ความไม่เข้ากันระหว่างความรู้เดิมที่มีและความรู้ใหม่


ความไม่เข้ากันระหว่างความรู้เดิมที่มีและความรู้ใหม่ ... บางครั้งข้าพเจ้าก็จะใช้ว่า "ความไม่พอดีของความรู้ที่มีและความรู้ใหม่"...

มนุษย์เราเริ่มนับตั้งแต่ได้มีกระบวนการเกิด...เกิดขึ้น ข้าพเจ้าถือว่าตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์นั่นแหละ เป็นจุดเริ่มต้นแห่ง "การเรียนรู้"... การเรียนเคลื่อนผ่านผัสสะ ภาษาวิชาการก็จะใช้คำว่า "ประสาทสัมผัส" อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (อันหลังนี้สำคัญ) เมื่อมีสิ่งมากระทบผัสสะ ก็จะเกิดการประมวลผลและนำไปเก็บไว้เป็นคลังข้อมูลในปัญญา

สั่งสม...

  • "ความรู้" นั้นใช้บ่อย ก็จะเกิดการเก็บไว้อย่างเพิ่มพูนและมีความละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ==> การที่ถูกนำมาใช้บ่อยนี้อาจสืบเนื่องมาจากว่าความชอบ ความประทับใจ อันมีเหตุมาจากแรงจูงใจ แรงบันดาลใจในเรื่องนั้นๆ ใช้บ่อยๆ ก็จะเกิดเป็นความชำนาญเกิดขึ้น
  • "ความรู้"นั้นไม่ค่อยได้ใช้...หรืออาจใช้บ้างไม่ใช้บ้าง หรือนานๆ ใช้ที ก็จะถูกเก็บไว้แบบซ่อนลึก หากเป็นลิ้นชักก็จะเก็บไว้ข้างในสุดของลิ้นชักนั้นแหละ กว่าจะถูกดึงออกมาใช้ได้ ก็ค่อนข้างใช้เวลานานก็จะนึกได้ จำได้...
  • "ความรู้"ที่ไม่เคยนำมาใช้เลย...ก็จะถูกทิ้งไปจากความทรงจำ หรือค่อยๆ เลือนหายไป หรืออาจถูกทำลายไปโดยอัตโนมัติ

ส่วนข้อมูลใหม่...

  • หากว่า match กับความรู้เก่า (pior knowledge) ความรู้เดิมที่มีไม่ว่าความรู้นั้นจะถูกนำมาใช้บ่อยหรือไม่ก็ตาม แต่ก็ยังถูกเก็บไว้ในความทรงจำ ... ก็จะเกิดการเคลื่อนไปเชื่อมต่อ เชื่อมโยงกันได้เลย และเกิดเป็นการสั่งสมเพิ่มพอกพูน ... บางครั้งอาจถูกแปรรูป (เป็นความคิดสร้างสรรค์) เพราะมีกระบวนการประมวลผล และแปรผล อันอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่มากในเรื่องนั้นๆ ทำให้เกิดการแตกแขนงของความเชื่อมโยงระหว่างความรู้เก่าและใหม่ ออกไปได้อีกมากมาย
  • หากว่าไม่ match บุคคลนั้นก็จะเกิดเป็นความงงงวย ไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง ... บางครั้งอาจมีปฏิกิริยาตอบกลับแบบปฏิเสธ ไม่รับข้อมูลนั้นๆ เลย อันนี้ก็ต้องอาศัยการบอกซ้ำๆ เหมือนเด็กที่มีความบกพร่องทางปัญญา เช่น เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีความผิดปกติทางการเรียนรู้ ลักษณะนี้ต้องอาศัยการบอกซ้ำๆ ย้ำบ่อยๆ... หรือไม่ก็ในบางคนก็อาจกล้าๆ กลัวๆทดลองเรียนรู้ไปแบบแน่ใจและไม่แน่ใจสลับกันไปที่สุดแล้วของบุคคลในลักษณะนี้ก็จะถูกเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากความพยายามที่จะเรียนรู้นั้น และในอีกจำพวกหนึ่ง...จะใช้รูปแบบเผชิญเลย เมื่อไม่รู้ก็จะนำพาตนเองไปสู่ความรู้นั้นให้ได้ มีความพยายาม อุตสาหะ... แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักใช้รูปแบบของการปฏิเสธก่อน ... เพราะความไม่ match กันระหว่างความรู้ใหม่และเก่า

ทำไมเวลาที่เราอธิบายหรือชวนคุยเรื่องบางเรื่อง ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่ของบุคคลนั้น จึงเกิดเป็นความไม่เข้าใจ?

นั่นก็เป็นเพราะว่า==> "บุคคล"นั้นไม่มีฐานความรู้ในเรื่องนั้นๆเลย

ดังนั้นการที่เราจะใส่ Data หรือข้อมูลใหม่เข้าไป จะต้องเข้าใจ ธรรมชาติของการสร้างความรู้ของบุคคลนั้นว่า...

  • มีธรรมชาติของการสร้างความรู้แบบๆไหน ...
  • หรือว่ามีรูปแบบอย่างไร
  • และความรู้เดิมนั้นเป็นอย่างไร

เมื่อเราได้ทำความใจรูปแบบการสร้างความรู้อันเป็นธรรมชาติของบุคคลนั้นแล้ว เราก็จะสามารถออกแบบ tools เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้ของบุคคลนั้น นำไปสู่การสร้างความรู้นั้นได้เร็วขึ้น และไม่เป็นการสร้าง tools ที่สูญเปล่า...

 

ถอดบทเรียนทางปัญญาในการออกแบบ

๒๔ เมษายน ๒๕๕๒

 ------------------------------------------------------

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 257176เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2009 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท