ผลการทดลองใช้ดีดีจีเอส


ผลการทดลองใช้ดีดีจีเอส ดีดี ดีดับเบิ๊ล2

ผลการทดลองใช้

DDGSคือ Dry distillers grians with solubles เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากขบวนการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพด  แล้วนำเอากากข้าวโพดส่วนที่เหลือจากระบวนการผลิตมาตากแห้ง แล้วนำมาใช้ในการทำอาหารสัตว์ โดยเป็นแหล่งของพลังงานและโปรตีนได้(วัตถุดิบทดแทน) โดยมีทั้งที่เป็นผงแห้งและมีการอัดเม็ดจำหน่าย โดยDDGSข้าวโพดมีโปรตีนประมาณ 27%โดยน้ำหนักแห้ง

 

DDGS ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายกันแล้ว DDGS เองเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีเยื่อใย (Crude Fiber, CF) ค่อนข้างสูง โดยให้ในรูปอาหารหยาบคุณภาพดี หรือ Protected Protein เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับสัตว์ นอกจากนี้ยังมี วัตถุหรือสารสีประเภท Xantrophyll สูง จึงเป็นประโยชน์ต่อวงการเลี้ยงสัตว์มาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ที่สามารถอาศัยสารสีนี้ปรับปรุงคุณภาพสีไข่ไก่ให้มีสีที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องใช้สารสีสังเคราะห์อันจะก่อให้เกิดการตกค้างไปยังผู้บริโภค แหล่งที่มาของ ดีดีจีเอส มาจากหลายประเทศด้วยกัน เช่นจีน ( มีข่าวปนเปื้อนเมลานีน) และ  สหรัฐอเมริกา มีโรงงานที่ผลิตเอทานอลได้ประมาณ 10 ล้านตัน/ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นอาหารวัวเนื้อ อาหารวัวนม อาหารสุกร อาหารไก่

การใช้ในสุกรอนุบาล

Combs และ Wallace  ทำการทดลองเมื่อปี 1969 เพื่อดูผลการเจริญเติบโตของลูกสุกรอนุบาล 36 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นที่ 7.5 กก. โดยใช้สูตรอาหารที่มี ดีดีจีเอส 0% 10% 20% ตามลำดับ โดยมีสูตร โภชนะเช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม ( ใช้ข้าวโพด+กากถั่ว) ผลการทดลองปรากฏว่า การใช้ดีดีจีเอส 10% ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต/วัน อัตราการกิน/วัน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่เมื่อใช้ 20% มีผลต่อการย่อยได้ของโปรตีนและไขมันลดลง

**สรุปผลครั้งนี้ได้ว่า เหมาะสมที่จะนำไปเลี้ยงลูกสุกรอนุบาลที่ 10%

 

ปี 1980 Wahstorm  ทดลองอีกครั้ง ที่ระดับการใช้ 0% 10% 20% และ 30% ในสูตรอาหารลูกสุกรอนุบาลโดยทุกสูตรปรับระดับโปรตีนและไลซีนให้ได้ระดับเดียวกัน สรุปผลได้ว่า  ทุกระดับ ไม่มีผลต่อการกิน แต่เติบโตลดลงเมื่อใช้ดีดีจีเอสมากขึ้น เพราะสูตรอาหารที่ได้มีพลังงานลดลงและเยื่อใยเพิ่มขึ้น แต่เมื่อทดลองปรับสูตรอาหารใหม่ให้มี ไลซีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ระดับเดียวกัน พบว่าๆไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต และถ้าหากให้กินดีดีจีเอส ที่ระดับ 2.5% ทำให้การกินเพิ่มขึ้น 8% การเติบโตเพิ่มขึ้น 12% การใช้อาหารต่อการเจริญเติบโตลดลง5%

 

ปี 2004 Whithey ทำการทดลองเลี้ยงลูกสุกรหย่านม โดยใช้ดีดีจีเอสที่ระดับ 0% 5% 10% 15% 20% 25%โดยทุกสูตรปรับพลังงาน 3340/ไลซีน 1.35 / เมทไธโอนีน +ซ๊สตีน 0.8% / แคลเซียม 0.95% /  ฟอสฟอรัส 0.8% ผลการทดลองพบว่า

ไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตต่อวัน

ไม่มีผลแตกต่างของน้ำหนักตัวเมื่อสิ้นสุดการทดลอง

การกินลดลงเมื่อใช้ดีดีจีเอสเพิ่มขึ้น

ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการกินต่อการเจริญเติบโต

การใช้ในสุกรุร่นและขุน

..ดร. เจอรี่ ชูรอน ทดลองเลี้ยงสุกรรุ่น ผสมอาหารที่ระดับดีดีจีเอส 0/10/20/30% ตามลำดับ โดยปรับระดับไลซีนให้เท่ากันทุกสูตร ผลลัพธิ์ที่ได้คือ

-         อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ADG  พบว่าใช้ 0% 10% เจริญเติบโตดีกว่า 20 และ 30%

-         อัตราการกินต่อวัน ADFI  พบว่าไม่มีผลกระทบต่อปริมาณการกินของสุกร

-         ประสิทธิภาพการใช้อาหาร พบว่า สูตร 0/10/20% ดักว่สูตร 30%

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พงศธรวัตถุดิบ กรุ๊ป
179 หมู่ 3 ถนนโคกกรวด-ขามทะเลสอ ตำบลโคกกรวด อำเ
อเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30280

เพชร 082-1252994   Email  :  [email protected]    เว็บ  www.ptg2552.com

                                                                                              

หมายเลขบันทึก: 257219เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2009 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท