กำจัดจุดอ่อนตอนวรรณคดีและวรรณกรรม


วัฒนธรรมทางภาษาที่มีคุณค่ายิ่ง

                        ห่างหายไปนานพอควรแต่คิดถึงแฟนๆBlog"ตาสว่าง" อากาศร้อนมาก สงกรานต์สำหรับตาสว่างไม่สนุกเลย แต่ก็ได้พักแบบเครียดๆ

 สงกรานต์สนก.

ใกล้เปิดเทอมแล้วคงจะมีหลายโรงเรียนขอรับการประเมิน บันทึกหน้านี้ฝากเพื่อนครูสอนภาษาไทยช่วยกำจัดจุดอ่อนการนำเสนอสุดยอดของการเรียนการสอนและคุณภาพด้านภาษาไทยฝากเรื่องการนำเสนอด้านวรรณคดีและวรรณกรรมที่เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่มีคุณค่ายิ่ง

           การนำเสนอวรรณกรรมและวรรณคดีที่สะท้อน การเรียนรู้ เชิงคิดวิเคราะห์ เรียนรู้สืบค้นเชิงประวัติ วิเคราะห์ในเชิงความหมายที่อยู่ในบทประพันธ์นั้นๆ ฝีกอ่าน-เขียนคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง 

         จะเรียนรู้แบบโครงงาน หรือเรียนรู้สืบค้นให้มีการเชื่อมโยงกับการเรียนรู้สู่สาระประวัติศาสตร์ เชื่อมสู่แหล่งกำเนิดของวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ ประวัติผู้แต่ง     ประวัติศาสตร์สมัยนั้นๆ

        การนำเสนอก็นำเสนอได้อย่างมากมายหลายรูปแบบมีผลงาน ทั้งรายบุคคล หรือกลุ่ม นำเสนอในรูปแบบการแสดงสั้นๆประกอบ Power point Annimation  VCD หรือเป็นเรื่องราวผ่าน  e-book เรื่องราวประกอบAnnimation การแสดง

     ถ้าลองตรวจสอบกับเครื่องมือประเมินจะเห็นว่าจะสามารถให้คะแนนได้ทุกเรื่องทั้งความสามารถและทักษะในการใช้เครื่องมือเพื่อการแสวงหาความรู้ ด้านภาษาไทย การสืบค้นหาข้อมูลโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ที่กว้างไกล หลากหลาย ทั้งระบบปกติ และelectronicการใช้Computer ในการสืบค้นและการนำเสนอ

  ฝากพิจารณาจัดการเรียนการสอน พิจารณานำเสนอความสามารถของนักเรียนด้วยนะคะ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างค่ะ

           ช่วงชั้นที่ 1  ป.1-3 วรรณกรรมและวรรณคดีที่กำหนดให้เรียน บทดอกสร้อยสุภาษิต เพลงกล่อมเด็ก ประถม กกา บทร้องเล่นของเด็ก นิทานอีสป บทละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์ ตอนนารายณ์ธิเบศร์พบพ่อ บทเรียนที่เลือกเรียน บทสักวา นิทานชาดก

         ลองดูนะคะที่เห็นบ่อยๆคือเพื่อนครูมักให้นำเสนอ เพลงกล่อมเด็ก แต่เด็กๆไม่ทราบความเป็นมาเลย อยากให้เรียนรู้เชิงเปรียบเทียบแต่ละภาค ภาคเหนือ กลาง ใต้ อีสาณ

       ฝากแลกเปลี่ยนเผื่อท่านที่สนใจเข้ามาอ่าน เพลงกล่อมเด็กหรือเพลงเห่กล่อม บทกล่อม ของภาคกลาง ภาคใต้เรียกว่าเพลงชาน้อง เพลงน้องนอน หรือเพลงร้องเรือ ภาคเหนือเรียกว่าเพลงอื่อ ภาคอีสาณเรียกว่าเพลงกล่อมลูก เพลงนอนสาเด้อ ภาษอังกฤษใช้ว่า lullaby หรือ cradle song

        ความสำคัญเป็นวรรณกรรมปากเปล่า เพลงพื้นบ้าน ใช้เป็นเครื่องมือกล่อมลูกถ่ายทอดความรัก ความห่วงใย สะท้อนชีวิต วัฒนธรรม ความรู้สึกนึกคิดทางสังคม จากรุ่นสู่รุ่น......ให้ศึกษาประวัติหน่อยนะคะเมื่อประมาณ พ.ศ 2463 สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงรวบรวมเป็นบทกล่อมเด็ก บทเด็กร้องเล่นของชาวบ้าน หรือตั้งชื่อว่าบทกล่อมเด็ก..........(มีประวัติอีกนะคะเชิญชวนเพิ่มเติมได้อีก) มาดูบทวิเคราะห์หน่อย ประเภทปลอบใจเช่นเพลงเจ้าเนื้อ่อน ประเภทขู่ให้กลัวเพลงตุ๊กแก เปรียบเทียบภาษาแต่ละภาค

        

        ภาคเหนือ หลับสองตา นอนจาเตอะเจ้า แถมสักบึดหนึ่งเล่า แม่เจ้าจะมา 

                 ภาคอีสาณ นอนสาหล้าหลับตาอยาหลี่อยู่.....

                 ถ้านำเสนอการเรรียนรู้ได้ครบทุกด้านน่าจะดีนะคะ

            ฝึกอ่าน ฝึกร้อง ตามและฝึกเขียนเพื่อถ่ายทอดศิลปะทางภาษา

 

 

          อยากเห็นการเรียนรู้ และนำเสนอเรื่องที่หลากหลายเช่น บทดอกสร้อย บ้าง นิทานอีสปบ้าง เรียนรู้ประวัติ วัเคราะห์เนื่อหา สิลปะการใช้คำ ฝึกอ่าน เขียน ถ่ยทอดผลงานหลายรูปแบบบ้าง

  

          

 ช่วงชั้นที่ 2 ป.4-6  มีหลายเรื่องที่กำหนดให้เรียนเช่น บทละครเงาะป่าตอนคนังและไม้ไผ่ไปเที่ยวป่า บทละครนอกเรื่องสังข์ทองตอนพบพระบิดาและพระมารดา นิทานทองอินตอนนางนาคพระโขนงที่สอง พระอภัยมณีตอนกำเนิดสุดสาคร สุดสาครเข้าเมื่องการะเวก รามเกียรติ์ตอนศึกไมยราพราชาธิราชตอนกำเนิดมะกะโท ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพรายงาม โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง นิราศเดือน มีเยอะเลยค่ะที่ให้เลือกเรียน

       วิธีการเรียนรู้นำ ฝึก อ่าน ถ่ายทอดศิลปะการใช้ภาษา บทกลอน  วิเคราะห์วามหมาย ให้อ่านต่อ หาความหมายต่อใครสนใจจะอ่านหรือเรียนรู้ตอนอื่นๆก็ให้เรียยนรู้ต่อ  อ่าน เล่า บอก ความสำคัญ  ประวัติผู้แต่ง วิเคราะห์สาระคำคัญ ตัวละคร  ความหมายการสะท้อนความคิดความรู้สึก ศิลปะการใช้ภาษา ฝึกอ่าน เขียน ถ่ายทอดเป็นผลงานการเขียน การอ่าน การสืบค้นต่อในตอนต่างๆที่สนใจ นำเสนอในรูปแบบการแสดง powerpoint Animation การแสดงประกอบบทร้อง บทพูด เสภาเป็นต้น

  เงาะป่าสนุกมาก นำเสนอเป็นการแสดงได้ (แต่ต้องตอบคำถาม หรือเล่ามเรื่องย่อๆก่อนนะคะ บอกเรื่องความสำคัญ ประวัติผู้แต่งลักษณะคำประพันธ์ได้ก่อน นะคะ หรือนำเสนอก่อนจึงแสดง)

เรื่องสังข์ทองก็สนุก มีความรู้ในการแต่งคำประพันธ์อีก ทำใม?จึงใช้คำว่า เมื่อนั้น ทำใม?ใช้บัดนั้นเป็นต้น....เอาเป็นอันว่าต้องความรู้ก่อนแล้วจึงแสดง

พระอภัยมณียิ่งสนุก

   บัดเดี่ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว  สดุ้งแล้วเหลี่ยวแลชะแง้หา ....

..... แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด...........

      (พระอภัยมณีตอนอะไรค่ะ) ศิลปะการใช้ภาษาไพเราะมาก

ขุนช้างขุนแผนยิ่งสนุกและแสนไพราะมีหลายโรงเรียนเสนอความสามารถทั้งเชิงประวัติท่านผู้ประพันธ์ ความสำคัญและศิลปะการแต่งคำประพันธ์ การขับเสภาอันแสนจะไพเราะ

            ....แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก คนอื่นสักหมื่นแสนจะแม้นเหมือน

             จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว.....

............ลูกก็แลแม่แม่ดูลุก          ต่างพันผูกเพียงว่าน้ำตาไหล

            สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย   แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา....

         

ช่วงชั้นที่ 4 มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่สนุก ภาษางดงามมากเป็นต้นว่าบทเสภาขุนช้างขุนแผน บทละครอิเหนา สามก๊ก ลิลิตตะเลงพ่าย กาพย์เห่เรือ   นิทานเวตาล นิราศนรินทร์ มัทนะพาธา ฯลฯ

    การเรียนรู้สาระในแต่ละเรื่อง ประวัติผู้แต่ง ความงดงามของภาษา ฝีกอ่านเขียน วิพากย์ เวทีเสวนาวรรณคดี การค้นคว้าต่อเนื่อง นำเสนอผลงานได้หลายรูปแบบ แช่งขันการอ่าน เขียนคำประพันธ์ แต่งนิราศตัวละคร แสดงละคร เรียนรู้เชื่อมโยงประวัติศาตร์ นำเสนอโดยpower point animation ประกอบ ตาสว่างเคยเห็นบางโรงเรียนนำเสนอกิจกรรมแฟนพันธ์แท้ด้านวรรณคดี การเรียนวรรณคดีจากเพลงน่าสนใจสนุกมาก

 ตาสว่างชอบกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งมาก ภาษาสวยมาก ทั้งไพเราะ เนือหาดี ต้องบอกว่าสวยงามชวนจดจำจริงๆ

                       ปางเสด็จประเวศด้าว  ชลาลัย

                       ทรงรัตนพิมานชัย      กิ่งแก้ว

                       พรั่งพร้อมพวกพลไกล แหนแห่

                       เรือกระบวนต้นแพร้วเพริศพริ้ง   พายทอง

.......................ชมปลา

                        แก้มช้ำช้ำใครต้อง  อันแก้มน้องช้ำเพราะชม

                        ปลาทุกทุกข์อกตรม  เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง

ฝากให้ผู้รับผิดชอบภาษาไทยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเลือกจุดเด่นให้นักเรียนสะท้อนคุณภาพ

เชิญชวนพูดคุยรายละเอียดการจัดกิจกรรมได้ค่ะ

         

      

หมายเลขบันทึก: 255957เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2009 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ครูจันทร์ทิวา โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย

เรียน อาจารย์ชัดเจน ที่เคารพ

โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย มีความพร้อมที่จะรับการประเมินโรงเรียนดีใกล้บ้านประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้ค่ะ วันนี้ดิฉันมีเรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมภาษาอังกฤษมานำเสนอให้ท่านช่วยพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

สถานการณ์ : เด็กชายไฟเตอร์นั่งรถสามล้อเครื่องไปตรวจโรคที่ รพร.ด่านซ้าย เจอคนโดยสารไปกับรถสามล้อด้วย

ไฟเตอร์ : May I sit here?

ผู้โดยสาร: Yes you may.

ไฟเตอร์ : Thank you. May I introduce myself. My name is

Thanakrid Wongsak, but please call me fighter.

ผู้โดยสาร : Please to meet you, Fighter.

ไฟเตอร์ : Please to meet you too.

รถสามล้อถึง รพร.ด่านซ้าย จอดให้ผู้โดยสารลงรถ จ่ายเงินค่าโดยสารทีละคน

ผู้โดยสาร : How much is it?

Driver : Twenty bath, please.

ผู้โดยสารยื่นเงินให้แล้วพูด : Here you are.

Driver ; Thank you.

ผู้โดยสาร : You're welcome.

ไฟเตอร์ : Here you are. (ยื่นธนบัตรใบละ 50 บาทให้)

Driver : Here is your change, thirty bath, please.

ไฟเตอร์ : Thank you.

Driver : You're welcome.

ไฟเตอร์เดินเข้าไปใน รพร. เพื่อทำบัตรผู้ป่วย (อาจารย์คะ ยังมีต่อนะคะ แต่เอาไว้วันต่อไปค่ะ)

ครูจันทิวาคะ

 ก็okค่ะ แต่ควรจัดเป็นสถารการณ์ เป็นเรื่องเป็นราว บทสนทนายาว ให้อ่านการเตรียมการประเมินต้นแบบประถมนะคะ

เรื่องนี้มีคำถามน้อยจังแต่ท่านทราบมั๊ยคะครูภาษาไทยเราเก่งแต่ไม่ค่อยนำเสนอเชิงวรรณคดีเท่าไร

สุภาภรณ์ ศรีรักษา

อยากทราบว่าเพลง3ดีนี้ ใครเป็นผู้แต่ง และใครเป็นผู้ร้องตอบให้ด้วยน่ะค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ

เพลง 3D อ.ราชันย์ ทิพย์เนตร ผอ.โรงเรียนศรีประจันต์(เมธีประมุข)โรงเรียนต้นแบบ รุ่นที่1 จ.สุพรรณบุรี เป็นผู้ประพันธ์ทั้งคำร้องและดนตรีค่ะ

ขอบคุณ อ.ชัดเจน ที่ลงกำจัดจุดอ่อนของห้องภาษาไทยไว้ให้ ตอนนี้ตาว่างแล้วค่ะได้เข้ามาดูและทำความเข้าใจแล้วและจะนำไปเข้าสู่การเรียนการสอนในภาคเรียนใหม่นี้ จะพยายามทำให้ตรงประเด็นที่สุดหวังว่าคงจะทันการประเมินโรงเรียนในฝันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อ. ชัดเจน

มีเรื่องอยากถามมากมาย แต่อาจารย์เคยบอกว่าครูภาษาไทยไม่น่าสงสาร ก็เลยไม่ค่อยกล้าถาม ดิฉันมีเรื่องอยากขอความคิดเห็นในเรื่องการสอนวรรณคดีไทยให้กับนักเรียน เนื่องด้วยดิฉันรับผิดชอบห้องภาษาไทยของโรงเรียนในฝัน แต่ดิฉันเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ซึ่งต้องสอนทุกวิชาและรับผิดชอบชุมนุมภาษาไทยซึ่งจัดให้เข้าชุมนุมเฉพาะวันพฤหัสบดี จะเป็นไปได้ไหมค่ะที่ห้องภาษาไทยจะจัดกิจกรรมให้น้องชั้นป.๒ เป็นผู้นำเสนอ เช่นบทละคร และคำประพันธ์ต่างๆ ส่วนชั้นโตจะเน้นไปที่ ICT นำเสนอในรูป power point และ e-book

จะรอคำตอบคะ

หนู จะ ถาม ว่า การ วิ เคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมมีกี่ด้านมีด้านอาไรมั้ง

โรงเรียนศรีตระกูลวิทยา กำลังเริ่มต้นฝึกนักเรียนเข้าสู่โครงการโรงเรียนในฝันรุ่น 3 โดยกลุ่มสาระภาษาไทย จะนำเสนอลานบูรณาการ เป็นละครในวรรณคดี โดยบางตอนมีการเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาพื้นบ้านและทำนองเพลงพื้นบ้านในท้องถิ่น ไม่ทราบว่าจะดีหรือเปล่าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท