สื่อสารกับคนไข้อย่างไรจึงจะได้ตรงใจ(จริงๆ)


ภาษาที่สองสำคัญกับการทำงานอย่างไร

ลุงสนเป็นคนไข้ที่มาจากบุรีรัมย์  ป่วยด้วยอาการปวดศรีษะอาเจียนพุ่ง  ซึมลง  อ่อนแรงซีกขวาญาตินำส่งโรงพยาบาล ลูกสาวคนสวยเฝ้าพ่อได้หนึ่งสัปดาห์ต้องกลับไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ ลูกชายแต่งงานแล้วอยู่ที่ร้อยเอ็ด  เหลือแต่ภรรยาผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน  ความดันโลหิตสูงต้องดูแลตนเองด้วย

คุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกสมอง  และได้รับการผ่าตัดแล้ว

"พี่ case นี้นะนอนเป็นเดือน นะเพราะก้อนที่มันอยู่กับตัวผู้ป่วยมาตั้งแต่เกิดแล้ว พอเอามันออกร่างกายต้องใช้เวลาปรับตัว" คุณหมอบอก "มีปัญหาก็แก้ไป"

หลังผ่าตัด ลุงสนฟื้นได้เร็วจริงค่ะ  แต่ปัญหา  ปัสสาวะออกมาก  และทำให้เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลย์ ทั้งเกลือโซเดียมสูง(สูงทำให้ผู้ป่วยซึมลง  ต่ำ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง) ที่สำคัญสัปดาห์แรกลุงดึงท่อระบายทุกเส้น  รวมทั้งแผลผ่าตัด งเริ่มพูดคุย(กับญาติรู้เรื่องมากขึ้น) 

ขาด้านที่อ่อนแรงมีปัญหาเรื่องลิ่มเลือดแดงอุดตันส่วนปลาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ลุงเผชิญ

สัปดาห์ที่สอง  ลุงถ่มน้ำลายรอบเตียง  จนน้องๆได้ใช้ Mask ผูกปิดปากจมูก มัดมือป้องกันการดึง

ภรรยาผู้ป่วยช่วยดูแลช่วงอาบน้ำ (เพราะกลัวว่าพักผ่อนไม่เพียงพอจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพ)

ป้อนอาหารจึงเป็นหน้าที่ของทีมพยาบาล  แต่สื่อกันไม่รู้เรื่อง

   อะไรก็ Goo (Google.com)

สุดท้ายพยาบาลต้องพยายามสื่อภาษาเขมรให้ลุงสนเข้าใจ  ต้องหาข้อมูล

ทั้งค้นหาในอินเตอร์เน็ต   ทั้งให้ญาติสอน  แต่พอถูๆไถๆ จำคำสำคัญ

ดื่มน้ำ(เพราะลุงสนปัสสาวะออกมาก  ถึงแม้มียาพ่นให้ปัสสาวะลดลงก็ตาม)

ภาษาเขมร ตึ๊ก=ดื่ม

ตึ๊กน้ำ ใช้บ่อย (ตึ้ก น้ำ แต่ลุงอมน้ำไว้ ต้องหาหลอดมาสอดระหว่างฟันให้ลุงยอมกลืนน้ำให้)

ตึีกโอวัลติล ,ตึ๊กนม (อันนี้แล้วแต่อารมณ์)

โฮบบาย    แปลว่า    ทานข้าว(สองถาดต่อมื้อ)

ไข้ = กรุน
ตัวร้อน = กเดา คลวน
แผล = ด็อมเบา

บวม = เฮิมอปวดหัว = ชือ กบาล (ส่ายหน้า  อย่างเดียวแต่ญาติถามบอกปวด)
เนื้องอก = โดะฮ ซัจ
ถ่ายท้อง, ท้องเสีย = เรียะ
อาเจียน = กะอวต

อักเสบ = ดอ, โรเลียะ

ตาพร่า = พแนก ซรอวัง
อุจจาระ = เลียมัวะ
ปัสสาวะ = ตึก โนม
อุจจาระเหลว = ตึก มูต
เสลด = ซเลฮ
ยา = ทนำคนเฝ้าไข้ = เนียะ ก็อมดอ
ไหมผ่าตัด = เจฮ  (ดึงเล่นเป็นประจำ  ทั้งที่ผูกมือไว้)
กินยา = เลบ ทนำ(เวลากินยา ต้องเอาเม็ดยายัดลงในเนื้อปีโป้ ลุงถึงจะกินยาให้)
อย่าเกร็ง = กม ปเริง็ (อันนี้สุดยอด เวลาจะหาเส้นเลือดให้น้ำเกลือทีลุงไม่นิ่งเล้ย ต้องใช้คนช่วยอย่างน้อย สามคน ถึงจะเอาอยู่   ให้เสร็จก็ดึงเล่นอีก)

ขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตค่ะ

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=chaiwat4u&date=10-08-2007&group=4&gblog=23

Attached Image

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 256467เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2009 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้ความรู้ดีครับ

ละเลยไม่ได้เลย งานพยาบาลเนี่ย

ผมก็ทำงานในโรงพยาบาลเหมือนกันครับ ป้าอ้วน

คุณพัฒนะ มรกตสินธุ์  เจ้าคะขอบคุณค่ะที่แวะมา 

แต่ป้าอ้วนอยู่โรงพยาบาลต่างจังหวัดจึงมีอะไรที่ต้องขวนขวายให้ถูกใจผู้ใช้บริการ   คือว่าไม่ค่อยอินเตอร์น่ะคะ  ป้า ลุง ตา ยาย ที่มาพูดภาษาไหน อะไร คือว่า  ต้องยึดลูกหลานไว้แปลค่ะ  กลัวว่าพูดกันไม่รู้เรื่อง(ที่สำคัญป้าอ้วนก็หูตึงค่ะ)

วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งที่เราต้องบอกตัวเองว่า ต้องเรียนรู้ภาษาถิ่นให้มาก

คุณยาย แพทย์ส่งตัวมาจาก จ.สุรินทร์ทำ CT angiogram เพื่อดูว่าเส้นเลือดที่สมองส่วนใหนโป่ง พอง หรือมีเลือดออก พอทำเสร็จก็ต้องนอนพักตาม Guidline

คุณหมอทีม Neuro  surge มาround ส่วนมากใช้ภาษากลาง คุณยายก็ไม่ค่อยเข้าใจดีนะที่คุณหมอ  ดุลยเทพ มาจาก จังหวัดสุรินทร์ สื่อสารกันรู้เรื่อง

ไม่ว่า จะเรื่องปวดแผล กินข้าว วันนัดตรวจ อาการผิดปกติ

"ให้ผมเขียนไว้ให้ไหมพี่"

ดีจังพี่จะได้พูดได้     ชอบๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท