุ่มส่งเสริมอาชีพ

หมายเลขบันทึก: 257469เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท