การสังเกตุปลาป่น ( ตาดีได้ ตาร้ายเสีย)


ระวัง ปลาป่นปลอมปน ทำง่ายๆ แต่ดูยาก

ปลาป่น

ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญให้โปรตีนสูงและมีคุณภาพดีทำมาจากปลาเป็ดเศษปลาเล็กปลาน้อยหรือ หัวปลาที่เหลือจากโรงงานทำปลากระป๋องทำให้ปลาป่นที่ผลิตได้มีคุณภาพหลากหลาย   ดังนั้นในการซื้อขายปลาป่น จึงมีการแบ่งเกรด ตามเปอร์เซนต์โปรตีนในปลาป่น โดยปลาป่นชั้นคุณภาพที่1จะมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 60 ปลาป่น    ชั้นคุณภาพที่ 2 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 55% และปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 3 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 50%

ลักษณะและคุณสมบัติมาตรฐานของปลาป่น

สำหรับการปลอมปนในปลาป่นด้วยวัตถุดิบต่างๆที่อาจพบได้   คือ

1. ทรายละเอียด 

          เป็นเม็ดเล็กละเอียดสีคล้ายปลาป่นมากถ้าดูด้วยตาเปล่า  แต่ดูจากกล้องจะเห็นบางเม็ดใส  สะท้อนแสง  สีน้ำตาลหรือสีดำก็มี

 2.เปลือกหอยบด หรือ เปลือกหอยเก่า  (กาซ้า)

          เป็นแผ่นขาวขุ่นทึบและมักหนากว่าชิ้นส่วนของกระดูกปลา  อาจมีลวดลายบนชิ้นด้วย  มักพบในส่วนหยาบ

 3. เปลือกปู

เป็นชิ้นขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง  ด้านหนึ่งมีสีขุ่นทึบ  อีกด้านหนึ่งมักมีจุดสีส้มกระจายอยู่ทั่วไป  มักพบในส่วนหยาบมากกว่าส่วนละเอียด

4.โปรตีนถั่วเขียว  หรือ  โปรตีนจากกากวุ้นเส้น

          ลักษณะเป็นก้อนผิวขรุขระ  ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง  จึงพบได้ทั้งในส่วนหยาบและละเอียด  สีและความแข็งอ่อนขึ้นอยู่กับขบวนการผลิตของแต่ละโรงงาน

5. กากน้ำมันหมู

          เป็นกากที่ได้จากการอัดน้ำมันหมูออกจากเครื่องอัดมีลักษณะเป็นแผ่น  แต่เมื่อจะนำมาใช้ก็จะนำมาบดละเอียด  ดูจากภายนอกเห็นเป็นสีเนื้อ-น้ำตาลเหมือนปลาป่นกลิ่นเหม็นหืน  แต่ดูจากกล้องจะเห็นเป็นก้อนรูปร่าง  ลักษณะเนื้อไม่แน่นอนคล้ายกับกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน  แต่เมื่อใช้คีมคีบแยกอกแล้วหยดน้ำแช่ไว้สักครู่จะพองตัว    คล้ายฟองน้ำที่อุ้มน้ำไว้

6. เนื้อป่นหรือเนื้อและกระดูกป่น

          เป็นวัตถุดิบที่ดูด้วยตาเปล่าคล้ายกับปลาป่นมาก  แต่เมื่อนำมาร่อนด้วยตะแกรงเพื่อแยกส่วนหยาบกับส่วนละเอียด  แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่าในส่วนหยาบมีกระดูกเป็นก้อนสีขาวขุ่น  มีเศษเนื้อละเอียดติดอยู่บ้าง  มีขนทั้งที่เป็นเส้นใสขาวบิดไปมาและมีเส้นดำหนาเป็นแท่งยาว   ส่วนละเอียดเป็นเนื้อลักษณะป่นไม่เป็นเส้นเหมือนเส้นกล้ามเนื้อปลา  เนื้อป่นจะมีลักษณะชุ่มอม น้ำมัน   เมื่อดมเนื้อป่นมักได้กลิ่นหืนของไขมันเป็นกลิ่นเฉพาะตัว

7. เศษหนังสัตว์

          มักเป็นผงละเอียดหรือก้อนเล็กๆรูปร่างไม่แน่นอน  มีชิ้นส่วนซึ่งเป็นเงาและสะท้อนแสงกระจายอยู่ทั่วไป  ลักษณะที่เห็นภายนอกและสีคล้ายปลาป่นแด่กลิ่นเหม็นมาก

8. ขนไก่ปนที่ผ่านขบวนการย่อยสลายแล้ว

9. โปรตีนจากชข้าวโพด

ลักษณะและคุณสมบัติมาตรฐานของปลาป่น

·       ความชื้นไม่เกิน  10  เปอร์เซ็นต์

·       โปรตีนไม่ต่ำกว่า  52  เปอร์เซ็นต์

·       ไขมัน  ไม่เกิน  10  เปอร์เซ็นต์

·       แคลเซียม  ไม่เกิน  8  เปอร์เซ็นต์

·       ฟอสฟอรัส  ไม่ต่ำกว่า  2.5  เปอร์เซ็นต์

·       เกลือไม่เกิน  3.5  เปอร์เซ็นต์

·       กลิ่นหอมแบบกลิ่นคาวปลาสด  ไม่เหม็นเน่า  เหม็นไหม้  เหม็นหืด  และไม่มีกลิ่นฆ่าแมลง

 

หนังสืออ้างอิง

สุกัญญา   จัตตุพรพงษ์ . การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบอาหารสัตว์ . เรียบเรียงครั้งที่  2          .. 2539

พันทิพา  พงษ์เพียจันทร์.  หลักการอาหาร เล่ม 2  หลักโภชนศาสตร์และการประยุกต์. ภาควิชา สัตวศาสตร์  คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 257242เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท