เปรียบเทียบต้นทุน ความคุ้มค่า หมูป่นVSปลาป่น


หมูป่น ทางรอดทางเลือกของผู้เลี้ยงสัตว์

เนื้อป่น อีกหนึ่งทางเลือกในการลดต้นทุน

     เนื้อป่น เนื้อและกระดูกป่น เ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเศษเนื้อ เอ็น ผังพืด แต่ไม่รวมเลือด ขน เขา หนังสัตว์  ซึ่งเป็นเศษเหลือจากการทำผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์  เมื่อได้มาแล้วจะผ่านการบด  การตรวจสอบโลหะตกค้าง การปั่นให้ละเอียดและ อบฆ่าเชื้อด้วยอุณหภูมิสูงและความดัน

     เมื่อเสร็จแล้วจะมีการแยกโดยการร่อนแยกเศษเนื้อและกระดุกออกจากกัน 

     ส่วนที่เป็นเนื้อป่น จะมีโปรตีนสูงไม่น้อยกว่า 55% มีกระดูกปนมาน้อย ทำให้มีฟอสฟอรัสต่ำประมาณ 4.4% และมีแคลเซียมอยู่ไม่เกิน 2.2 เท่าของฟอสฟอรัสที่มีอยู่

      สำหรับเนื้อกระดูกป่น จะมีเศษเนื้ออยู่น้อย แต่มีกระดูกมาก มีโปรตีนต่ำ คือน้อยกว่า 55% แต่ฟอสฟอรัสจะสูงกว่า 4.4%

     ดังนั้นคุณค่าอาหารของเนื้อป่นจะดีกว่ากระดูกป่น และย่อยสลายโปรตีนได้ดีกว่ากระดูกป่นนั่นเอง

     เนื่องจากเนื้อป่น เนื้อและกระดูกป่น มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส สูง ดังนั้นเมื่อใช้ในสูตรอาหารก็จะเป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งแร่ธาตุทั้ง 2 ตัวนี้ สัตว์สามารถนำไปใช้ได้ 100%  จึงทำให้เราสามารถลดปริมาณไดแคลเซียมในสูตรอาหารลงได้

     เนื้อป่น เนื้อและกระดูกป่น เหมาะที่จะใช้ร่วมกับแหล่งโปรตีนอื่นๆ เช่น กากถั่ว คาโนลา  เพราะจะช่วยปรับระดับกรดอมิโนทริปโตเฟน ได้ ( เนื้อป่นมีระดับทริปโตเฟนต่ำ)

     คุณภาพของเนื้อป่น เนื้อและกระดูกป่น จะด้อยกว่าปลาป่น  เนื่องจากมีระดับไลซีน และทริปโตเฟนต่ำกว่า  ดังนั้นเมื่อจะนำไปทำสูตรอาหารต้องมีการปรับเพิ่มกรดทั้ง 2 ตัวนี้ เพื่อความสมดุล

     แต่เนื่องจากราคาขายเนื้อป่น เนื้อกระดูกป่น มีราคาต่ำกว่าปลาป่นที่ระดับโปรตีนเท่ากันอยู่ ราวๆ  20%  ( ราคาปัจจุบัน ปลาป่น55% อยู่ที่ 26.5 บาท  เนื้ออยู่ที่ 21.5 บาท/ กก.)

 

โภชนะ

เนื้อ 55%

ปลา55%

% แตกต่าง

 

ความแตกต่างใน 1 กก.

 

ราคา/กก.

 

 โปรตีน

55

55

0

0

 

5

 

ไลซีน

2.47

4.15

-1.68

-0.0168

-1.512

เมทไธโอนีน

0.77

1.44

-0.67

-0.0067

-1.608

แคลเซียม

11.6

7.7

+3.90

+0.039

0.63

ฟอสฟอรัส

4.6

3.8

+0.80

+0.008

0.63

หมายเหตุ

-          ไลซีนราคา กก. ละ  90 บาท

-          เมทไธโอนีน  ราคา กก. ละ  240 บาท

-          ปลาป่น 55% ราคา  กก. ละ  26.5  บาท

-          เนื้อป่น 55% ราคา  21.5  บาท

-          ไดแคลเซียม P 18% กก. ละ 9 บาท

-          ค่ากรดอะมิโนที่ต้องเติม รวม ( 1.512+1.608) = 3.120   บาท

-          ราคาเนื้อป่นถูกกว่าปลาป่น ( 26.5-21.5 ) = 5 บาท

-          ราคาเนื้อป่นเติมกรดอมิโน แล้ว ( 21.5+3.120 ) = 24.62 บาท

-          ราคาเนื้อป่นที่เติมกรดอมิโนแล้วแตกต่างจากปลาป่น ( 26.5-24.62 ) = 1.88 บาท

-          ถ้าใช้แทนปลาป่นในสูตรอาหาร 5 กก. ในอาหาร 100 กก. ลดต้นทุนได้ ( 1.88*5 ) = 9.4  บาท

-          ถ้าใช้เนื้อป่น  5 จะลดการใช้ แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้  ( 0.63*5 ) = 3.15 บาท

**ดังนั้นหากใช้เนื้อป่น 5 กก. ในสูตรอาหาร 100 กก. จะลดต้นทุนการผลิตลงได้ 12.29 บาทหรือทำให้อาหารถูกลงกิโลกรัมละ ( 12.9/100) = 0.123  บาท/ กก. 

**หากผสมอาหาร 1 ตัน จะลดราคาลงได้  123  บาท / ตัน

ข้อสงสัย...

-          เรื่องการย่อยได้ของโปรตีน ปัจจุบันด้วยเทคนิคการผลิต ที่ใช้ทั้งความร้อน ความดัน เครี่องมือ ที่ทันสมัย ทำให้การย่อยได้ของโปรตีน ไม่ต่ำกว่า 90%

-          การปนเปื้อนของซัลโมเนนลา ปัจจุบันยุโรป อเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิต มีมาตรการจัดการด้านเชื้อนี้อยู่แล้ว  จึงไม่มีการปนเปื้อน

ข้อแนะนำ

-          เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้  มีใบรับรองคุณภาพ

-          ควรปรับสูตรตามโภชนะที่ได้จริง

-          เลือกใช้เนื้อป่นที่โปรตีนไม่ต่ำว่า 55% เพราะจะมีการปลอมปนน้อย

-          เนื้อป่นมีกรดไขมันสูง เมื่อผสมอาหารแล้ว ไม่ควรเก็บไว้นาน จะเกิดการหืนได้

-          ไม่ควรใช้ในสัตว์เล็ก เช่น สุกรเล็กเป็นต้น

ที่มา: สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ . จากหนังสือ ฟาร์มโคนม ฉบับที่ 23 ปีที่ 2 มิถุนายน 2543

เรียบเรียงและ ดัดแปลงข้อมูลอ้างอิงราคาปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม  www.ptg2552.com

เพชร 082-1252994

หมายเลขบันทึก: 257237เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท