การส่งเสริมอาชีพในจังหวัดชายแดนภาคใต้


การส่งเสริมอาชีพ

มีบางแง่มุมเกี่ยวกับพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผู้คนทั้งประเทศไทยควรต้องเข้าใจ คือ ชาวบ้านใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น โดยพื้นฐานแล้วยังขาดโอกาสหรือมีโอกาสการเข้าถึงสถานบริการของภาครัฐน้อยมาก เรื่องการศึกษาการรับรู้โดยเฉลี่ยก็น้อยกว่าภูมิภาคอื่น สุขภาวะทางอนามัยและสาธารณสุขยังมีอัตราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมาก ภาวะทางเศรษฐกิจมีการลงทุนเพิ่มเติมหรือพัฒนาความเจริญอื่นๆ ก้ไม่ดีนัก เหล่านี้เป็นเหตุผลและปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดจากความไม่เข้าใจของทั้ง ๒ ฝ่าย เหมือนมีกำแพงหรือเยื่อกั้นอยู่ระหว่างกัน ทำให้การเข้าใจหรือการสื่อสารยังไม่ดีเท่าที่ควร

          ความจริงวิถีชาวบ้านใน ๓ จังหวัดคงไม่ต่างจากชนบทที่อื่น คือในมิติด้านสังคมนั้นยังเป็นสิ่งที่จะหาได้ยากในสังคมปัจจุบัน ความเป็นคนเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีความพออยู่พอกิน มีการช่วยเหลือกันและกันในชุมชนหมู่บ้าน ความมีน้ำใจให้แก่กัน การใช้ชีวิตที่อยู่ในกรอบศาสนา ซึ่งทำให้ปัญหาที่เกิดจากความเจิรทางด้านวัตถุนิยมน้อยกว่าที่อื่นๆ การทำงานและประสานงานอาศัยความเข้าใจเป็นหลัก เชื่อถือผู้นำ ไม่เรื่องมาก ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น เป็นโดยวิสัยและพูดคุยเข้าใจกันจะไม่มีการฟ้องร้อง ร้องเรียน หรือดำเนินการใดๆ อันที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนเปลี่ยนไป เป็นความเรียบง่าย ความพอเพียง ที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องกู้ร้องเรียกหาให้คืนมาเหมือนพื้นที่อื่น

          โดยปกติภารกิจของการฝึกทักษะอาชีพและส่งเสริมการทำงานที่จับต้องได้และมีผลต่อความศรัทธาของชาวบ้าน คือการบริการด้วยความเข้าใจต่อวิถีชีวิตและจริงใจต่อการสร้างโอกาสพัฒนา เมื่อมีความศรัทธาเกิดขึ้นงานอื่นๆ ก็จะตามมาได้ไม่ยาก ดังนั้น ระบบบริการของการศึกษาเพื่อการฝึกอบรมทักษะอาชีพจึงต้องตอบสนองความต้องการของชาวบ้านมากที่สุดด้วยการเปิดใจรับฟังความต้องการในทุกๆ ด้าน จากนั้นใช้หลักใจถึงใจในการทำงาน โดยเฉพาะมิติด้านจิตใจ ความรู้สึก ผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ปรับกระบวนการทำงานบางอย่าง และในการมารับบริการหรือไปให้บริการจะต้องทำให้รู้สึกว่า หน่วยงานฝึกอบรมทักษะอาชีพเป็นของทุกคน ถ้ามีความต้องการในการพัฒนาทักษะอาชีพจะเป็นที่พึ่งของเขาได้

          ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้บุคลากรทางการศึกษาและฝึกอบรมยังได้รับความนับถือจากชาวบ้านในระดับสูง เป็นข้อดีของกำลังใจในการทำงาน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรา-ทีมงาน-ชาวบ้าน แต่แน่นอนว่าต้องใช้เวลาในการปรับตัวเรียนรู้ ทั้งภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของชุมชน ทำหน้าที่ตามบทบาทของวิชาชีพให้ดีที่ที่สุด

หมายเลขบันทึก: 257464เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท