วิจัยที่ไม่ต้องแยกศาสตร์จะต้องทำอย่างไร?


การแก้ก็คือ ==> ก็ยุติการแยกศาสตร์ และนำมาหลอมรวมเข้าด้วยกัน เท่านั้นเอง

"เราสามารถทำวิจัยแบบไม่ต้องแยกศาสตร์ได้ไหมและต้องทำอย่างไร?" เป็นคำถามที่กระตุกต่อมเอ๊ะ! ของข้าพเจ้าเอง...

เวลาที่เราพูดถึงงานวิจัย เมื่อนั้นเราจะมองก่อนเลยว่า นักวิจัยกำลังทำอะไร อยู่ในศาสตร์ไหน เมื่ออยู่นอกศาสตร์นอกสาขาเรามักจะละเลยและมองข้ามไปไม่ได้สนใจมากมาย และจะกลับมาสนใจเมื่อถึงเวลาที่ว่าจะได้ใช้จริงๆ...

Beautiful Mind เรื่องเล่าของคนป่วยจิตเสื่อมแต่สอนสิ่งมีค่าทางปัญญา ==>

แรงบันดาลใจ...ที่นำมาสู่ความสงสัยของข้าพเจ้า ก็ได้มาจากตอนที่นำเรื่องของ John Nash นักคณิตศาสตร์ รางวัลโนเบล ที่ป่วยเป็นโรค schizophenia มาดูอีกครั้ง  การดูอะไรก็ตามแต่ละครั้งของการดูจะทำให้เห็นแง่มุมมองที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับ...เรื่องราวคล้ายเล่าเรื่องชีวิตของ John Nash ให้ฟังนี้...สิ่งหนึ่งที่กระทบใจข้าพเจ้ามากก็คือ วิธีที่เขาคิดค้นงานวิจัย...และพยายามมองอะไรให้แตกต่างไปจากที่คนทั่วไปมอง เขาจะมองสิ่งต่างๆ ที่ผ่านสายตาเขาไปเป็น "สมการคณิตศาสตร์" ... การเดินของนก ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม การเล่นเกมส์ การจีบสาว หรือเรื่องราวต่างๆ มากมาย สุดยอดของนักวิจัยท่านนี้มองแบบหลอมรวม ...

ปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น...

การแข่งขันและเป้าหมายเพื่อให้คู่แข่งขันได้ชนะทั้งสองฝ่าย แบบพอใจด้วย วิธีการคิดของ John Nash สอนให้ข้าพเจ้าได้เห็นว่า Prof.Nash ท่านนี้ไม่ได้มองข้ามผ่านในมิติทางสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์เลย หากแต่มองรอบด้านของแง่มุมของชีวิตและความสัมพันธ์ แล้วนำมาอธิบายตามสมการทางคณิตศาสตร์ จนปรากฏเป็นทฤษฎีที่แพร่หลายต่อมาในปัจจุบัน

ความหลอมรวมประสานแบบหนึ่งเดียว...

คำถามเดียว...

สามารถพลิกมุมมอง และนำไปมองได้ตามศาสตร์ของตนที่ถนัดได้ อย่างเรื่องเล่าของ Prof.Nash ท่านนี้ ข้าพเจ้านำมามองและอธิบายทางพุทธได้ว่า... "ทุกสรรพสิ่งนั้นล้วนมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ภายใต้กฏทฤษฎีที่ว่า มีสิ่งหนึ่งจึงมีสิ่งหนึ่ง...เมื่อลดเหตุลดปัจจัยจากสิ่งหนึ่งลด อีกสิ่งก็อาจจะลดลงตามไปด้วย..."

การเปิดประตูใจมองความเป็นไปรอบด้านต่างๆ สามารถแปรเปลี่ยนเป็นความงดงามได้เสมอ เรื่องที่เราเคยคิดว่ายาก ก็จะยากน้อยลงในความรู้สึก สาเหตุที่เราคิดว่ายากนั้น เป็นเพราะว่าเราปิดประตูเราแบบลงกลอนเลยว่า "สิ่งที่เรากำลังจะทำนั้นมันยาก"... แต่จริงๆ แล้ว หากลองก้าวเดินลงไปในประสบการณ์นั้นเราจะพบว่า สิ่งที่เราเคยคิดว่ายากนั้น จริงๆ แล้วมีความงดงามซ่อนไว้ให้เราได้รู้สึกอิ่มเอมใจได้อย่างมากมาย

เราลองขยับความคิด...พลิกมุมมองต่อเรื่องราวต่างๆ ... ข้าพเจ้าชอบใช้คำว่า "ฝึกคิดพลิกตลบ" แล้วเราจะได้เรียนรู้อะไรได้อย่างมากมายเลย... สำคัญคือ เราต้องฝึกการตั้งคำถามขึ้นมาก่อน และการที่เราจะเกิดการตั้งคำถามได้นั้น มันก็ต้องมีความสงสัยเกิดขึ้น อะไรก็ตามที่เป็นความสงสัย ..ขอให้เราได้หยุดพิจารณาก่อน อย่าเพิ่งละทิ้งเพิกเฉยไปก่อน ความสงสัยไหนสามารถตั้งเป็นคำถามได้ เราก็ตั้ง...หาคำตอบได้ ก็พึงเปิดโอกาสให้ตนเองได้แสวงหาคำตอบนั้นอย่างเป็นผู้มีปัญญา

จุดบอด...ที่ผ่านมา

สำหรับการเรียนรู้ตามทัศนะของข้าพเจ้าเอง... มองว่าเป็นเพราะเรานั้นชินต่อการคิดแบบแยกส่วน แบ่งเราแบ่งเขา มองว่าไม่เกี่ยวกันและกัน แบ่งความเป็นวิทยาศาสตร์ออกจากความเป็นศิลปะศาสตร์ ... แต่ถ้าน้อมใจพิจารณาดูจริงๆ แล้วเราจะเห็นว่า

วิทยาศาสตร์ = ศิลปะศาสตร์

ไม่มีสิ่งที่แยกขาดออกจากกันได้เลย... แต่ที่เรามองไม่เห็น มองไม่เข้าใจ เพราะเรายังไม่ได้ฝึกฝนการเปิดใจของเราให้มองเห็น... การเรียนรู้ของเราที่ปรากฏจึงมักเป็นแบบกระท่อนกระแท่น

เมื่อไรที่เราฝึกมองความเป็นหนึ่งเดียวในความแตกต่าง...

เราจะพบว่า..."สิ่งที่ปรากฏ" ขึ้นนั้น เป็นความปรากฏที่เกิดขึ้นเป็น "องค์ความรู้" ที่ผ่านการสร้างความรู้ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หมุนเป็นเกลียวติ้วๆ...อยู่ในกระบวนการทางปัญญา อันผ่านกระบวนการเรียนรู้ของความเป็นมนุษย์ออกมา

ปรากฏที่เกิด...เป็นปรากฏการณ์ที่เรานั้นได้ให้โอกาสตัวเราได้ลอง ได้เรียน และได้รู้...

ไม่ใช่มาจากการบอกความรู้เพียงอย่างเดียว และถึงแม้จะเป็นการบอกความรู้ บุคคลก็ต้องลุกขึ้นปฏิบัติการอย่างแบบกระโดดลงไปในวงในแห่งการเผชิญหน้าต่อสิ่งที่ตนเองกำลังเรียนรู้นั้น แบบไม่ต้องแยกส่วนทางความคิด หากแต่เปิดประตูใจนำข้อมูลที่มีมาเป็นบาทฐานที่นำไปสู่ การเกิดเป็นความรู้ที่นำไปสู่การตอบต่อมเอ๊ะ...ของเราได้

เราความลด...รูป ของการบอกความรู้ แต่หันมาเปลี่ยน และส่งเสริมให้ผู้คนได้เกิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์อย่างที่ข้าพเจ้ามักเรียกว่า "การเผชิญหน้า"... มากกว่า เพราะการบอกความรู้นั้น ต่างเป็นการลดทอนศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์มาก ... มนุษย์เรานั้นมีความมหัศจรรย์อันพิเศษที่ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งสัตว์ชนิดอื่นไม่ได้มี ดังนั้น...เราจึงพึงส่งเสริมให้มนุษย์ที่เราสัมพันธ์ด้วยได้เกิดการสร้างความรู้...

ยุติการครอบงำด้วยการบอก...แต่สนับสนุนการสร้างทางปัญญาแบบไม่แยกส่วน...กันเถอะ

หลอมรวมเป้าหมายหนึ่งดียวและลงมือทำแบบไม่แบ่งเขาแบ่งเรา

หากแต่เป็นหนึ่งเดียว

 

๒๐ เมษายน ๒๕๕๒

 Note : ตัวอย่างเช่น... หัวข้อหรือประเด็นการทำ R2R หรือพัฒนางานประจำด้วยกระบวนการทำวิจัย ประเด็นคำถามเดียว แต่สามารถนำไปสู่การค้นหาคำตอบได้หลายมิติ หลายศาสตร์ หลายแขนงแห่งความเชี่ยวชาญ... เป็นต้นว่า กลุ่มโรคเดียวเรามาร่วมกันคิดแบบสหสาขาวิชาด้วย รวมไปจนถึงชุมชนเข้ามาส่วนร่วมกระบวนการนี้ได้ด้วย

------------------------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 256452เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2009 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท